วิตามินเอ (Vitamin A) คืออะไร?
วิตามินเอ ทำหน้าที่ช่วยเรื่องการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก ซึ่งละลายได้ในไขมัน

วิตามินเอ คืออะไร?

วิตามินเอ ( Vitamin A ) คือ วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย จัดให้อยู่ในหมวดของวิตามิน มีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ รวมถึงป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ถูกค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมันต้องใช้ไขมันและแร่ธาตุมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ ปกติร่างกายมนุษย์จะมีการสะสมวิตามินเอไว้จากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไป เมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้ จึงจะดึงออกมาใช้งาน

วิตามินเอสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. วิตามินเอแบบสำเร็จรูป ซึ่งอยู่ในรูปเรตินอล ( Retinol ) จะพบได้ในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์เช่น ตับ ไข่แดง น้ำนมน้ำมันตับปลา เป็นต้น

2. โปรวิตามินเอหรือแคโรทีนจะอยู่ในรูปแบบของ สารเบต้าแคโรทีน ( Beta-Carotene ) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เมื่อเข้าสู่รางกายจึงทำการเปลี่ยนสารชนิดนี้ให้เป็นวิตามินเอ  ซึ่งสามารถพบได้ในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขมบร็อคโคลี่ฟักทอง เป็นต้น

คุณสมบัติของวิตามินเอ

วิตามินเอ มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำ แต่จะละลายเฉพาะในไขมันเท่านั้นสามารถทดความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ร้อนหรือมีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป และยังทนต่อความเป็นกรดและด่างอีกด้วยดังนั้นการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ มักจะนิยมเก็บใส่ขวดสีน้ำตาลและใส่สารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Antioxidant ) เช่น วิตามินอีเอาไว้ด้วย เพื่อให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารให้น้อยที่สุด

วิตามินเอดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

เมื่อเราทานอาหารที่มีวิตามินเอเข้าไป ระบบกลไกของร่างกายจะเริ่มทำงานตามกระบวนการย่อยอาหาร จากนั้น จะเริ่มดูดซึมวิตามินเอเข้าสู่ร่างกาย จากในบริเวณลำไส้เล็กซึ่งในบริเวณนี้น้ำย่อยที่ใช้แตกตัวไขมัน ( Fat Splitting Enzyme) และเกลือน้ำดีจะเปลี่ยนแคโรทีนไปอยู่ไปในรูปของวิตามินเอ โดยมีตัวช่วยอย่าง ไทรอกซิน ( Thyroxine ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโน ที่สร้างมาจากต่อมไทรอยด์ และถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปใช้งานภายในร่างกายต่อไป การดูดซึมของวิตามินเอจะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างกรดไขมันจากอาหารที่ทานเข้าไป หากมีปริมาณมากการดูดซึมจะดีตามไปด้วย

วิตามินเอ กว่าร้อยละ 95 ในร่างกาย จะถูกไปเก็บสะสมไว้ที่ตับ ในเซลล์ไขมันที่เรียกว่า ไลโปซัยท์ ( Lypocyte ) จึงพบว่าประมาณร้อนละ 90 ของวิตามินเอที่สะสมไว้ในตับ การเคลื่อนย้ายวิตามินเอจะถูก ไฮโดรไลท์ ( Hydrolyse ) จากเรตินิล เอสเตอร์ ( Retinyl Esters ) ให้เปลี่ยนมาเป็นเรตินอลอิสระ ( Free Retinol ) และรวมกับโปรตีนเป็นเรตินอลไบน์ดิ้งโปรตีน ( Retinol Blinding Protein ) เรียกย่อๆว่า อาร์ บี พี ( RBP )

RBP นี้จะถูกสังเคราะห์จากตับ และส่งต่อเข้าสู่กระแสเลือด เป็นเรตินอลอาร์บีพีคอมเพล็กซ์ ( Retinol RBP Complex ) ในภาวะที่ร่างกายจะใช้วิตามินเอ โดยปกติแล้วระดับวิตามินเอในเลือดจะถูกควบคุมโดยมีกลไก ควบคุมภาวะสมดุล ระหว่างการสังเคราะห์ RBP การปล่อยและการสลายตัวของวิตามิน ในกรณีที่เรตินอลไม่ได้เก็บสะสมในตับ จะถูกขับถ่ายทางไตออกมากับปัสสาวะและอุจจาระ ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังจากได้รับวิตามินเอเข้าไปแล้ว ร่างกายของแต่ละคนมีความสามารถในการเก็บวิตามินเอแตกต่างกันไป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการที่ร่างกายจะมีปริมาณของวิตามินเอเป็นศูนย์เลยนั้น ร่างกายจะต้องขาดการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ นานถึง 10 -12 เดือนเลยทีเดียวประโยชน์ของวิตามินเอ

วิตามินเอ มีประโยชน์มากมายหลากข้อ ซึ่งสามารถแบ่งแยกตามรายละเอียดได้ดังนี้

1. ช่วยบำรุงระบบทางสายตาและการมองเห็นให้ดีขึ้นวิตามินเอ เป็นตัวช่วยอย่างดีที่ช่วยบำรุงระบบสายตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มืด หรือที่ที่มีแสงสลัวๆ  โดยวิตามินเอจะเข้าไปควบคุมการทำงานของร็อดเซลล์ และโคนเซลล์ ในเรติน่า ( Retina ) ที่ดวงตาโดยที่ เรติน่าของตาประกอบด้วยตัวเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสง ( Light Receptors ) อยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ

  • ร็อดเซลล์ ( Rod Cells ) ใช้สำหรับการมองเห็นในเวลาตอนกลางคืน หรือในที่ที่มีแสงสว่างน้อยแสงสลัวๆ
  • โคนเซลล์ ( Cone Cells ) ใช้สำหรับแยกสีในการมองเห็น

2. ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุผิว ( Epithelial Cells ) ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น โดยวิตามินเอจะไปเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบพวก Acid Mucopolysacchaial Tract และไกลโคโปรตีน ในเซลล์ชนิดบุผิวแล้วจะหลั่งสารประกอบนี้ ออกมา เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิดความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลานั้นเอง

3. ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูกและฟัน วิตามินเอมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้การเจริญเติบโตของฟันและกระดูกทำงานได้ดีสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น เพราะหากร่างกายขาดวิตามินเอแล้ว จะส่งผลให้ กระดูกไม่มีความแข็งแรง อาจแตกและหักได้ง่าย อาจจำทำให้กระดูกบิดเบี้ยวไปจากเค้าโครงเดิม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะหากเกิดกับกระดูกบริเวณกะโหลกศีรษะและไขสันหลังก็อาจจะไปเกิดการกดทับเส้นประสาทและไขสันหลังได้ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตและหูหนวก และในส่วนของฟันผู้ที่ขาดวิตามินเอ จะทำให้ฟันผุง่ายกว่าปกติ เนื่องจากมีอาการหลุดลอกของสารเคลือบฟัน เหลือแต่เนื้อฟันเท่านั้น

4. ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดียิ่งขึ้นการได้รับปริมาณของวิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้เกิดการสร้างอสุจิที่ดีขึ้นในเพศชาย ส่วนในเพศหญิที่ตั้งครรภ์ วิตามินเอจะไปช่วยป้องกันการแท้งลูกได้ และยังช่วยเพิ่มฮอร์โมน Estrogen ในร่างกายอีกด้วย

5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) เนื่องจากในวิตามินเอ ประกอบไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชั่น ( Antioxidant ) ซึ่งคอยกำจัดอนุมูลอิสระ ( Free Radicals ) ก่อนที่จะไปทำปฏิกิริยาทำลายส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จนทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างเช่น มะเร็งในช่องปาก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้นนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวที่จะเป็นภาวะนำไปสู่โรคหัวใจได้อีกด้วย

6. ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับร่างกาย วิตามินเอช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากชึ้น และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายที่จะเข้ามาสู่ร่างกายอีกด้วย

วิตามินเอสามารถหาได้จากที่ไหนบ้าง?

ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถผลิตวิตามินเอ ขึ้นมาใช้งานเองได้ แต่เราสามารถพบวิตามินเอได้ในอาหารที่เราทานเข้าไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยอาหารที่มากและอุดมไปด้วยวิตามินเอ มีดังต่อไป

1. อาหารที่มีวิตามินเอสำเร็จรูป ( Retinol ) คือ อาหารที่มีวิตามินเอ และร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันทีเมื่อผ่านกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย 0เช่น นม  ไข่แดง ตับ เนื้อสัตว์ น้ำมันตับปลา เป็นต้น

2. อาหารที่มีโปรวิตามินเอหรือแคโรทีน คือ อาหารที่ทานเข้าไปแล้วจะถูกกลไกในร่างกายเปลี่ยนแปลงให้เป็นวิตามินเอก่อนที่จะนำไปใช้งาน เช่น

