หิ่งเม่น
ไม้ล้มลุก ใบประกอบเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีเหลืองลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกมีขนปกคลุม ฝักอ่อนเป็นสีแดงฝักแก่สีน้ำตาล

หิ่งเม่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria pallida Aiton ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria mucronata Desv.
จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ฮ่งหาย (ชุมพร)[1]

ลักษณะของต้นหิ่งเม่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุอยู่ได้หลายปี
    – มีลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1-1.5 เมตร
    – แตกกิ่งก้านย่อย
    – ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม
    – ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.06-17.4 มิลลิเมตร
    – สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียเขตร้อน ตามป่าหญ้าข้างทาง ชายป่าดิบเขา หรือตามป่าผลัดใบ
    – ขึ้นในที่ระดับความสูงถึง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบ
    – มีใบย่อย 3 ใบ
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ก้านช่อใบยาว 3-5 เซนติเมตร
    – ก้านใบข้างยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยด้านปลายเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ
    – ปลายใบมนทู่หรือโค้งเว้า
    – ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบหยักแบบขนครุย
    – ใบมีความกว้าง 2-4.5 เซนติเมตร และยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร
    – หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ไม่มีขน
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวขึ้นอยู่หนาแน่น
    – ผิวใบค่อนข้างนุ่ม
    – เส้นใบปลายโค้งจรดกัน
    – ใบย่อยด้านข้างจะมีความกว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร และยาว 3.5-7.5 เซนติเมตร
    – หูใบแหลม เล็กและสั้น เป็นสีม่วงแดง
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ช่อดอกมีดอกย่อย 27-44 ดอก
    – เป็นดอกเดี่ยว
    – ออกดอกเรียงตรงข้ามกัน
    – ออกดอกบนแกนช่อดอก
    – มีก้านยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยเป็นรูปถั่ว มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – กลีบบนเป็นรูปไข่ปลายมน
    – กลีบด้านข้างจะคล้ายปีก รูปขอบขนาน
    – กลีบล่างเชื่อมกันเป็นรูปท้องเรือ
    – ปลายแหลมโค้ง
    – กลีบดอกด้านในเป็นสีเหลืองเข้ม
    – กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเหลือง มีลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว
    – ดอกเมื่อบานจะมีขนาดกว้าง 1.4-1.6 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นมัด 10 อัน
    – มีอับเรณูเป็นสีส้ม
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
    – มีฝัก 7-16 ฝักต่อช่อ
    – ฝักจะโค้งงอเล็กน้อย
    – มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 3-9.5 เซนติเมตร
    – ปลายยอดฝักมีติ่งเป็นเส้นยาว 7 มิลลิเมตร
    – ฝักจะมีขนขึ้นปกคลุม
    – เส้นกลางฝักด้านนอกเป็นแนวยาวลึกลง
    – ฝักอ่อนเป็นสีแดง
    – ฝักเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็นฝา
    – ฝักจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีถึง 56-58 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นรูปไต สีน้ำตาล
    – เมล็ดมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร
    – จะออกฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของรากหิ่งเม่น

  • ช่วยทำให้มีบุตรง่าย[1]
  • ช่วยกระตุ้นกำหนัด[1]
  • ช่วยแก้อาการอาเจียน[1],[3]
  • ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ[1],[3]
  • ช่วยรักษาอาการร้อนใน
  • ช่วยแก้โรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ( ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ )

– รากเจตพังคี
– รากเจตมูลเพลิงแดง
– รากละหุ่งแดง
– รากมหาก่าน
– รากหิงหายผี
– เปลือกต้นหรือรากเดื่อหว้า
– ต้นพิศนาด
หัวกระชาย
– หัวกำบัง
เหง้าว่านน้ำ
– ผลยี่หร่า
เมล็ดพริกไทย
– เมล็ดเทียนคำหลวง
วุ้นว่านหางจระเข้
– เทียนทั้งห้า
ให้ใช้ในปริมาณที่เท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำมะนาวและใส่เกลืออีกเล็กน้อย ใช้สำหรับรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ประโยชน์ของหิ่งเม่น

  • ตัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[2]
  • เป็นแหล่งของอาหารตามธรรมชาติของโคกระบือ

ปริมาณสารอาหาร

ยอดอ่อน ใบ และก้านใบ ในระยะที่เริ่มมีดอก
– โปรตีน 23.94%
– ไขมัน 2.65%
– เถ้า 2.65%
– เยื่อใย 21.01%
– เยื่อใยส่วน ADF 38.6%
– NDF 47.67%
– ลิกนิน 15.11%[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค  คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่น”. หน้า 84.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “หิ่ ง เ ม่ น”.
3. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “หิ่งเม่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [24 ก.ย. 2014].