NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อจากคนสู่คน
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้

โรคไม่ติดต่อ

โรคไม่ติดต่อหมายถึง ( Non-communicable disease, NCDs ) คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีชื่อย่อว่า “เอ็นซีดี” หรือแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและความพิการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน โรคเอ็นซีดีทำให้มีผู้เสียชีวิต 41 ล้านคนในแต่ละปีคิดเป็น 71 เปอร์เซ็นต์ ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก โดยเฉลี่ยมีอายุระหว่าง 30 ถึง 69 ปี มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคไม่ติดต่อเรื้อรังNCDs เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้น้อยไปจนถึงรายได้ปานกลาง โรคเอ็นซีดีเกิดจากพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม สังคมร่วมกันในระยะเวลายาวมักเริ่มต้นในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และนำไปสู่โรคNCDs กลุ่มไม่ติดต่อพบมากวัยทำงานไปจนถึงวัยสูงอายุ

7 โรคไม่ติดต่อ NCDs พบบ่อยที่สุดในประชากรของไทย

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรค NCDs พบบ่อยที่สุดในประชากรของไทย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1. โรคมะเร็ง ( Cancer ) คือ การเสียชีวิตที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
2. โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )
3. โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus )
4. โรคมะเร็งปอด/ถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
5. เมตาโบลิกซินโดรม หรือ โรคอ้วนลงพุง ( Metabolic Syndrome )
6. โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )
7. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( HEART ATTACK ) คือ การเสียชีวิตที่พบบ่อยในโรคหลอดเลือดหัวใจที่ไม่ติดต่อก่อนวัยอันควร ได้แก่ หัวใจวาย หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงทั้ง 2 ด้าน

ด้านพฤติกรรม 
1. สูบบุหรี่
2. การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
3. การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
4. ขาดการออกกำลังกาย
5. มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ด้านการเผาผลาญ
ปัจจัยเสี่ยงด้านการเผาผลาญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญที่สำคัญสี่ประการที่เพิ่มความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ได้แก่
1. โรคความดันสูง หรือ โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension/High Blood Pressure )
2. ภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight )
3. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ( Hyperglycemia )
4. โรคไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia )

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs

ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 69 ปี เสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs มีผู้เสียชีวิต “ก่อนวัยอันควรมากกว่า 85% มักเกิดกับประเทศที่มีรายได้น้อยไปถึงรายได้ปานกลาง พบมากในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุล้วนมีความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นจากการรับประทานอาหาร
ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การไม่ออกกำลังกาย การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง หรือการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคเอ็นซีดีเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็มจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง
  • หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 30 นาที / ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม
  • งดการเล่นมือถือก่อนเข้านอนสัก 30 นาที
  • หมั่นทำกิจกรรมเพื่อลดความเครียดเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ส่งผลทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรบ้าง

ความยากจนมีความเชื่อมโยงกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสังคม รวมถึงส่งผลกระทบในระยะยาวด้ายเศรษฐกิจไม่มีมั่นคงทางสังคม ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ คนที่เจ็บป่วยอ่อนแอ และด้อยโอกาสทางสังคมจะป่วยและเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่มีอาชีพที่มั่นคง ผู้มีรายได้ประจำและผู้ที่ทำงานประจำสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับสารเคมีอันตรายจากการทำงาน เช่น การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่มือสองหรือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และอยู่ห่างไกลจากบริการทางด้านสาธารณสุข เช่น อนามัย โรงพยาบาล สถานพยาบาลประจำตำบล

อย่างไรก็ตามแม้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้สูงอายุ หลายคนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ทำมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคติดต่อก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้เหมือนกัน ดังนั้น การดูแลตัวเอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการเตรียมตัวรับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแม้จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็ตามเราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเราเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม