โรคมะเร็งองคชาติ (Penile Cancer)
โรคมะเร็งองคชาติมักจะพบได้ในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดขึ้นที่ผิวหนังที่ห่อหุ้มตัวอวัยวะเพศหรืออวัยวะส่วนหัว

มะเร็งองคชาต

มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังของอวัยวะเพศชายหรือภายในในอวัยวะ
เพศชาย มักมีผลต่อผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมะเร็งองคชาตมีปลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งที่พัฒนาขึ้นนั่นเอง

ประเภทของมะเร็งองคชาต

  • โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) มีอัตราการเกิดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเซลล์มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นเป็นผิวหนังเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ มะเร็งเซลล์สความัสสามารถเริ่มต้นที่ใดก็ได้บนอวัยวะเพศชาย แต่มักเกิดที่หรือใต้หนังหุ้มปลายลึงค์ เมื่อพบในระยะเริ่มต้นมักจะสามารถรักษามะเร็งเอพิเดอร์มอยด์ให้หายได้
  • โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal cell Carcinoma) เป็นเซลล์มะเร็งลักษณะกลมอยู่ใต้เซลล์
    สความัสเซลล์ในชั้นผิวหนังหรือหนังกำพร้าชั้นล่าง ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์
  • มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งพบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น พบได้บริเวณชั้นหนังกำพร้าที่ลึกที่สุดของอวัยวะเพศชาย ประกอบด้วยเซลล์ที่กระจัดกระจายเรียกว่า เมลาโนไซต์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งองคชาตในผู้ชายมีอะไรบ้าง

  • การติดเชื้อ HPV ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของมะเร็งอวัยวะเพศชาย
  • การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดมะเร็งองคชาตได้โดยเฉพาะในผู้ที่มีเชื้อ HPV
  • อายุ มะเร็งองคชาตพบบ่อยในผู้ชายโดยเฉลี่ยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบหรือหดกลับได้ยาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งองคชาตในเพศชายได้
  • การดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะเพศในผู้ชายที่ไม่ดีพอก็สามารถเพิ่มโอกาสในการอักเสบเรื้อรัง ซึ่ง
    อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
  • เอดส์ ( HIV ) การติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์บกพร่อง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของ
    เป็นมะเร็งองคชาต เมื่อคนมีเชื้อเอชไอวีระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงจะต่อสู้กับมะเร็งระยะเริ่มต้นได้น้อยลง
  • การรักษาโรคสะเก็ดเงิน (ยา) ร่วมกับการใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด
    มะเร็งองคชาตได้อีกด้วย   

อาการของมะเร็งองคชาตที่แสดงออกได้เจน

  • รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศโดยเฉพาะที่หนังหุ้มปลายลึงค์
  • การเปลี่ยนแปลงของสีที่อวัยวะเพศชาย
  • รู้สึกถึงความหนาของผิวหนังบนอวัยวะเพศชาย
  • ผิวหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น
  • มีเลือดออกที่ปลายอวัยวะเพศชาย
  • มีผื่นแดง หรือตุ่มใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมที่ขาหนีบ
  • อาการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศผิดปกติ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งองคชาต

แพทย์ใช้การทดสอบหลายอย่างเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจน เช่น

  • การซักประวัติผู้ป่วย
  • การซักประวัติครอบครัว
  • การเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจ
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง
  • การเอ็กซเรย์
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI )

การรักษามะเร็งองคชาตมีวิธีอย่างไร

สำหรับวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งองคชาต และตำแหน่งที่พยาธิสภาพ โดยหลักๆ แล้ว
แพทย์จะนิยมใช้อยู้ 4 แบบ คือ การผ่าตัด การใช้ยาเคมี การฉายรังสี และเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3 มิติ ซึ่งวิธีนี้ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง เลือดออกน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามหากพบว่าพยาธิสภาพอยู่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ก็จะทำการตัดให้ห่างจากพยาธิสภาพประมาณ 0.5 เซนติเมตร นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาได้อีกด้วย เช่น Topical 5 FU cream ทาเฉพาะที่ Nd YA Glaser เป็นต้น   

วิธีการดูแล และการป้องกันความเสี่ยงการเกิดมะเร็งองคชาติ

  • หมั่นดูแลและทำความสะอาดอวัยะเพศชายเป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนจำนวนมากๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ช่วยลดการติดเชื้อ HPV ที่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งองคชาตในผู้ชายได้

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วิธีการรักษามะเร็งองคชาต แพทย์ผู้รักษาจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะ
สมและความรุนแรงของโรค และความพร้อมของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน กรณีที่มะเร็งในขั้นลุกลาม ซึ่งได้ลุกลามเข้าสู่น้ำเหลืองและกล้ามเนื้อเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีขนาดใหญ่มาก
จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกโดยด่วนเป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.