หลอดลมฝอยอักเสบ
หลอดลมฝอยอักเสบ ( Bronchiolitis ) เป็น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างทำให้เกิดหลอดลมบวมและอักเสบ เมือกจะสะสมในทางเดินหายใจทำให้หลอดลมอุดต้น และเลือดคั่งในหลอดลมขนาดเล็กของปอด ซึ่งทำให้อากาศไหลเข้าและออกจากปอดได้ยากหลอดลมฝอยอักเสบที่พบบ่อยในทารกอายุ 3-6 เดือน และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หลอดลมฝอยอักเสบมักเกิดจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี Respiratory syncytial virus ( RSV ) ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปที่หลอดลมฝอย ทำให้เยื่อบุผิวอักเสบ บวม และหลั่งเสมหะออกมากทำให้เสมหะไปอุดกั้นการหายใจเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองในอากาศเมื่อมีผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูดคุยระยะฟักตัวของเชื้ออาร์เอสวี ประมาณ 2-5 วัน โดยปกติช่วงเวลาที่หลอดลมฝอยอักเสบคือช่วงฤดูหนาว และแต่ละคนสามารถติดเชื้อไวรัส RSV ซ้ำได้เนื่องจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้ไม่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน
อาการหลอดลมฝอยอักเสบ
เมื่ออาการของหลอดลมฝอยอักเสบเกิดขึ้นครั้งแรกมักจะคล้ายกับโรคไข้หวัด แต่ในบางครั้งอาการของหลอดลมฝอยอักเสบอาจเป็นอยู่ได้หลายวันหรือเป็นสัปดาห์
มีอาการดังนี้
- น้ำมูกไหล
- คัดจมูก
- อุณหภูมิร่างกายสูง ( มีไข้ ) 38-39 องศาเซลเซียส หรือบางคนก็ไม่มีไข้
- เบื่ออาหาร หรือทารกกลืนอาหารลำบาก
- มีอาการไอแห้งเป็นประจำ เป็นสัญญาณแรกของการติดเชื้อ
- หายใจถี่หรือมีเสียงดัง ( หายใจไม่ออก )
- ผิวเป็นสีน้ำเงินจากการขาดออกซิเจน
- เสียงแตกหรือรัวที่ได้ยินในปอด
- ความเหนื่อยล้า
- ซี่โครงที่จมลงระหว่างพยายามหายใจเข้า ( ในเด็ก )
- จมูกวูบวาบ ( ในเด็กทารก )
- มีสารคัดหลั่งออกมามาก ( น้ำมูก )
- หลอดลมหดเกร็งรุนแรง
- ทารกกินนม หรือน้ำน้อยลง
- ทารกร้องไห้ แต่ไม่มีน้ำตา
- ปัสสาวะน้อยลง
- ปากแห้ง
- อาเจียน
ปัจจัยเสี่ยงของหลอดลมฝอยอักเสบ
ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของหลอดลมฝอยอักเสบในทารกและในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่
- ทารกคลอดก่อนกำหนด
- เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด
- การสัมผัสกับควันบุหรี่
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ทารกที่ไม่เคยกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด (ทารกที่กินนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่)
- เด็กที่ติดเชื้อไวรัสจากเด็กคนอื่นๆ ในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
- ทารก หรือเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด
- ทารก หรือเด็กเล็กมีพี่น้อยที่เข้าโรงเรียนหรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก นำเชื้อกลับมาติดทารกหรือเด็กในบ้าน
การวินิจฉันโรคหลอดลมฝอยอักเสบ
- แพทย์มักจะเริ่มด้วยการซักประวัติพ่อแม่เกี่ยวกับอาการของทารก หรือเด็ก
- แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเบื้อต้น เพื่อประเมินว่าทารกหรือเด็กเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบหรือไม่
- แพทย์จะทำการเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาสัญญาณของโรคปอดบวม
- แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ
- แพทย์ใช้ไม้ปั่นเอาสารคัดหลั่งทางจมูก (น้ำมูก) เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการหาไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
การรักษาโรคหลอดลมฝอยอักเสบ
ลอดลมฝอยอักเสบส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงหากไม่มีอาการแทรกซ้อน จึงไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลแต่ให้รักษามุ่งเน้นไปในการบรรเทาอาการ ดังนั้น ทารกหรือเด็กเล็กที่เป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว และรักษาอาการน้ำมูก เสมหะ อาการไอ คัดจมูกตามอาการที่เป็นอยู่โดยแพทย์ระบุว่าการใช้ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยได้เนื่องจากไวรัสทำให้หลอดลมฝอยอักเสบ ยาปฏิชีวนะใช้ได้ผลกับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
- ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- มื่อทารก หรือเด็กตัวร้อนหรือมีไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอลชนิดดรอป 80 มก./0.8 ซีซี
หรือ 60 มก./0.6 ซีซี เนื่องจากใช้ปริมาณยาไม่มากเหมาะสำหรับทารกและเด็กเล็ก - การเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น จะทำให้อุณหภูมิที่ร่างกายต่ำลง
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดลมฝอยอักเสบ
- ริมฝีปากเป็นสีม่วง หรือตัวเขียว เกิดจากการขาดออกซีเจน
- หยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งมักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนดภายใน 2 เดือนแรก
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
- ภาวะหายใจล้มเหลว
การป้องกันหลอดลมฝอยอักเสบ
แม้การป้องกันโรคนี้จะเป็นไปได้ยาก แต่มีวิธีที่สามารถลดการแพร่กระจายในการติดเชื้อของไวรัส
- พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูทารกหรือเด็กเล็ก ควรล้างมือให้สะอาด
- ควรทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ของใช้ทารกให้สะอาด
- หลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่
หากพ่อแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของทารก หรือเด็กเล็กเริ่มมีอาการคล้ายโรคหวัด เป็นไข้สูง ไม่กินนม หายใจเร็ว แนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเนื่องจากทารก เด็กเล็กมีโอกาสเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) อาจเป็นซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม