วิตามินดี
วิตามินดี ( Vitamin D ) Calciferol, Antirachitic Factor หรือบางคนจะเรียกว่าวิตามินแดด คือ วิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง และกระดูกพรุน วิตามินดีเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมันเท่านั้น ไม่สามารถถูกผลิตขึ้นมาเองจากในร่างกายได้ แต่จะได้รับจากการทานอาหารเข้าไป หรือสามารถได้รับจากการโดนแสงแดด เนื่องจาก ในแสงแดดจะมีรังสีอัลตร้าไวโอเลต ( รังสี UV ) ที่จะเป็นตัวไปกระตุ้น และทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ผิวหนังให้เปลี่ยนมาเป็น วิตามินดีซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายต่อไป วิตามินดีทำหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างแคลเซียมในกระดูก และฟัน รวมทั้งเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย
คุณสมบัติของวิตามินดี
วิตามินดี มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายได้เฉพาะในไขมันเท่านั้น ซึ่งวิตามินดี ที่มีความบริสุทธิ์ จะเป็นผลึกสีขาวและไม่มีกลิ่น ทนต่อความร้อนได้ดีแต่ต้องไม่เกิน 140 องศาเซลเซียสและยังมีความทนต่อ ออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่จะเสียได้ง่ายหากถูกแสงอัลตร้าไวโอเลต
ประเภทของวิตามินดี ( Vitamin D )
วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบสเทอรอลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันโรคกระดูกอ่อน กระดูกพรุน โดยรูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 ประเภทหรือมากกว่านั้น แต่จะมีอยู่เพียง 2 ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ของวิตามินดี 2 ( Ergocalciferol or Calciferol or Vitamin D2 ) สามารถพบได้ใน พืช รา ยีสต์ เป็นต้น วิตามินดีชนิดนี้มีสารตั้งต้นมาจากสารเออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ที่สัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) การเสริมวิตามินดีนี้จะใช้ในรูปเออร์โกแคลซิเฟอรอล
Ergosterol ( พืช ) —-> U.V.light ( 230nm ) —-> Ergocalciferol ( D2 ) |
2. ประโยชน์ของวิตามินดี 3 ( Cholecalciferol or Actiated7 – Dehydrocholesterol or Vitamin D3 ) พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และการสังเคราะห์แสงแดดที่ผิวหนังทั้งคนและสัตว์ วิตามินชนิดนี้เกิดจาก ในผิวหนังซึ่งจะมีสาร7-ดีไฮโดรคอเลสเตอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดดหรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275 – 300 นาโนมิเตอร์ ( nm ) จะปลี่ยนเป็นสาร คอลีแคลซิเฟอรอล ( Cholecalciferol ) หรือวิตามินดี3 ได้โดยในการเปลี่ยนจะเกิดจากคอเลสเตอรอลที่ผนังของลำไส้เล็กแล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง
7 – dehydrocholesterol —-> U.V.light ( 275-300nm ) —-> Cholecalciferol ( D3 ) |
ประโยชน์ของวิตามินดี มีอะไรบ้าง
1. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากลำไส้วิตามินดีจะไปช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การสร้างกระดูกและฟันเป็นไปในทางที่ดี โดยเฉพาะในเด็กและยังช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุวิตามินดีสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณร้อยละ 30-35 จากอาหารที่บริโภคเข้าไป แต่ถ้าไม่มีวิตามินดี ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
2. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยรักษาระดับความดันเลือด วิตามินดี ช่วยให้ระบบของหลอดเลือดในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้นหากได้รับปริมาณวิตามินดีที่เพียงพอและเหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ได้อีกด้วย
3. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน ให้กับร่างกาย
4. ช่วยควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดไม่ให้ต่ำลงจนเกิดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามินดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้มิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามินดีจะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้โดยจะคอยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
5. ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า เนื่องจากวิตามินดี จะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดที่ช่วยทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ลดความวิตกกังวลจากภาวะของโรคซึมเศร้า ขณะที่การขาดเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้
6. ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน Mucous Membrane ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแบบ Active Transport ของแคลเซียมให้สามารถข้ามเซลล์ไปได้โดยง่าย
7. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยในการดูดซึมกลับของกรดอมิโนที่ไต หากร่างกายได้รับวิตามินดี ในปริมาณที่เพียงพอแล้วจะช่วยให้อัตราการดูดซึมกลับของกรดมิโนทำงานได้ดีขึ้น และจะลดปริมาณลงในปัสสาวะ
สรรพคุณของวิตามินดี3
- ช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) มากขึ้น
- ช่วยลดความเครียด (Stress) และ ภาวะซึมเศร้า (Depression)
- ช่วยในการแบ่งเซลล์ (Cell Proliferation) และการพัฒนาเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่าง ๆ
- ช่วยชะลอวัยของผิว (Delay Skin Aging)
- ช่วยนำออกซิเจนจากเลือดส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นขณะออกกำลังกาย
- ช่วยลดอาการเมื่อยล้าและอักเสบของกล้ามเนื้อ
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น
วิตามินดีหาได้จากที่ไหน
- ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสียูวีบีจากแสงแดดตอนเช้า
- อาหารจำพวกปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่
- อาหารเสริม (Vitamin D Supplementation) เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรปรึกษาแพทย์และตรวจระดับวิตามินดีในเลือดก่อนเสริมวิตามิน
ผลกระทบหากได้รับวิตามินดีมากเกินไป
นอกจากการขาดวิตามินดี ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้ว หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นกัน เรียกภาวะนี้ว่า อาการเป็นพิษเนื่องจากได้รับวิตามินดีเกิน (Hypervitaminosis D) โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับปริมาณวิตามินดีมากถึง 3 แสน ถึง 8 แสน I.U. ต่อวันเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน หากร่างกายได้รับวิตามินดีประมาณ 3 หมื่น I.U ต่อวันหรือมากกว่า จะเกิดผลต่อเด็กทารกได้ และหากได้รับปริมาณมากถึง 5 หมื่น I.U. ก็จะเป็นอันตรายต่อเด็กวัยกำลังโตได้เช่นกัน ซึ่งอาการที่พบจากการได้รับวิตามินดีเกินจะมีดังต่อไปนี้
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเดิน
- ปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน
- หิวน้ำตลอดเวลา
- น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากมีการสลายของแคลเซียมออกมาจากกระดูก
- บางรายที่อาการหนัก สามารถเสียชีวิตได้เลย จากการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆในร่างกาย สำหรับในการรักษาอาการวิตามินดีเกินในร่างกายนั้น หากมีอาการตามเบื้องต้นนี้ ควรลดปริมาณของวิตามินดีลง โดยเฉพาะผู้ที่ทานอาหารเสริมต่างๆ ควรดูปริมาณส่วนประกอบให้ดีก่อน ส่วนผู้ใดที่มีอาการเริ่มหนักแล้วให้รีบไปพบแพทย์ในทันที
วิตามินดี ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตออกไม่ได้เอง ต้องได้มาจากการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่วิตามินดีจะพิเศษกว่าวิตามินอื่นๆ เนื่องจากสามารถได้มาจากการรับแสง UV ในตอนเช้าด้วยทั้งนี้ วิตามินดีก็เหมือนกับวิตามินชนิดอื่นๆ ทั่วไป หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากหรือน้อยจนเกินไป ก็ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรรับปริมาณวิตามินดี เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะดีที่สุด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.
Bergman P, Lindh AU, Björkhem-Bergman L, Lindh JD (2013). “Vitamin D and Respiratory Tract Infections: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials”. PloS One. 8 (6)
Yakoob MY, Salam RA, Khan FR, Bhutta ZA (November 2016). “Vitamin D supplementation for preventing infections in children under five years of age”. The Cochrane Database of Systematic Reviews. John Wiley & Sons, Ltd. 11: CD008824.
Martineau AR, Jolliffe DA, Hooper RL, Greenberg L, Aloia JF, Bergman P, et al. (February 2017). “Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory tract infections: systematic review and meta-analysis of individual participant data”. BMJ. 356