  • ผักต่างๆพบมากในพืชใบเขียวเข้ม เช่น แครอท ตำลึง คะน้า ผักโขม ยอดชะอม ยอดกระถิ่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เป็นต้น
  • ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้สีเหลือง เช่น แตงโม มะละกอ แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงสุก  กล้วยหอม เป็นต้น

ปริมาณที่เหมาะสมของวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับ

เพศชาย ปริมาณวิตามิน เอ ที่เหมาะสม เท่ากับ 5,000 I.U. ต่อวัน
เพศหญิง ปริมาณวิตามิน เอ ที่เหมาะสม เท่ากับ 4,000 I.U. ต่อวัน
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ปริมาณวิตามิน เอ ที่เหมาะสม เท่ากับ 5,000 I.U. ต่อวัน

ผลกระทบหากได้รับวิตามินเอน้อยเกินไป

หากร่างกายได้รับปริมาณของวิตามินเอที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังต่อไปนี้หากร่างกายได้รับปริมาณของวิตามินเอที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังต่อไปนี้

1. ปัญหาโรคที่เกี่ยวกับระบบสายตา การขาดวิตามินเอจะส่งผลกระทบกับระบบการมองเห็นโดยตรง เช่น การป่วยเป็นโรคตาบอดกลางคืนแต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ยอมรักษา และร่างกายยังคงขาดวิตามินเออยู่ ก็จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุนัยน์ตาจนก่อให้เกิดอาการทางตาที่เรียกว่า Xeropthalmia ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลูกตาทั้งหมด ( Ocular Manifestation )

วิตามินเอกับโรคตาบอดกลางคืน ( Night Blindness or Nyctalopia ) หมายถึง ภาวะการที่ดวงตามองเห็นที่ไม่ชัดเจน ในบริเวณที่มีแสงสลัว เช่น ในโรงภาพยนตร์ หรือ การมองเห็นในเวลาตอนกลางคืนที่ทำได้ไม่ดี เมื่อมีวิตามินเอในร่างกายลดน้อยลง จะทำให้เส้นประสาทรับภาพเวลากลางคืนเสื่อมลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ร็อดเซลล์ ไม่สามารถสร้าง Rhodopsin ซึ่งจำเป็นต่อการมองเห็นในที่มืดได้ทันและอย่างสมบูรณ์ ทำให้การปรับตัวทางสายตาในที่มืดเกิดความผิดปกติ โรคนี้หากเป็นแล้วปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะมีอาการของโรคที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงในการขาดโปรตีนและพลังงาน และสังกะสี เพราะสารอาหารโปรตีนและพลังงานจำเป็นต่อการสร้าง Pigment Epithelial Cells และการขาดสังกะสีทำให้ปริมาณ อ็อปซิน ( Opsin ) ที่มีอยู่ในตาลดลง โดยจะมีผลกระทบเกิดขึ้นทางตา ซึ่งเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกใช้แบ่งระดับอาการทางตา มีดังนี้

1.1. ขาดวิตามินเอระดับ X1A  จะมีอาการทางตาที่ปรากฏคือ เยื่อบุนัยน์ตาแห้ง ( Conjunctivalxerosis ) ทั้งบริเวณตาขาวและนัยน์ตาด้านนอก ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณดวงตา ในดวงตาจะมีลักษณะขุ่นชัดเจน

1.2. ขาดวิตามินเอระดับ X1B  จะมีอาการทางตาที่ปรากฏคือเยื่อบุตาขาวมีลักษณะเป็นเกล็ด ย่น ผิวมัน และบางครั้งมีฟองเกิดขึ้นจำนวนมากเกาะบริเวณบนเยื่อนัยน์ตา ( Bitot’s Spots with Conjunctivalxerosis ) มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ นูนขึ้นมา

1.3. ขาดวิตามินเอระดับ X2 จะมีอาการตาแห้ง หรือมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดกรวดขึ้นบนผิวกระจกตา ( Corneal Xerosis ) เยื่อบุตาดำไม่มีความใส ความสามารถของเยื่อบุตาที่จะให้แสงทะลุผ่านสูญเสียไปเยื่อบุตาดำหนาตัวขึ้นและจะมีเส้นเลือดขึ้นจำนวนมากอาการระยะนี้ควรรีบรักษาก่อนที่จะเกิดความรุนแรงกับดวงตา

