หิ่งเม่นน้อย
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะสั้นสีเหลืองสด ฝักรูปทรงกระบอกโป่งพองสีดำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน

หิ่งเม่นน้อย

ชื่อสามัญ คือ Rattlebox ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata D.Don ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata H.Lev., Crotalaria alata H. Lév., Crotalaria bidiei Gamble จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หิ่งห้อย (เลย), หิ่งเม่น หิ่งเม่นดอย มะหิ่งเม้นน้อย มะหิ่งเม่นดอย (เชียงใหม่)[1],[2]

ลักษณะต้นหิ่งเม่นน้อย

  • ต้น [1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงฤดูเดียว
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1 เมตร
    – กิ่งก้านชูขึ้น
    – ลำต้นและกิ่งก้านมีรยางค์ แผ่เป็นปีกแคบ ๆ
    – สามารถพบขึ้นได้ตามพื้นที่โล่ง ในป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ
  • ใบ [1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่ รูปวงรี รูปใบหอก หรือรูปใบหอกกลับ
    – ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม
    – โคนใบเป็นรูปลิ่ม และมน
    – ใบมีความกว้าง 0.5-5 เซนติเมตร และยาว 3-9 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน
    – หูใบแผ่ยาวตามกิ่ง มีความกว้างประมาณ 4-10 มิลลิเมตร
    – ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยมรูปเคียว
  • ดอก [2]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ
    – จะออกดอกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – มีดอกย่อยอยู่ 2-3 ดอก
    – ก้านช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปกึ่งหัวใจถึงรูปใบหอก
    – มีขนาดยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – ก้านดอกยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงเป็นรูปากเปิด
    – ยาวประมาณ 11 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีเหลืองสด
    – มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
    – รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง
  • ผล [2]
    – ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอกหรือรูปขอบขนาน โป่งพอง และมีสีดำ
    – มีความกว้าง 0.8 เซนติเมตร และยาว 3-4 เซนติเมตร
    – ผิวผลเกลี้ยง ไม่มีขน
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตก
    – มีเมล็ดขนาดเล็ก

สรรพคุณ และประโยชน์ของหิ่งเม่นน้อย

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานั้นจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกช้ำ บวม[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่นน้อย”. หน้า 80.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หิ่ง เม่น น้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หิ่งเม่นดอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [24 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/
2.https://www.ipmimages.org/