ชัยพฤกษ์
ชัยพฤกษ์ สรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดสีชมพู ฝักอ่อนสีเขียวรูปทรงกระบอก ฝักแก่แห้งสีดำ

ชัยพฤกษ์

ชื่อสามัญ คือ Javanese Cassia, Rainbow Shower, Pink and white shower, Common pink cassia[2],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cassia javanica L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia javanica subsp. javanica)[2] จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1],[2] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้เหล็กยะวา, เหล็กยะวา เป็นต้น[1] เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท[2] และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพอีกด้วย[3]

ลักษณะต้นชัยพฤกษ์

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ 15-25 เมตร
    – ทรงพุ่มเป็นรูปร่ม แผ่กว้างออกไป
    – ทรงพุ่มมีขนาด 6-8 เมตร
    – เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล
    – ต้นเล็กจะมีหนาม
    – ต้นใหญ่จะมีรอยแผลปนหนามตามแนวขวาง
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
    – ชอบดินทราย และชอบแสงแดดจัด
    – มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – พบขึ้นได้ตามป่าทุ่ง ป่าโปร่ง และปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับกัน
    – มีใบย่อยประมาณ 7-12 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – แกนกลางใบประกอบยาวได้ 15-30 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม
    – ขอบใบเรียบ มีความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 3.5-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเป็นสีเขียวสด
    – ผิวใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า
    – เนื้อใบบางเกลี้ยงแต่ค่อนข้างเหนียว
    – ก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร
    – ก้านใบย่อยมีขนาดสั้นมาก
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด
    – ก้านช่อดอกใหญ่และแข็ง
    – ไม่มีการแตกแขนง
    – ช่อดอกตั้ง ยาวได้ 5-16 เซนติเมตร
    – ดอกเป็นสีชมพู
    – ดอกย่อยเป็นรูปดอกหางนกยูงจำนวนมาก
    – ดอกย่อยมีก้านดอกเรียว ยาว 3-5 เซนติเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ เป็นรูปไข่ ปลายแหลม สีแดงเข้มถึงสีแดงอมน้ำตาล ยาว 7-10 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้าง 7-8 มิลลิเมตร และยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร
    – โคนกลีบคอดเป็นก้าน ยาว 3 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 9-10 อัน สีเหลือง 3 อัน มีลักษณะยาวโค้ง
    – ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร
    – รังไข่เรียว มีขนปกคลุมบาง ๆ
    – ดอกเมื่อเริ่มบานแล้วจะเป็นสีชมพู
    – แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม
    – เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีขาว
    – ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
  • ลักษณะของฝัก [1]
    – เป็นผลแห้ง
    – เป็นฝักรูปทรงกระบอก
    – ผิวฝักเรียบ ไม่มีขน
    – ฝักมีความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 30-60 เซนติเมตร
    – ฝักอ่อนเป็นสีเขียว
    – เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
    – ฝักแก่จะไม่แตก
    – มีเมล็ดประมาณ 40-50 เมล็ด มีความกลมแบน มีสีน้ำตาลเป็นมัน
    – จะออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของชัยพฤกษ์

  • ฝัก สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดข้อ[1]
  • ฝัก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย[1]
  • ฝัก สามารถใช้เป็นยาระบายพิษไข้ ใช้ถ่ายเสมหะ[1]
  • ฝัก สามารถใช้เป็นยาแก้พรรดึกหรืออาการท้องผูก เป็นยาระบายที่ไม่ทำให้ปวดมวนในท้องหรือไซ้ท้อง[1],[5]
  • เปลือกฝักและเมล็ด มีสรรพคุณทำให้อาเจียนและเป็นยาลดไข้[4]

ประโยชน์ของชัยพฤกษ์

  • สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้[2]
  • สามารถใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ[3]
  • ใช้เป็นช่อประดับมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ ประดับประกอบดาวบนอินทรธนู และในหมวกของทหารและตำรวจ[3]
  • เป็นพรรณไม้มงคล เป็นต้นไม้แห่งชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่าง ๆ[3],[5]
  • เป็นหนึ่งในเก้าไม้มงคลที่นำมาใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์และใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน[3],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชัย พฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [17 เม.ย. 2014].
2. ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดชัยนาท. “ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอก ชัย พฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : aritc.nsru.ac.th. [17 มิ.ย. 2015].
3. ภิรมย์วรุณ. “ชัย พฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : piromwaroon.blogspot.com. [17 มิ.ย. 2015].
4. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กัลปพฤกษ์, ชัย พฤกษ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [17 มิ.ย. 2015].
5. จุลสารเขาเขียว ฉบับเดือนพฤษภาคม 2557, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี. “ชัยพฤกษ์ ดอกไม้ประจำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rbcat.ac.th. [17 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/36517976@N06/33278115878
2.https://eol.org/pages/704202