หิ่งเม่นน้อย
ชื่อสามัญ คือ Rattlebox ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata D.Don ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata H.Lev., Crotalaria alata H. Lév., Crotalaria bidiei Gamble จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หิ่งห้อย (เลย), หิ่งเม่น หิ่งเม่นดอย มะหิ่งเม้นน้อย มะหิ่งเม่นดอย (เชียงใหม่)[1],[2]
ลักษณะต้นหิ่งเม่นน้อย
- ต้น [1],[2]
– เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงฤดูเดียว
– ลำต้นตั้งตรง
– ต้นมีความสูงได้ถึง 1 เมตร
– กิ่งก้านชูขึ้น
– ลำต้นและกิ่งก้านมีรยางค์ แผ่เป็นปีกแคบ ๆ
– สามารถพบขึ้นได้ตามพื้นที่โล่ง ในป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ - ใบ [1],[2]
– ใบเป็นใบเดี่ยว
– ออกเรียงสลับกัน
– ใบเป็นรูปไข่ รูปวงรี รูปใบหอก หรือรูปใบหอกกลับ
– ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม
– โคนใบเป็นรูปลิ่ม และมน
– ใบมีความกว้าง 0.5-5 เซนติเมตร และยาว 3-9 เซนติเมตร
– แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน
– หูใบแผ่ยาวตามกิ่ง มีความกว้างประมาณ 4-10 มิลลิเมตร
– ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยมรูปเคียว - ดอก [2]
– ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ
– จะออกดอกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
– มีดอกย่อยอยู่ 2-3 ดอก
– ก้านช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร
– ใบประดับเป็นรูปกึ่งหัวใจถึงรูปใบหอก
– มีขนาดยาว 4-5 มิลลิเมตร
– ก้านดอกยาว 4-5 มิลลิเมตร
– กลีบเลี้ยงเป็นรูปากเปิด
– ยาวประมาณ 11 มิลลิเมตร
– กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีเหลืองสด
– มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
– รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง - ผล [2]
– ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอกหรือรูปขอบขนาน โป่งพอง และมีสีดำ
– มีความกว้าง 0.8 เซนติเมตร และยาว 3-4 เซนติเมตร
– ผิวผลเกลี้ยง ไม่มีขน
– ผลเมื่อแก่แล้วจะแตก
– มีเมล็ดขนาดเล็ก
สรรพคุณ และประโยชน์ของหิ่งเม่นน้อย
- ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานั้นจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกช้ำ บวม[1],[2]
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[3]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่นน้อย”. หน้า 80.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หิ่ง เม่น น้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หิ่งเม่นดอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [24 ก.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/
2.https://www.ipmimages.org/