ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ( Biotin – Vitamin B7 )

0
9989
ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 (Biotin – Vitamin B7)
ไบโอตินเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่มีสะสมได้ร่างกาย มีอยู่ทั่วไปในอาหารที่รับประทาน
ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 (Biotin – Vitamin B7)
ไบโอตินเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่มีสะสมได้ร่างกาย มีอยู่ทั่วไปในอาหารที่รับประทาน

วิตามินบี7 ไบโอติน ( Biotin – Vitamin B7 )

วิตามินบี 7 ถูกค้นพบปี ค.ศ. 1930 โดย ดร.เฮเลน พาร์สันส์ (Dr.Helen Parson) สังเกตเห็นว่าหนูทดลองที่เลี้ยงไว้ด้วยไข่ขาวดิบจะมีอาการขนร่วง โดยเฉพาะรอบตาจนทำให้มีลักษณะคล้ายๆกรอบแว่น น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และขาหลังเป็นอัมพาต ซึ่งในที่สุดแล้วพวกมันจะตาย เขาเรียกอาการนี้ว่า “ Egg White Injury ” แต่หากเขาใช้ไข่สุกเลี้ยงอาการแบบนี้จะไม่มีเลย

ปี ค.ศ. 1936 แควกึล และทอนนิช ( Kogl & Tonnis ) ได้ทำการแยกสารออกมาจากไข่แดงแล้วทำการตั้งชื่อว่า “ไบโอติน” ( Biotin ) โดยสารตัวนี้จะเป็นสารเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของยีสต์และแบคทีเรียบางชนิด เมื่อพวกเขาทำการศึกษาต่อก็พบอีกว่า ไบโอติน จะเป็นสารที่มีฤทธิ์ป้องกันอาการผิดปกติที่เกิดจากไข่ขาวดิบได้ และเจ้าตัวนี้เมื่ออยู่ในร่างกายคนก็จะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาคาร์บอกซิเลชั่น ( Carboxylation )

คุณสมบัติของไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ( Vitamin B7 )

ไบโอตินมีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มไม่มีสี ทนแสงสว่าง ทนกรด ด่าง ความร้อนได้อย่างดี อีกทั้งมีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำร้อนและแอลกอฮอล์ ส่วนในน้ำเย็นจะละลายได้เล็กน้อย

หน้าที่ของไบโอตินหรือวิตามินบี 7

– วิตามินบี 7 จะเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน

– วิตามินบี 7 นำคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในกระบวนการสร้างพิวรีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ DNA และ RNA

– วิตามินบี 7 ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปฏิริยาดีคาร์บอกซิเลชั่น (Decarboxylation) ในการสังเคราะห์ พิวริน (Purine) ที่เป็นหน่วยโครงสร้างของ DNA และ RNA ปฏิกิริยาคาร์บอกซิเลชั่น ในการสร้างกรดไขมัน และปฏิกิริยาดีแอมมิเนชั่น (Deamination) ในการขจัดหมู่อะมิโนออกจากทรีโอนีน เซรีน และกรดแอสพาร์ทิก

– วิตามินบี 7 เป็นตัวช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ทั้งเซลล์ผิวหนังและเล็บ

การดูดซึมไบโอตินหรือวิตามินบี 7

ไบโอตินจะถูกดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก โดยส่วนใหญ่จะสามารถพบไบโอตินได้ทุกเซลล์ แต่ที่มีมากสุดก็คือ ตับ และไต 

แหล่งของไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ในอาหาร

ไบโอตินมีอยู่ทั่วไปในอาหารจากธรรมชาติ แต่ที่พบมากคือ ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ยีสต์ในเนื้อสัตว์ ถั่ว นม และสามารถพบได้ในผักและผลไม้แต่ไม่มากนัก

ปริมาณไบโอตินที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทย 
อายุ  ปริมาณที่ควรได้รับ ไมโครกรัม/วัน   
วัยทารก (6-11 เดือน) 6 ไมโครกรัม/วัน
วัยเด็ก  (1-3 ปี)

วัยเด็ก  (4-8 ปี)

8

12

ไมโครกรัม/วัน

ไมโครกรัม/วัน

วัยรุ่น    (9-12 ปี) 20 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น   (13-18 ปี) 25 ไมโครกรัม/วัน
วัยผู้ใหญ่  (19 –≥ 71 ปี) 30 ไมโครกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก

หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก

30

5

ไมโครกรัม/วัน

ไมโครกรัม/วัน

ผลของการขาดไบโอตินหรือวิตามินบี 7

สำหรับคนที่กินยาต้านปฏิชีวนะ ( Antibiotic ) อยู่เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการขาดวิตามินบี 7 ไบโอตินได้ ส่วนคนทั่วไปจะขาดไบโอตินได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนที่กินไข่ดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เป็นประจำ หรือคนที่กินยาทำลายแบคทีเรียในลำไส้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยในไข่ขาวนั้นจะมีสารชนิดหนึ่งชื่อ อะวิดิน ( Avidin ) ที่เป็นไกลโคโปรตีน ( Glycoprotein ) สามารถรวมกับไบโอติน ในอาหารหรือแบคทีเรียที่สังเคราะห์ขึ้นมาในลำไส้และทำให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่ายอีกด้วย

อาการที่พบ ส่วนใหญ่จะมีอาการอักเสบของผิวหนังตามเยื่อบุต่างๆ ผิวหนังลอก ตกสะเก็ด ผิวคล้ำ ผมร่วง เล็บเปราะหักง่าย ซึม เบื่ออาหาร แน่นท้อง อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ และอาจหมดความรู้สึกบางจุด เมื่อตรวจเลือดจะพบว่าระดับเฮโมโกลบินต่ำ คอเลสเทอรอลในเลือดสูง ซึ่งจะคล้ายกับอาการขาดวิตามินบี 1 นอกจากนี้ก็อาจพบว่าสีของเม็ดเลือดจางลงกว่าปกติ แม้ได้ขาดธาตุเหล็กก็ตาม โดยการรักษาก็จะต้องให้ผู้ป่วยทานไบโอตินในปริมาณ 150 มก./วัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วันนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)

British national formulary : BNF 69 (69 ed.). British Medical Association. 2015. pp. 660–664. ISBN 9780857111562.