1.4. ขาดวิตามินเอระดับ X3A จะมีอาการทางตา คือ บริเวณกระจกตาจะมีลักษณะขรุขระเป็นจุดเล็กๆและลึกลงไปถึงเนื้อกระจกตา ทำให้เกิดแผลที่กระจกตา ตาดำมีสีขุ่นขาว ครอบคลุมพื้นผิวกว่า 1 ใน 3 ของบริเวณกระจกตา ( Corneal Erosion )

1.5. ขาดวิตามินเอระดับ X3B อาการที่พบ คือ กระจกตามากกว่า 1 ใน 3 มีแผลเกิดขึ้น แผลลึกลงไปข้างในดวงตาทำให้มีภาวะกระจกตาทะลุกระจกตามีสภาพอ่อนเหลว ( Kelatomalacia ) กระจกตาดำมีสีเหลืองเทาและขุ่น และในที่สุดจะเกิดอาการตาบอดได้

1.6. ขาดวิตามินเอระดับ XN ดวงตาจะมีการมองเห็นที่แย่ในบริเวณแสงสลัว และมองไม่เห็นสิ่งใดๆเลยในตอนกลางคืน ( Night Blindness )

1.7. ขาดวิตามินเอระดับ XF มีการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณ เรติน่า ( Xeropthalmia Fundus ) เกิดขึ้นโดยจะมีจุดสีขาวเล็กๆขึ้นที่เรติน่า

1.8. ขาดวิตามินเอระดับ XS จะมีอาการเป็นแผลที่บริเวณกระจกตา ( Corneal Scars )

วิธีการรักษาปัญหาโรคที่เกี่ยวกับระบบสายตาจากการขาดวิตามินเอ สามารถรักษาได้ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ดังนี้

เด็กอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ( ยกเว้นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือหญิงมีครรภ์ ) ทันทีที่ตรวจพบอาการ ควรให้วิตามินเอ 200,000 IU ทางปากและในวันต่อมาให้วิตามินเอในปริมาณเดียวอีกครั้ง จากนั้น 1 – 2 สัปดาห์จึงให้วิตามินเอซ้ำอีก
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้วิตามินเอ 100,000 IU และวิธีการรักษาเช่นเดียวกับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี- หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แสดงอาการขาดวิตามินเอ ควรได้รับวิตามินเอทางปากในปริมาณ 10,000 IU ทุกวันติดต่อกัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น จนกว่าอาการทางตาที่ปรากฏจะหายไป
หญิงมีครรภ์ ให้วิตามินเอ 50,000 IU เมื่อตรวจพบอาการและให้ซ้ำทุกๆสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากการให้วิตามินเอในปริมาณสูงแก่หญิงตั้งครรภ์อาจมาผลเสียต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

2. ปัญหาการเกิดความผิดปกติของเซลล์ชนิดบุผิวของอวัยวะต่างๆ การขาดวิตามินเอ ยังส่งผลให้เกิดปัญหาของเซลล์บุผิวของอวัยวะต่างๆในร่างกายด้วย เช่น

  • ระบบทางเดินอาหารหากขาดวิตามินเอ จะทำให้ระบบทางเดินอาหารมีปัญหาได้ เช่น เกิดการอักเสบใน ปาก คอ ลิ้น และเหงือก และอาจจะมีอาการเป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะท้องร่วงอีกด้วย 
  • ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและอวัยวะใกล้เคียง เช่น ช่องโพรงจมูก หู ช่องปาก ต่อมน้ำลายและอาจะมีอาการคอเจ็บบ่อยๆด้วย โดยอาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆสลับกันไป เพราะเยื่อบุของอวัยวะเหล่านี้ มีการแห้งตายหรือสลายตัวทำให้มีการติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • ระบบขับปัสสาวะอาจจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปฏิกิริยาของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นด่าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะได้
  • ระบบผิวหนัง ( Follicular Hyperkeratosis ) หากขึ้นวิตามินเอร่วมกับวิตามินบี จะมีอาการทางผิวหนัง คือ ผิวหนังหนาขึ้น หยาบเป็นเกล็ด หรือมีตุ่มสากๆขึ้นที่ปากช่องเปิดของรูขุมขนมักพบบริเวณแขนละขา หน้าท้องบางครั้งจะมีผื่นมีลักษณะคล้ายหนังคางคก หรือหนังห่าน ( Toad Skin Phrynoderma ) ขึ้นด้วย

