กาฬพฤกษ์ สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้

0
1403
กาฬพฤกษ์
กาฬพฤกษ์ สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกเชอร์รี่ มีกลิ่นหอม ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก เนื้อในฝักสีขาวและแห้ง
กาฬพฤกษ์
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกเชอร์รี่ สีชมพูอมส้มมีกลิ่นหอม ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก เนื้อในฝักสีขาวและแห้ง

กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์ Horse cassia, Pink Shower เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงได้ถึง 20 เมตร ดอกมักจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พืชสมุนไพรมีสรรพคุณและประโยชน์ของเนื้อในฝักใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้ สามารถพบการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia grandis L.f. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือเปลือกขม (ปราจีนบุรี), กัลปพฤกษ์ (กรุงเทพมหานคร), กาลพฤกษ์ ไชยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง), กานล์ กาลส์ (เขมร), กาฬพฤกษ์ยอดแดง[1],[2],[4] คำว่า “กาฬ” และคำว่า “พฤกษ์” นั้น แปลตรง ๆ จะได้ว่า “ต้นไม้สีดำ”

ลักษณะต้นกาฬพฤกษ์

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – ลำต้นมีความคล้ายกับต้นคูนหรือต้นราชพฤกษ์
    – เรือนยอดเป็นพุ่มหรือแผ่กว้าง
    – โคนต้นมีพูพอน
    – เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ
    – แตกเป็นร่องลึก ตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน
    – ช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น
    – ยอดอ่อนเป็นสีแดง
    – มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
    – เป็นพรรณไม้ที่มีปลูกกันทั่วไปตามบ้านและวัด
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3]
    – ใบมีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายใบแคฝรั่งหรือใบขี้เหล็ก
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
    – ออกเรียงสลับกัน
    – แกนกลางใบประกอบยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบยาว 2-3 เซนติเมตร
    – มีใบย่อยประมาณ 10-20 คู่ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่
    – ใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายใบมนมีติ่งหรือหยักเว้าอยู่เล็กน้อย
    – โคนใบเบี้ยว มีความกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบางเรียบ
    – แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมันหรือมีขนประปราย
    – แผ่นใบด้านล่างมีขนขึ้นหนาแน่น
    – ใบอ่อนหรือยอดอ่อนเป็นสีแดง
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ช่อดอกเป็นช่อกระจะ
    – ออกตามกิ่งพร้อมกับผลิใบอ่อน มีความยาว 10-20 เซนติเมตร
    – ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 5 มิลลิเมตร
    – ดอกจะร่วงได้ง่าย
    – ดอกมีลักษณะที่คล้ายกับดอกเชอร์รี่ มีกลิ่นหอม
    – ดอกกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ ค่อนข้างกลม กว้าง 5 มิลลิเมตร และยาว 5-8 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีแดงคล้ำ จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้มตามลำดับ เป็นรูปไข่กลับ มีความกว้าง 8-10 มิลลิเมตร และยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร
    – มีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีความยาวไม่เท่ากัน
    – แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
    – กลุ่มแรกจะมี 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
    – กลุ่มที่ 2 มี 5 อัน ก้านชูอับเรณูจะสั้น
    – กลุ่มที่ 3 จะมี 2 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากและอับเรณูจะฝ่อ
    – รังไข่มีลักษณะเรียวโค้ง มีขนหนานุ่ม
    – เกสรดอกเป็นสีเหลือง
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3]
    – ผลเป็นฝัก ค่อนข้างกลม
    – เป็นแท่งหรือรูปทรงกระบอกยาว
    – โคนและปลายสอบ
    – เปลือกฝักทั้งหนาและแข็ง เป็นสีดำ ผิวขรุขระ และมีรอยแตก
    – ฝักมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และยาว 20-40 เซนติเมตร
    – ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้งสองข้าง
    – ผิวฝักมีรอยแตก
    – ฝักแก่จะแห้งแล้วไม่แตก
    – เนื้อในของฝักเป็นสีขาวและแห้ง
    – จะซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
    – มีเมล็ดประมาณ 20-40 เมล็ด

สรรพคุณของกาฬพฤกษ์

  • เนื้อในฝัก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้พิษไข้ได้[1]
  • เนื้อในฝัก สามารถนำมาใช้ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซ้ท้อง และระบายท้องเด็กได้ดี[1],[3],[4]
  • เปลือกและเมล็ด สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่ายพิษไข้ได้[1],[3]

ประโยชน์ของกาฬพฤกษ์

  • คนสมัยก่อนจะนำเนื้อในฝัก มาใช้กินกับหมาก[4]
  • เนื้อไม้และเปลือก สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังได้[4]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[2]
  • ถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดบุรีรัมย์[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กาลพฤกษ์”. หน้า 62.
2. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [17 มิ.ย. 2015].
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 มิ.ย. 2015].
4. สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. “กาฬพฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rbru.ac.th/db_arts/rbruflower/pdf/Grandis.pdf. [17 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/8585196208
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/383329