ไฝเกิดจากอะไร เกิดตำแหน่งไหนได้บ้าง เอาไฝออกอย่างไร
ไฝ ( Mole ) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสีเป็นก้อนโต มีการกระจายของเซลล์เม็ดสีทั่วผิวหนังและผลิตเมลานินเป็นเม็ดสีธรรมชาติบนผิวหนัง

ไฝ

ไฝ ( Mole ) หรือขี้แมลงวันเกิดขึ้นจากเซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสีเติบโตเป็นกลุ่มก้อน มีการกระจายของเซลล์เม็ดสีทั่วผิวหนังและผลิตเมลานินเป็นเม็ดสีธรรมชาติบนผิวหนังของเรา ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 6 มิลลิเมตร ลักษณะกลมนูนหรือเรียบมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำรวมถึงไฝแดง ส่วนใหญ่มักพบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ไฝที่หน้า ไฝที่คอ ไฝที่หลัง ไฝใต้ตา ไฝที่ปาก ไฝที่มือ ไฝที่คาง และไฝที่จมูก โดยไฝอาจมีมาตั้งแต่กำเนิดและจะสังเกตได้ชัดขึ้นในช่วงวัยเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน

ลักษณะของไฝ

ไฝไม่แสดงอาการเจ็บปวด แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ได้แก่

  • ไฝจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามตัว เป็นวงรี หรือกลม
  • ไฝใหม่จะปรากฏขึ้นใกล้กับไฝที่มีลักษณะปกติ
  • ไฝมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เช่น ผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ
  • ไฝมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสี เช่น สีน้ำตาล สีดำ หรือสีชมพู
  • สีของไฝขยายออกไปเกินขอบ และเข้าสู่ผิวหนัง
  • ไฝที่มีขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
  • ไฝที่มีลักษณะเป็นสีแดง หรืออักเสบบริเวณขอบ
  • รู้สึกคัน บวมแดง หรือรู้สึกเจ็บ
  • ไฝมีเลือดซึมออกมา

หากคุณมีอาการใด ๆ ข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละคนไฝเกิดตำแหน่งไหนได้บ้างพบได้บ่อยที่สุดบริเวณ เช่น ใบหน้า คิ้ว ต้นคอ หลังหู หน้าอก แผ่นหลัง รักแร้ ขาท่อนล่าง ใต้ฝ่าเท้า เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดไฝ

  • ไฝเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน
  • ร่างกายของคุณตอบสนองต่อยาที่ระงับระบบภูมิคุ้มกันของคุณหรือยาปฏิชีวนะฮอร์โมนหรือยากล่อมประสาท
  • มีตอบสนองต่อยาที่ต่อต้านระบบภูมิคุ้มกัน
  • การถูกแสงแดเผาขณะอาบแดด
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นไฝผิดปกติ
  • การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม
  • คนผิวขาวโดยกำเนิด
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น

การรักษาหรือเอาไฝออก

  • การจี้ไฟฟ้า
  • การแต้มกรด TCA ( Trichloroacetic Acid )
  • การผ่าตัด

อาการแทรกซ้อนของไฝ

เซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสี อาจทำให้บางคนมีความเสี่ยงสูงที่ไฝจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง ซึ่งมีปัจจัยดังนี้

  • มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้ในอนาคต
  • ไฝที่ปรากฏกับคนในครอบครัวมีความผิดปกติ มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มักเป็นกรรมพันธุ์มีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาเป็นเนื้องอก และมะเร็งมากกว่าบุคคลอื่น

การป้องกันการเกิดไฝ

  • หลีกเลี่ยงการอาบแสงแดดที่แรงในระหว่าง 10:00 ถึง 16:00 นาฬิกา
  • ทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่มีแขน หรือสวมหมวกปีกกว้างขณะออกแดด
  • งดทำกิจกรรมกลางแจ้งขณะแดดแรง

ไฝที่มีมาแต่กำเนิดมีขนาดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง และรู้สึกเจ็บปวดอาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ พบได้ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ แม้ไฝจะไม่เป็นอันตรายหากมีการเปลี่ยนที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นอาจต้องทำการทดสอบตามระดับเพื่อยื่นยันว่าไฝกลายเป็นมะเร็งผิวหนังในระยะแรกหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม