ต้นลิ้นควาย ใบมีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ

0
1446
ต้นลิ้นควาย
ต้นลิ้นควาย ใบมีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย ใบเดี่ยวสีเขียวผิวเนื้อใบหนา ดอกสีชมพูอมม่วง มีฝักเป็นคู่ เมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาว
ต้นลิ้นควาย
ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย ใบเดี่ยวสีเขียวผิวเนื้อใบหนา ดอกสีชมพูอมม่วง มีฝักเป็นคู่ เมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาว

ต้นลิ้นควาย

ต้นลิ้นควาย มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบพม่า คาบสมุทรอินโดจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้ของประเทศ โดยมักจะขึ้นกระจัดกระจายอยู่บนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ภายในป่าดงดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าชายเลน ตลอดจนเติบโตตามสวนผลไม้หรือตามริมแม่น้ำ[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Hoya diversifolia Blume จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ลิ้นควาย (จังหวัดสงขลา), กล้วยปิ้ง สังวาลย์พระอุมา (ภาคกลาง), ต้าง, สลิท, ย่านลิ้นควาย เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นลิ้นควาย

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถาเลื้อยอิงอาศัย
    – ลำต้นมีความยาวอยู่ที่ 20 เมตร
    – ลำต้นจะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง
    – มีรากงอกออกมาสำหรับยึดเกาะกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ และลำต้นมีน้ำยางสีขาว
    – ชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ระยะห่างระหว่างคู่ของใบค่อนข้างจะมีระยะห่างกันประมาณ 9-20 เซนติเมตร
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบและโคนใบมีลักษณะแหลมหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ แต่ถ้า อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งขอบใบจะม้วนลง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากทางด้านล่างใบ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ผิวเนื้อใบหนา [1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-4 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-8 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-15 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม เรียงกันแบบซี่ร่ม โดยจะออกดอกที่บริเวณตามง่ามใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนมิถุนายน[1],[2]
    – ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ 4-8 เซนติเมตร ก้านช่อดอกที่มีขนาดใหญ่และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ ภายในช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 12-20 ดอก
    – ดอกจะเริ่มบานจากรอบนอกเข้าไปหาที่กลางช่อ เมื่อดอกบานออกจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 8-12 มิลลิเมตร โดยดอกจะออกที่ปลายแกนช่อเดิมได้หลายครั้ง ส่งผลทำให้แกนช่อดอกยืดยาวออกไป 2 เซนติเมตร
    – ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปกงล้อ ดอกมีสีเป็นสีขาวอมเขียว สีนวลอมชมพู สีชมพูอมม่วง หรือมีสีแดงอมชมพู ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีอยู่ด้วยกัน 5 กลีบ กลีบส่วนโคนจะเชื่อมติดกันประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบ ตรงปลายของกลีบจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบมีลักษณะแหลมม้วนลง กลีบจะมีขนสีขาวค่อนข้างนุ่มและสั้นปกคลุมอยู่
    – กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบเช่นเดียวกันกับกลีบดอก มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก
    – กึ่งกลางของดอกมีเส้าเกสรรูปแท่น ตรงด้านบนมีลักษณะเว้าเล็กน้อย ประกอบไปด้วยรยางค์ 5 แฉก เกสรเพศผู้จะอยู่ที่ใต้แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ส่วนรังไข่มี 2 อัน แยกออกจากกัน แต่ก้านเกสรเพศผู้กับเมียและยอดเกสรเพศเมียจะอยู่ติดกัน มีแผ่นบางใส ๆ ปกคลุมอยู่
  • ผล
    – ผล เป็นฝัก โดยจะออกฝักเป็นคู่ ๆ
    – ฝักมีลักษณะรูปร่างโค้งเป็นรูปเคียว มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6 นิ้ว เปลือกฝักมีผิวค่อนข้างหนา เมื่อฝักแก่ตัวแล้วจะแตกออกเป็นแนวเดียวกัน
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6 มิลลิเมตร และตรงปลายของเมล็ดจะมีขนเป็นพู่สีขาวขึ้นปกคลุมอยู่[1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์งต้นลิ้นควาย

  • ใบ นำมาตำสำหรับพอกหรือต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบ มีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการปวดข้อได้ (ใบ)[1]
  • ต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งภายในบ้าน หรือภายในอาคารได้ เป็นต้น[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ลิ้นควาย”. หน้า 698-699.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “สลิท”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://vermonthoyas.com/
2.https://efloraofindia.com/