การประเมินความเครียด คืออะไร
การประเมินความเครียด ( Stress Appraisal ) คือ การวิเคราะห์ การประเมิน และการป้องกันความเสี่ยงจากความเครียดเป็นกระบวนการทางสุขภาพจิต เพราะความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเครียดมีหลายอย่าง เช่น รายได้ที่ไม่พอเพียง หนี้สิน ภัยพิบัติต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความเจ็บป่วย ความคาดหวัง ปัญหาในครอบครัว การแข่งขันที่สูงขึ้น ความเครียดจากการทำงาน และความเครียดจากการเรียน เป็นต้น
วิธีการประเมินความเสี่ยงจากความเครียด แบบ ( ST-5 )
แบบประเมินความเครียด 5 ข้อ (ST-5) เพื่อประเมินอาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะ 2 – 4 สัปดาห์ ขอให้ท่านลองประเมินตนเองโดยให้คะแนน 0 – 3 ที่ตรงกับความรู้สึกของท่าน แบ่งการประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1) คะแนน 0 หมายถึง แทบไม่มี
2) คะแนน 1 หมายถึง เป็นบางครั้ง
3) คะแนน 2 หมายถึง บ่อยครั้ง
4) คะแนน 3 หมายถึง เป็นประจำ
ตารางแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
ข้อที่ | อาการหรือความรู้สึกที่เกิด ในระยะ 2 – 4 สัปดาห์ |
แทบไม่มี (0) | บางครั้ง (1) | บ่อยครั้ง (2) | เป็นประจำ (3) |
1 | มีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมาก | ||||
2 | มีสมาธิน้อยลง | ||||
3 | รู้สึกหงุดหงิด / กระวนกระวาย / สับสน / กังวลใจ | ||||
4 | รู้สึกเบื่อ / เซ็ง | ||||
5 | ไม่อยากพบปะผู้คน |
การแปรผลการประเมินความเครียด
การแปรผลจะคิดเป็นคะแนนรวมระหว่าง 0 – 15 คะแนน มีจุดตัดคะแนนที่ น้อยกว่า 4 เพื่อจำแนกภาวะเครียดเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. 0 – 4 คะแนน หมายถึง กลุ่มที่ไม่มีความเครียด หรือเครียดน้อย
2. 5 – 7 คะแนน หมายถึง สงสัยว่ามีปัญหาความเครียด หรือเครียดปานกลาง
3. 8 คะแนนขึ้นไป หมายถึง มีความเครียดสูง
เมื่อใดก็ตามที่มีผลของระดับความเครียดสูง คือ ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดบ่าหรือไหล่ ไม่มีสมาธิ ไม่อยากพบปะผู้คน และนอนไม่หลับ สำหรับบางคนควรใช้เวลาในการปรับตัวหรือแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน เช่น การพูดคุยกับคนที่คุณสบายใจ ใช้เวลาทำกิจกรรมที่คุณชอบ หรืออยู่ในสถานที่ที่ทำให้สมองผ่อนคลายจากความเครียด แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการเครียดรุนแรงมากขึ้น ควรไปพบแพทย์ขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการลดความเครียด
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม