ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร

0
1278
ข้าวสารค่าง
ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็กสีขาว ผลสดสีเขียว
ข้าวสารค่าง
ไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็กสีขาว ผลสดสีเขียว

ข้าวสารค่าง

ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว พบขึ้นบริเวณป่าผลัดใบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cardiopteris lobata Wall. ex Benn. & R.Br., Cardiopteris javanica Blume อยู่วงศ์ CARDIOPTERIDACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ตุ๊กตู่ (จังหวัดชลบุรี), ผักแต๋นแต้ (จังหวัดลพบุรี), อีบี้ (จังหวัดสุโขทัย), ผักแตนแต้ (จังหวัดสระบุรี), ขะล๊านข่าง (จังหวัดชุมพร), หวี่หวี่ (จังหวัดสระบุรี), ตุ๊กตู่ (จังหวัดเชียงใหม่), อีหวี่ (จังหวัดปราจีนบุรี) [1],[2]

ลักษณะข้าวสารค่าง

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพัน เมื่อฉีกขาดก็จะมีน้ำยางสีขาวออกมา ลำต้นกลมหรือค่อนข้างแบน จะแตกกิ่งก้านเยอะ สามารถทอดยาวได้ถึงประมาณ 2-5 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบเจอขึ้นได้ที่บริเวณป่าไผ่ ที่รกร้าง ป่าผลัดใบ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงระดับ 600 เมตร บริเวณที่พบขึ้นในพื้นที่อุทยานฯ ก็คือ ที่ตามพื้นป่าราบทั่วไป โดยเฉพาะที่บริเวณปากทางเดินขึ้นเขากำแพง[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือเป็นเกลียว รูปไข่กว้าง ปลายใบจะแหลมหรือมน ส่วนโคนใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ที่ขอบใบจะเรียบหรือเว้าเป็นแฉกประมาณ 4-9 แฉก ที่ปลายของแฉกกลางจะแหลม ที่ปลายของแฉกด้านข้างจะแหลมหรือมน ใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ตามซอกใบ มีความยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากเรียงออกมาด้านเดียว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก จะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาว ดอกสมบูรณ์เพศมีดอกเป็นรูปหลอดรูปกรวย ที่ปลายจะแยกเป็น 4-5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 4-5 อัน ติดใกล้ปากหลอดดอก สลับกับกลีบดอก มีรังไข่ 1 ช่องอยู่ที่เหนือวงกลีบ ที่ปลายเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็นแฉก 2 แฉก มีขนาดไม่เท่ากันและจะติดคงทนที่ผล ดอกเพศผู้คล้ายกับดอกสมบูรณ์เพศ แต่ดอกเพศผู้จะไม่มีเกสรเพศเมียกับก้านดอกย่อย ออกดอกช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[1],[2]
  • ผล ผลสดเป็นสีเขียว ผลเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปรีลักษณะแบน ที่ขอบจะแผ่เป็นครีบตามยาว มี 2 ปีก จะมีเส้นแขนงละเอียดเรียงขนานกันอยู่ กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ที่ปลายผลเว้าตื้น ๆ ที่ปลายสุดจะเป็นติ่งยอดเกสรเพศเมียที่คงความเขียวได้นานและปรากฏให้เห็นแบบชัดจัน มีเมล็ดเดียวในผล จะออกผลช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[1],[2]

สรรพคุณข้าวสารค่าง

  • ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะนำใบมาตำผสมเหง้าไพล มันหมูห่อใบตอง แล้วนำมาหมกไฟ สามารถใช้ประคบรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (ใบ)[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ข้าว สาร ค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [16 มี.ค. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ข้าว สาร ค่าง”. หน้า 60.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/