3. ปัญหาด้านระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง การขาดวิตามินเอ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงไปด้วย ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ซึ่งส่งผลให้เชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และอาจมีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ

4. ปัญหาด้านการเจริญเติบโตในเด็ก สำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงระหว่างกำลังโต หากได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ  โครงสร้างของกระดูกและฟันอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น

ผลกระทบหากได้รับวิตามินเอมากเกินไป

หากร่างกายได้รับปริมาณของวิตามินเอที่มากจนเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดพิษต่อในร่างกาย 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. พิษอย่างเฉียบพลัน เกิดจากกรณีที่บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอเข้าไปมากๆพร้อมกันในครั้งเดียวมักพบอาการนี้ได้ในเด็กเล็ก โดยพิษนี้จะแสดงอาการต่อร่างกาย เช่น ปวดศีรษะเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการง่วงนอนอ่อนเพลียสูญเสียการทรงตัว ตาพร่ามัวมองสิ่งของเป็นสองสิ่ง

2. พิษเรื้อรังเกิดจากการสะสมปริมาณของวิตามินเอในร่างกาย ปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆมักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ทานวิตามินเอติดต่อกันทำให้เกิดการสะสมในตับเกิดขึ้นโดยพิษนี้จะแสดงอาการต่อร่างกาย เช่นมีอาการเวียนศีรษะผิวหนังแห้ง หยาบ และคันบริเวณผิวหนัง มีอาการผมร่วงริมฝีปากแตก ปวดตรงกระดูกและข้อต่อ มีอาการผิดปกติของตับ ทำให้ระดับเกลือแร่ของกระดูกลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน อาการที่กล่าวมานี้สามารถหายได้เองจากการหยุดบริโภควิตามินเอ

ผลกระทบหากได้รับเบต้าแคโรทีนมากเกินไป

นอกจากวิตามินเอแล้ว หากร่างกายได้รับปริมาณของสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มากเกินความจำเป็น จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นเดียวกับวิตามินเอ เช่น

1. เกิดภาวะคาโรทีโนซีส ( Carotenosis ) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารเบต้าแคโรทีนมากเกินไป จนทำให้มีการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและอุ้งเท้ามีสีเหลืองเนื่องจากแคโรทีนถูกขับออกทางต่อมน้ำมันของผิวหนังซึ่งอาการเหล่านี้จะคล้ายกับโรคดีซ่านแต่บริเวณดวงตาจะไม่เหลืองตรวจปัสสาวะไม่พบน้ำดี อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดอาหารที่มีแคโรทีนสูง

2. เกิดภาวะเสี่ยงต่อมะเร็งได้ แม้จากข้อมูลจะบ่งบอกว่าผู้ที่กินผักผลไม้ที่มีแคโรทีนสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลดลง แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า โมเลกุลของเบต้าแคโรทีนจะไม่คงตัว เมื่ออยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มีอนุมูลอิสระมากจะแปรผันไปตามสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น ดังนั้น ตัวอย่างของผู้สูบบุหรี่ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มากพร้อมกับได้รับเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากขึ้นด้วย

วิตามินเอ เป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ จะได้รับมาจากการทานอาหารเท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่า วิตามินเอเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพราะหากบริโภคมากหรือน้อยเกินไปก็ล้วนแต่มีโทษต่อร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้การซื้ออาหารเสริมในส่วนของวิตามินเอทานเพิ่มก็อาจจะไม่จำเป็น เนื่องจากอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ มีอยู่มากมากหลายชนิดให้ได้เลือกรับประทานกันอยู่แล้ว และสามารถหาได้ง่าย เช่น ผักผลไม้ต่างๆ เป็นต้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Holmes PD (1971). “The production of experimental vitamin A deficiency in rats and mice”. Laboratory Animals. 5 (2): 239–50. 

Van Beek ME, Meistrich ML (1991). “Spermatogenesis in retinol-deficient rats maintained on retinoic acid”. Journal of Reproduction and Fertility. 

Fuchs E, Green H (1981). “Regulation of terminal differentiation of cultured human keratinocytes by vitamin A”. Cell. 25 

Nelson AM, Zhao W, Gilliland KL, Zaenglein AL, Liu W, Thiboutot DM (2008). “Neutrophil gelatinase–associated lipocalin mediates 13-cis retinoic acid–induced apoptosis of human sebaceous gland cells”. The Journal of Clinical Investigation. 118 (4): 1468–1478. PMC 2262030 Freely accessible.