โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa )
โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa ) คือ โรคความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปาะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง

โรคดักแด้

โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa ) คือ โรคความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปราะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เนื่องจากโปรตีนในเยื่อบุที่รองรับเซลล์ทำงานผิดปกติในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ผิวหนังแยกออกจากกัน มักเกิดขึ้นในเด็กหรือเรียกว่า ” เด็กดักแด้ ” เป็นโรคทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

ลักษณะการกลายพันธุ์ของโรคดักแด้

1. การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบยีนส์เด่นบนออโตโซม ( Autosomal Dominant Inheritance ) ผู้ป่วยได้รับยีนกลายพันธุ์มาจำนวน 1 ยีน อาจมาจากทางพ่อ หรือทางแม่ทางใดทางหนึ่ง
2. การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบยีนส์ด้อยบนออโตโซม ( Autosomal Recessive Inheritance) ผู้ป่วยได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่ โดยยีนทั้ง 2 จะต้องเกิดการกลายพันธุ์ที่เหมือนกัน

อาการของโรคดักแด้

  • ผู้ป่วยตัวแดง
  • เกิดตุ่มพุพองตามผิวหนัง
  • ผิวเปราะบางหลุดลอกง่าย
  • ผิวแห้งตกสะเก็ดไปทั้งตัว
  • เจ็บบริเวณผิวหนัง
  • ผิวหนังแห้งตึงและหดตัวจนเกิดการดึงรั้ง
  • ตาปลิ้น
  • ปากปลิ้น
  • เกิดแผลที่เยื่อเมือกและอวัยวะภายใน
  • เล็บเปราะง่าย
  • ฟันผุและเกิดแผลซ้ำที่รอบปาก 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคดักแด้

  • เลี่ยงการถูหรือสัมผัสผิวหนังแรง ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัด หรือเสียดสีผิวหนัง
  • สวมเสื้อผ้าที่ทำมาจากเส้นใยผ้าฝ้าย เพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  • ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย หลีกเลี่ยงแสงแดด เพื่อให้เหงื่อออกน้อย
  • ไม่ควรแกะ แคะ หรือเกาผิวหนัง รวมทั้งเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือถูกเสียดสี
  • ไม่ควรเดินระยะไกล เนื่องจากจะทำให้เกิดตุ่มพองน้ำใสขึ้นที่ฝ่าเท้าได้
  • เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและพอดีเท้า ไม่มีที่เสริมส้นอยู่ภายในรองเท้า

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคดักแด้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.pobpad.com [2 พฤษภาคม 2562].