ลักษณะและสรรพคุณของต้นข่อยหยอง

0
1398
ต้นข่อยหยอง
ลักษณะและสรรพคุณของต้นข่อยหยอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ริมขอบใบเป็นจัก มีหนามตามกิ่ง ดอกเล็กขาวและเหลือง ผลกลมเล็กสีขาวหรือเทา เปลือกมียางขาว ผลสุกสีเหลือง
ต้นข่อยหยอง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ริมขอบใบเป็นจัก มีหนามตามกิ่ง ดอกเล็กขาวและเหลือง ผลกลมเล็กสีขาวหรือเทา เปลือกมียางขาว ผลสุกสีเหลือง

ต้นข่อยหยอง

ต้นข่อยหยอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีนและมาเลเซีย พบตามป่าบนเนินเขาทั่วทุกภาคของประเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Rinorea virgata (Thwaites) Kuntze (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Scyphellandra pierrei H. Boissieu) อยู่ในวงศ์หน้าแมว (VIOLACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น คันทรง, ข่อยเตี้ย, เฮาสะท้อน, ข่อยหยอง, ข่อยหิน, กะชึ่ม, หัสสะท้อน, เฮาะสะต้อน, คันเพชร, ข่อยนั่ง, ข่อยหนาม, ชาป่า, ผักกรูด, ข่อยป่า [1]

ลักษณะข่อยหยอง

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง สามารถสูงได้ประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นมีลักษณะเป็นสีเทาปนสีน้ำตาลอ่อน สีเทาค่อนข้างขาว จะมีหนามแหลมยาวออกที่ตามลำต้นและที่กิ่งก้าน ไม่มียาง เนื้อไม้เหนียว ที่ส่วนบนจะค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปมเป็นร่องเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถขึ้นได้ทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดระดับปานกลาง ชอบขึ้นที่ตามป่าบนเนินเขาทั่วทุกภาคของประเทศ มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีนและมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ที่ปากถ้ำวิมานจักรี จังหวัดสระบุรี ที่เขากระวาน จังหวัดจันทบุรี ตำบลทุ่งกร่าง[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกสลับกัน ใบกลม ที่ส่วนริมขอบใบจะมีลักษณะเป็นจักไม่เรียบและมีหนามแหลมอยู่[1],[2]
  • ดอกข่อยหยอง ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะเป็นสีขาวและสีเหลือง[3]
    ผลข่อยหยอง ผลมีลักษณะกลม มีขนาดเท่ากับหัวเข็มหมุด ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนจะเป็นสีขาวหรือสีเทา ที่
  • เปลือกด้านในจะมียางสีขาว ผลสุกเป็นสีเหลือง[3]

สรรพคุณของข่อยหยอง

1. สามารถใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะได้ (เนื้อไม้และราก)[1],[2]
2. สามารถใช้เนื้อไม้กับรากเป็นยารักษาโรคกษัย ไตพิการได้ (เนื้อไม้และราก)[1],[3]
3. ใบข่อยหยองจะมีรสเมาเฝื่อน นำมาตำกับข้าวสารแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ใช้ดื่มเป็นยาถอนพิษยาเบื่อยาเมา อาหารแสลงได้ (ใบ)[2]
4. สามารถใช้ปรุงเป็นยาขับเมือกในลำไส้ได้ (เนื้อไม้และราก)[1],[2]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. คมชัดลึกออนไลน์. (นายสวีสอง). “ข่อยหยอง เนื้อ-รากเป็นยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net. [04 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่อยหยอง”. หน้า 99.
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “ข่อยหยอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [04 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.samunpri.com/
2.https://identify.plantnet.org/