กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? ( Amino Acids )

0
24864
กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? (Amino Acids)
กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน
กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? (Amino Acids)
กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน

กรดอะมิโน คือ ?

ความสำคัญของโปรตีนและกรดอะมิโนอาจกล่าวได้ว่า โปรตีน ก็คือสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก โดยเกิดขึ้นมาจากการที่กรดอะมิโนมาเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก โดยกรดอะมิโน ( Amino Acids ) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนนั่นเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้น เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีโปรตีนเข้าไป ร่างกายจึงต้องย่อยสลายโปรตีนจนกลายเป็นกรดอะมิโนก่อน จึงจะสามารถนำกรดอะมิโนไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้กรดอะมิโนก็ยังเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือด กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ ฮอร์โมนและเอ็นไซม์อีกด้วย รวมถึงในแอนติบอดี ( Antibody ) ที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายโดยตรง

ชนิดของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. Essential Amino Acids
essential amino acid คือ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดอะมิโนจําเป็น หมายถึงกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการแต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงต้องทานเสริมเข้าไปจากอาหารที่มีกรดอะมิโนชนิดนี้

2. Conditionally Essential Amino Acids เป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดที่มีเงื่อนไข ก็คือ กรดอะมิโนชนิดนี้ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ตามปกติ แต่ในบางสภาวะ อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงต้องทานอาหารเสริมเข้าไป เช่น ในภาวะที่บาดเจ็บ ไม่สบายหรือเมื่อทำคีโมบำบัด เป็นต้น

3. Non – Essential Amino Acids เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง โดยไม่ต้องทานอาหารเสริมเข้าไป

“กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน “

ประโยชน์ของกรดอะมิโน

สำหรับประโยชน์ของกรดอะมิโน แบ่งได้ตามชนิดของกรดอะมิโน ดังนี้

1.Essential Amino Acids

กรดอะมิโนจำเป็นชนิดนี้จะมีทั้งหมด 8 ชนิด โดยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) ช่วยให้ร่างกายมีการสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทได้ดี
  • ลิวซีน ( Leucine ) ช่วยกระตุ้นให้สมอง กล้ามเนื้อและเซลล์ประสาท สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  • ไลซีน ( Lysine ) ช่วยสร้างสารแอนติบอดี้ พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น
  • เมไธโอนีน ( Methionine ) จะทำหน้าที่ในการป้องกันการสะสมของไขมันที่ตับและหลอดเลือด พร้อมเร่งการสลายไขมันอย่างรวดเร็วและสามารถกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
  • ฟีนิลอะลานีน ( Phenylalanine ) เร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่จะส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ภายในสมอง โดยจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและลดอาการเวียนศีรษะได้ดี
  • ทรีโอนีน ( Treonine ) ทำหน้าที่ในการลดการสะสมไขมันที่ตับ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดี
  • ทริปโตแฟน ( Tryptophan ) เป็นกรดอะมิโนที่จะช่วยสังเคราะห์สารเซโรโทนินขึ้นมา โดยสารตัวนี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้ดีและสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ดีอีกด้วย รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้เช่นกัน
  • วาลีน ( Valine ) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และรักษาระดับไนโตรเจนในร่างกายให้เกิดความสมดุลมากขึ้นอีกด้วย

2.Conditionally Essential Amino Acids

กรดอะมิโนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชนิด โดยมีประโยชน์และหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • อาร์จีนีน ( Arginine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบเผาผลาญไขมันและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บหรือฉีกขาด
  • ซีสเทอีน ( Cysteine ) ช่วยสังเคราะห์กลูต้าไธโอน ( Glutathione ) ที่จะช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และลดการสะสมของสารพิษหรือโลหะหนักได้ดี
  • ไกลซีน ( Glycine ) มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ DNA และ RNA ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเพื่อชดเชยเซลล์เก่าที่ตายแล้ว
  • ไทโรซีน ( Tyrosine ) ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยดูแลการทำงานของต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไตและต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติได้ดี 

3.Non-Essential Amino Acids

กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยตนเอง มีทั้งหมด 8 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์และหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • อะลานิน ( Alanine) จะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
  • แอสพาราจีน ( Asparagine ) ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
  • กรดแอสพาร์ติด ( Aspartic Acid ) ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการสะสมของแอมโมเนียได้ดี
  • กรดกลูตามิก ( Glutamic Acid ) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานและส่งเสริมการทำงานของสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • กลูตามีน ( Glutamine ) ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้หายโดยเร็ว พร้อมลดความเมื่อยล้าได้ดี
  • ฮีสทิดีน ( Histidine) ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
  • โพรลีน ( Proline ) เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ
  • ซีรีน ( Serine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พร้อมกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ให้เจริญเติบโตเร็วขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Amino acid”. Cambridge Dictionaries Online. Cambridge University Press. 2015. Retrieved 3 July 2015.

“Amino”. FreeDictionary.com. Farlex. 2015. Retrieved 3 July 2015.

Wagner I, Musso H (November 1983). “New Naturally Occurring Amino Acids”. Angewandte Chemie International Edition in English. 22 (11): 816–28.

Latham MC (1997). “Chapter 8. Body composition, the functions of food, metabolism and energy”. Human nutrition in the developing world. Food and Nutrition Series – No. 29. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Proline is an exception to this general formula. It lacks the NH2 group because of the cyclization of the side chain and is known as an imino acid; it falls under the category of special structured amino acids.