ฝ้ายดอกเหลือง
ฝ้ายดอกเหลือง มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในแถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ค่อนข้างจะมีฝนตกชุก แสดงให้เห็นว่าต้นฝ้ายนั้นเป็นพืชที่ชอบน้ำและสภาพอากาศที่ชื้น ชื่อสามัญ Cotton[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium hirsutum L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1]
ลักษณะของฝ้ายเหลือง
- ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก สูง1-3 เมตร ลำต้นตั้งตรง และมีขนที่ละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น[1],[2]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบต้นฝ้ายนั้นจะเป็นรูปไข่กว้าง และส่วนตรงขอบใบก็จะมีลักษณะเว้าลึก แยกเป็นแฉก 3-5 แฉก ความกว้างและขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-12 เซนติเมตร[1]
- ดอก เป็นดอกเดี่ยวตามบริเวณซอกใบและตรงบริเวณที่ปลายกิ่งของต้น ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน แล้วหลังจากนี้ดอกฝ้ายก็จะเปลี่ยนสีดอกเป็นสีเหลืองแกมชมพูภายหลังจากที่ดอกฝ้ายบานได้เต็มที่[1]
- ผล เป็นผลแห้ง และแตกกระจายออกมาเป็นพูมีอยู่ด้วยกัน 3 ฝา ภายในผลฝ้ายก็จะมีเมล็ดอยู่ ซึ่งเมล็ดนั้นก็จะมีลักษณะที่มีขนยาวสีขาว ๆ ได้ทำการห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้อยู่[1]
สรรพคุณ และประโยชน์ฝ้ายเหลือง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ได้มีการระบุเอาไว้ว่าฝ้ายชนิด (Gossypium hirsutum L.) นั้น ได้มีสรรพคุณที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ซึ่งนี่ก็สามารถระบุได้ว่า ฝ้ายชนิด (Gossypium hirsutum L.) สามารถนำมาใช้แทนฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ได้[4]
2. ในตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำใบฝ้ายผสมเข้ากับใบมะม่วง ใบมะนาวป่า ใบขมิ้น ใบไพล และใบตะไคร้ นำเอามาต้มและเคี่ยวจนเดือด นำมาดื่มเป็นยารักษานิ่ว (ใบ)[1]
3. เมล็ดของฝ้ายนำมาใช้ผสมกับแก่นข่อย แก่นฝาง หัวตะไคร้ เลือดแรด แล้วเอามาต้มกับน้ำ สำหรับไว้ดื่มเป็นยารักษาอาการประจำเดือนที่ผิดปกติ (เมล็ด)[1]
4. เมล็ดฝ้ายที่นำมาใช้สกัดเอาน้ำมันจะเรียกว่า “น้ำมันเมล็ดฝ้าย” [2]
(โดยฝ้ายขนาด 10 กิโลกรัม จะให้น้ำมันอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลกรัม)[2]
5. ปุยฝ้ายหรือเส้นใยฝ้าย จะนำมาใช้ถักทอเป็นผ้าฝ้าย เส้นด้าย สำลี หรือจะนำเอามาผสมในกระดาษ และกระดาษพิมพ์ก็ได้เช่นกัน ส่วนบริเวณตรงที่มีขนปุยสั้น ๆ ติดอยู่ที่เมล็ดนั้นส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ทำเป็นพรม โดยนำมาใช้ทำพื้นรองพรมเป็นเส้นใยปอแก้ว[2] (โดยฝ้ายขนาด 10 กิโลกรัม จะให้เส้นใยอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม)[2]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฝ้าย
1. จากงานวิจัยการทดลองในคนเกี่ยวกับน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดฝ้ายนั้น ทดลองโดยการให้ผู้ทดลองทานน้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดฝ้าย ผลพบว่าน้ำมันของเมล็ดฝ้ายทำให้ลดการสร้างตัวของอสุจิลงและทำให้เป็นหมันได้ชั่วคราว แต่ก็จะกลับสู่สภาพเดิมตามปกติเมื่อหยุดการรับประทาน[1]
2. น้ำต้มที่ได้จากเปลือกรากนี้ มีฤทธิ์ในการไปทำปฏิกิริยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในหลอดทดลอง[1]
3. เนื้อในเมล็ดฝ้ายได้มีการค้นพบสารที่ชื่อ gossypol ซึ่งสารตัวนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างตัวของอสุจิ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้[1]
ข้อควรรู้
ฝ้าย ปุยฝ้าย หรือจะเป็นเส้นใยฝ้ายชื่อที่พวกเราเรียกกันอยู่นี้ ก็คือ เซลล์ผิวของเมล็ดฝ้ายซึ่งเป็นบริเวณของเปลือกเมล็ด มีลักษณะรูปร่างยาวคล้ายคลึงกับเส้นผม โดยการจะแยกเส้นใยหรือเส้นใยฝ้ายนั้นออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีชื่อเรียกกันว่า “การหีบฝ้าย” ซึ่งเส้นใยฝ้ายที่ได้มานี้สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ อาทิ เสื้อผ้าฝ้าย กางเกงผ้าฝ้าย ผ้าห่มจากฝ้าย ในกรรมวิธีการเก็บฝ้ายในประเทศไทยบ้านเรานั้น มักจะทำการเก็บฝ้ายโดยการใช้มือ โดยจะทำการเลือกผลฝ้ายที่แตกออกมาแล้ว นำมาดึงเส้นใยออกจากสมอ แล้วทำการส่งไปที่โรงงานหีบฝ้ายสำหรับการแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นก็จะนำเส้นใยที่ได้จากเมล็ดฝ้ายนี้ไปทำเป็นสำลี เอาไปปั่นเป็นเส้นด้าย หรือจะนำเอาไปอัดเป็นแท่งก็ตามแต่สะดวก ส่วนเมล็ดฝ้ายที่ได้ทำการแยกเอาเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้ายไปหมดแล้ว เมล็ดพวกนี้ก็จะถูกนำไปสู่กระบวนการการสกัดเอาน้ำมัน[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ฝ้าย”. หน้า 121.
2. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฝ้าย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.sc.mahidol.ac.th/wiki/. [14 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gossypium_hirsutum_BotGardBln1105FlowerLeaves.JPG
2.https://www.diark.org/diark/species_list/Gossypium_hirsutum