พลูช้าง
เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ดอกเป็นช่อเดี่ยว ผลมีขนาดเล็กเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนกับผลมะเขือเทศ

พลูช้าง

ต้นพลูช้างจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้ออ่อนชนิดหนึ่งที่มักจะขึ้นในพื้นที่ร่มที่มีความชุ่มชื้น ขึ้นตามพื้นที่เปิดโล่งแจ้ง ขึ้นตามซอกหิน ขึ้นตามพื้นที่ริมน้ำตก[1],[2] ขึ้นบนภูเขาสูง ตามป่าเบญจพรรณ และตามป่าดิบ[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus officinalis (Roxb.) Schott จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์บอน (ARACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ เครืองูเขียว (จังหวัดหนองคาย), หีควาย (จังหวัดกรุงเทพฯ), ดิป๊ามซุง (เมี่ยน) เป็นต้น[2],[3]

ลักษณะของต้นพลูช้าง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้ออ่อน
    – ขนาดของต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะรูปร่างอวบและมีความฉ่ำน้ำ ชอบเลื้อยพาดไปตามก้อนหินต่าง ๆ หรืออาจจะอาศัยเกาะอยู่ตามไม้ยืนต้นอื่น ๆ
    – การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบที่มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่ รูปรีแกมไข่ หรือรูปไข่เบี้ยวแกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ ส่วนขอบใบมีผิวเรียบ
    – แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นใบที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และใบมีก้านใบที่แผ่เป็นครีบ[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 6.5-15 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.5-25.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกในลักษณะที่เป็นช่อเดี่ยว ๆ โดยจะออกดอกที่บริเวณยอด
    – ดอกเป็นแท่งกลมยาว มีก้านช่อดอกที่สั้นกว่าก้านใบเป็นอย่างมาก
    – ดอกมีกาบห่อหุ้มช่อดอกด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในดอกมีสีเป็นสีเหลือง
    – โดยกาบที่ห่อหุ้มอยู่บริเวณบนแท่งช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกสมบูรณ์เพศจำนวนมากที่เรียงอัดแน่นกันอยู่ ซึ่งแต่ละดอกนั้นจะมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 1 ช่อง[1]
  • ผล
    – ผล มีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำเหมือนกับผลมะเขือเทศ
    – ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปไข่ ผลมีขนาดเล็กและผลมีจำนวนน้อย
    – ภายในผลมีเมล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ[1],[2]3.

สรรพคุณประโยชน์ของต้น พ ลู ช้ า ง

1. มีข้อมูลที่ระบุเอาไว้ว่า ถ้านำเครือมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง หรือจะนำมาต้มเข้ายาแก้นิ่วก็ได้
2. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบหลังคลอดบุตรได้ (ใบ)[3]
3. ใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับให้เด็กไว้ดื่มแก้โรคซางได้ (ใบ)[3]
4. ผลสามารถนำมาทำเป็นยาบำรุง และยากระตุ้นให้กับร่างกายได้ (ผล)[1]
5. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาทารักษาอาการปวดตามข้อได้ (ผล)[1]
6. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิได้ (ผล)[1]
7. ผลมีฤทธิ์ในการช่วยขับเหงื่อ (ผล)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “พลู ช้าง”.  หน้า 550-551.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “พลู ช้าง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [09 พ.ย. 2014].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “พลู ช้าง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [09 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/2014/08/22/scindapsus-officinalis/
2.https://anaturalcuriosity.org/how-scindapsus-grow-in-the-wild-how-to-care-for-them/