สะบ้าลิง
เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งพบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณมักอาศัยต้นไม้ใหญ่เพื่อเลื้อยพาดพันแพร่กิ่งก้านไปเลื่อย ๆ สรรพคุณด้านตำรายาไทยใช้เนื้อในเมล็ดดิบ รสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง เป็นยาเบื่อเมา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Entada glandulosa Gagnep. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Entada tamarindifolia Gagnep.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าปน (เชียงใหม่), หมากนิมลาย (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), มะบ้าปน (ลำพูน), ทบทวน ลิ้นแลน มะขามเครือ (ชัยภูมิ), เครือลิ้นแลน (หนองคาย), หมากแทน (ยโสธร), บ้าบนใหญ่ (อุบลราชธานี), ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าบน มะบ้าวอก (ภาคเหนือ), สะบ้าลาย สะบ้าลิง (ภาคกลาง)
ลักษณะของสะบ้าลิง
- ลักษณะของต้น
– เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง
– เลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่
– ตามกิ่งมีขน
– มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในพม่าและภูมิภาคอินโดจีน
– ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้
– มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง โดยเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร - ลักษณะของใบ[1],[2]
– ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น
– ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับกัน
– แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร
– ก้านใบยาว 1.8-4 เซนติเมตร
– ใบประกอบย่อยคู่ปลายมีมือเกาะ
– ใบประกอบย่อยยาว 4-14.5 เซนติเมตร
– มีใบย่อย 5-8 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน
– ใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน
– ปลายใบตัดหรือเว้ากลม มีติ่งแหลม
– ฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย
– ใบมีความกว้าง 0.5-1.7 เซนติเมตร และยาว 1.2-4 เซนติเมตร
– ผิวใบด้านล่างเกลี้ยงไม่มีนวล - ลักษณะของดอก[1],[2]
– เป็นช่อกระจะเชิงลด
– จะออกที่ซอกใบและเหนือซอกใบ
– ยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร
– มีขนละเอียด
– ก้านดอกย่อยเกือบไร้ก้าน
– กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย
– ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก
– ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ
– ผิวด้านนอกมีขนละเอียด
– ผิวด้านในเกลี้ยง
– ยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร
– กลีบดอกนั้นเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 5 กลีบ แยกจรดกัน
– กลีบดอกเป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
– ปลายแหลม
– โคนเชื่อมกัน
– ขอบเรียบ
– ปลายแยก
– มีความยาว 4.5-5.5 มิลลิเมตร
– ด้านนอกช่วงล่างมีแนวต่อมขนาดเล็กอยู่ 2 แนว
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แยกจากกัน เชื่อมกันที่ฐาน
– แบ่งเป็นขนาดยาว 9 อัน และสั้น 1 อัน
– ก้านชูอับเรณูยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร หรือยาวกว่าเล็กน้อย
– เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
– ผิวเรียบ
– รังไข่เกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 3 มิลลิเมตร
– ออกดอกในช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม - ลักษณะของผล[1],[2]
– ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน โค้งงอ
– มีรอยคอดตามเมล็ด
– ฝักมีขนาดกว้าง 2.2-2.6 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร
– ฝักเป็นสีน้ำตาล
– ผนังด้านนอกค่อนข้างหนา
– เมื่อแก่จะหักเป็นท่อนๆ
– แต่ละท่อนจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
– เมล็ดเป็นรูปเกือบกลม แบน
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร
– เปลือกนอกแข็งเป็นสีน้ำตาลดำ
สรรพคุณของสะบ้าลิง
- ทั้งต้น ใช้ผสมในลูกประคบเป็นยาแก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย[2]
- เมล็ดหรือราก สามารถนำมาฝนเหล้าทาและฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง และแผลเรื้อรัง[2]
- เนื้อในเมล็ดดิบ มีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยาเบื่อเมา[2]
- เนื้อในเมล็ดดิบ สามารถนำมาสุมไฟให้เกรียมดำแล้วผสมกับยาอื่น ๆ รับประทานเป็นยาแก้ไข้พิษเซื่องซึม[2]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
– สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สะ บ้า ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [13 ก.ค. 2015].
– ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สะ บ้า ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [14 ก.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.atariyas.ir
2.https://botanyvn.com/