ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )

0
4125
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A เกิดจาก?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ ( Influenza A หรือ H1N1 ) จะถูกแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B โดยในสายพันธุ์ที่มีชื่อเรียกว่า H1N1 จะถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ A หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มพบเมื่อปี พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ. 2009 ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งมักพบมากในช่วงฤดูหนาว

ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ โดยปกติแล้วสำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรงจะสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ให้ระวังในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด หรือในผู้ที่ได้รับยากดภูมิ เมื่อได้รับเชื้ออาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน อย่างการติดเชื้อที่คออาจเปลี่ยนไปติดที่ปอดได้ เช่น ในปอดที่ติดเชื้อไวรัสอยู่แล้วอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมเข้าไปอีก ก็อาจทำให้ตกอยู่ในภาวะอันตรายได้

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ( H1N1 ) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ

การแพร่เชื้อ

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก 

อาการที่พบ

  • มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • ไอ จาม
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • บางรายอาจท้องเสีย

การป้องกัน

  • ปิดปากเมื่อไอ หรือจามทุกครั้ง
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลฆ่าเชื้อโรค
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการพบปะหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่

สำหรับการสังเกตตัวเองว่าหลังเป็นไข้ 3 วันแล้วมีอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรรีบพบแพทย์ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ไข้หวัดใหญ่ H1N1 ระบาด ถึงตายถ้าไม่ป้องกัน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://med.mahidol.ac.th [26 เมษายน 2562].

ไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://beid.ddc.moph.go.th [26 เมษายน 2562].