ชะมดเชียง
ชะมดเชียง เป็น เครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากสารคัดหลั่งแห้งจากต่อมถุงชะมดซึ่งอยู่ระหว่างสะดือและอวัยวะเพศของกวางชะมดตัวผู้ที่โตเต็มวัย เป็นสัตว์ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาตั้งแต่ไซบีเรียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยชะมดเป็นวัตถุดิบของยาหลายชนิดใช้เป็นยาแผนโบราณของชาวตะวันออกในเอเชียตะวันออก มีการใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาเพื่อรักษาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อาการโคม่า โรคประสาทอ่อน อาการชัก และโรคหัวใจในจีนตั้งแต่สมัยโบราณ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Moschus moschiferus Linnaeus จัดอยู่ในวงศ์กวางชะมด (MOSCHIDAE) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ชะมด,กวางชะมด,มุดลัง,เซ่อเซียง (จีนกลาง)[1]
ลักษณะของชะมดเชียง[1],[2]
- กวางชะมด
– เป็นสัตว์จำพวกกวางแต่ไม่มีเขา
– มีลำตัวยาวประมาณ 65-95 เซนติเมตร
– สูงประมาณ 60 เซนติเมตร
– มีน้ำหนักประมาณ 8-13 กิโลกรัม
– มีขนสั้นและหยาบแข็ง
– ขนที่หน้าท้องเป็นสีขาว
– ปลายขนเป็นสีดำ
– ใบหูมีลักษณะกลมยาวและตั้งตรง
– ตาโต
– มีเขี้ยวยาว
– ขาเล็กยาว แต่สองขาหลังจะยาวกว่าสองขาหน้า
– มีหางสั้น คดงอ
– จะอาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาสูงในประเทศเนปาลและจีน
– ออกหากินตามลำพังเวลาเช้ามืดหรือพลบค่ำ - ชะมดเชียง[1]
– เป็นไขมันในต่อมกลิ่นของชะมด
– ซึ่งต่อมนี้จะมีเฉพาะในชะมดตัวผู้เท่านั้น
– จะอยู่ระหว่างใต้สะดือกับอวัยวะเพศตัวผู้
– มีลักษณะเป็นรูปกลมรีคล้ายรูปไข่ มีสีน้ำตาล มีขนสั้นห่อหุ้มอยู่
– ตรงกลางจะมีรูเพื่อขับสารประเภทไขมันออกมา เป็นสารสีน้ำตาลเข้ม เหนียว
– มีกลิ่นหอม
– สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
– มีกลิ่นฉุนจัด ผิวเป็นมัน เนื้ออ่อนนิ่มและเป็นสีน้ำตาลไม่ปนสีดำ
– ปัจจุบันตัวยาชนิดนี้หาได้ยากและมีราคาแพง
สรรพคุณของชะมดเชียง
- สามารถนำมาใช้รักษาโรคเส้นประสาทได้[2]
- สามารถนำมาใช้แก้อาการเป็นลมหมดสติ แก้อาการตกใจง่ายได้[1]
- สามารถนำมาใช้รักษาโรคตา โรคลม โลหิต กำเดาได้[2]
- สามารถนำมาใช้รักษาหอบหืด หลอดลมอักเสบ ปอดบวมได้[2]
- สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นได้[1]
- ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก[1]
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ ปวดบวม แก้ซีสต์[1]
- ช่วยแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ลมชัก[1]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาเร่งในโรคไข้รากสาดน้อยได้[2]
- สามารถนำมาใช้เป็นยากระตุ้นการทำงานของประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกตื่นตัวและสดชื่นได้[1]
- ช่วยรักษาอาการแน่นหน้าอก จุกเสียดปวดมวนที่หัวใจ[1]
- ไขมันของต่อมกลิ่นของชะมดตัวผู้ มีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ตับและม้าม ใช้เป็นยาปิดทวารทั้ง 7 ทำให้ลมปราณไหลเวียนดี[1]
- ช่วยกระจายการอุดตันของเส้นลมปราณและเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี[1]
ประโยชน์ของชะมดเชียง
- สามารถใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องหอมต่าง ๆ ได้[3]
ข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้แท้งบุตรได้[1]
ขนาดและวิธีใช้[1]
- ให้ใช้ครั้งละประมาณ 0.15-0.2 กรัม
- นำมาบดให้เป็นผงรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น
- ยาชนิดนี้ไม่นิยมนำมาต้มรับประทาน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะมดเชียง
- สารที่พบ ได้แก่ สาร Muscone (สารให้กลิ่นหอม), Muscopyridine, Normuscone และพบแร่ธาตุต่าง ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, โปรตีน, ไขมัน เป็นต้น[1]
- จากการทดลองกับหนูขาว พบว่า ถ้ารับประทานสาร Muscone ในปริมาณเล็กน้อย ขนาด 0.01-0.05 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีฤทธิ์ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้หนูขาวมีความรู้สึกตื่นตัวและมีความสดชื่น แต่ถ้ารับประทานมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าจะมีฤทธิ์กล่อมประสาท ทำให้ง่วงและยืดเวลาการนอนหลับให้ยาวนานขึ้น[1]
- มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจที่อยู่นอกร่างของสัตว์ทดลอง ทำให้บีบตัวแรงขึ้น และพบว่าความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีการหายใจเร็วขึ้นอีกด้วย[1]
- สารสกัดมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมดลูกที่อยู่นอกร่างของสัตว์ทดลอง ทำให้มดลูกบีบตัวไวขึ้น โดยเฉพาะกับมดลูกที่ตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่าจะมีการบีบตัวแรงขึ้นและทำให้แท้งได้[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ชะมดเชียง”. หน้า 194.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชะมดเชียง”. หน้า 247-248.
3. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๑, พฤศจิกายน ๒๕๓๒.
4. https://cmjournal.biomedcentral.com/
อ้างอิงรูปจาก
1.https://rosaleneov.life/
2.https://www.britannica.com/