ไวรัส RSV อาการ การป้องกัน และการรักษา
ไวรัส RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ มักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

ไวรัส RSV

ไวรัส RSV ( Respiratory Syncytial Virus ) คือ การติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ คนทุกวัยสามารถติดเชื้อ RSV ได้ แต่การติดเชื้อมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กเล็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคปอดเรื้อรัง เด็กเล็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด อาการคล้ายหวัดมักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในทารก เด็กเล็ก อันตรายอย่างไรหากปล่อยทิ้งไว้

ไวรัสอาร์เอสวีสามารถแพร่กระจายได้นาน 3 ถึง 8 วัน แต่บางครั้งการติดเชื้อโดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และในผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้นานถึง 4 สัปดาห์ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงสามารถติดต่อจากคนสู่คนอื่น ๆ อาการที่รุนแรงมากขึ้นนำไปสู่การเกิดโรคปอดบวม หรือหลอดลมฝอยอักเสบได้ เนื่องจากไวรัสอาร์เอสวีเป็นโรคติดต่อได้ง่าย แพร่กระจายผ่านละอองจากคนไอหรือจามรดกัน นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยอยู่บนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เคาน์เตอร์ ลูกบิดประตู เสื้อผ้า มือถือ ราวบันได การจูบปาก รวมถึงบริการขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถไฟราง รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน รถทัวร์ รถเมล์ แท็กซี โรงเรียน และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ดังนั้น เด็กหรือคนส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อไวรัสจากการสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว โดยปกติแล้วทารก เด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ RSV ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่บางกรณีในคนที่ติดเชื้อ RSV โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน และผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ อาจมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น หากพบปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก กระหายน้ำ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรณีเหล่านี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็กลับบ้านได้แล้ว

สถิติข้อมูลไวรัส RSV ในประเทศไทย

สถิติข้อมูลไวรัส RSV ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2561
กลุ่มตัวอย่างระบบทางเดินหายใจมาจากเด็กที่มีอายุเฉลี่ย 2.45 ปี และอัตราส่วนชาย 1 ต่อหญิง 0.8 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการตรวจหาเชื้อไวรัส RSV ในเชิงบวกจากเด็กทั้งหมด 46 คน ตั้งแต่ปี 2559-2561 เด็กส่วนใหญ่ที่ตรวจพบไวรัสอาร์เอสวีในเชิงบวกมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและอายุเฉลี่ยของเด็กที่ติดเชื้อ RSV ไม่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ซึ่งจะปรากฏระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนซึ่งตรงกับฤดูฝนในท้องถิ่นของประเทศไทย

ระยะฟักตัวของไวรัส RSV

ระยะเวลาระหว่างการติดเชื้อ และการพัฒนาไปสู่อาการเริ่มต้นของไวรัสอาร์เอสวี โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยอยู่ในช่วง 2 ถึง 8 วัน

ระยะเวลาการติดเชื้อไวรัส RSV

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสแล้วสามารถแพร่เชื้อ RSVสู่ผู้อื่นได้ ระยะเวลาการติดเชื้อประมาณ 4 ถึง 6 วัน ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้นานถึง 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่คนส่วนใหญ่หายจากการติดเชื้อภายในเวลาประมาณ 10 วัน

อาการการติดเชื้อของไวรัส RSV

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นประมาณ 4 ถึง 6 วัน หลังการติดเชื้อ อาการเหล่านี้จะปรากฏเป็นระยะ ๆ รวมถึงมีอาการ ดังนี้

  • อาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหล
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย
  • เจ็บคอ
  • เบื่ออาหาร
  • ไอ
  • มีเสมหะ
  • จาม
  • มีไข้
  • รู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด
  • เหนื่อยล้า
  • หายใจไม่ออก
  • ปัสาวะน้อยกว่าปกติ
  • ทารกไม่กินนม หรือกินนมยาก

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

หากสงสัยการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ควรสังเหตุอาการข้างต้น หากมีอาการดังนี้ มีไข้ เบื่ออาหาร ไอ น้ำมูกไหล ปัสาวะน้อยกว่าปกติ หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยคัดกรองอาการเบื้องต้นก่อนทำการรักษา

ใครบ้างอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV )

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับไวรัส RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการคล้ายหวัดในเด็กและผู้ใหญ่มักเกิดในช่วงฤดูหนาว ซึ่งทารถเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงร้อยละ 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในโรงพยาบาลที่ทำการคลอดเด็กทารก และอีก 25 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis) หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ ( Bronchiolitis ) พบบ่อยใน

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารก และเด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากอาการป่วย หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอดเรื้อรัง
  • เด็กอายุประมาณ 4-5 ขวบ (เด็กวัยเข้าโรงเรียน เช่น เตรียมอนุบาล อนุบาล เป็นต้น )
  • ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคปอด
  • ผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยเคมีบำบัด หรือผู้ป่วย HIV / AIDS
  • การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง เช่น ถ้าพ่อแม่สูบบุหรี่ หรือได้รับจากสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่

การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ทางเดินหายใจ

  • การซักประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัวและอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อไวรัส RSV และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทารก และเด็กไม่มีภาวะขาดน้ำ
  • การตรวจสารคัดหลั่ง (น้ำมูก) หรือสิ่งส่งตรวจทางเดินหายใจอื่น ๆ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส RSV โดยปกติจะทำกับผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง
  • การเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อหาสัญญาณของโรคปอดบวมและภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV )

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน RSV อย่างไรก็ตามนักวิจัยกำลังดำเนินการพัฒนาวัคซีนและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อช่วยปกป้องทารกและเด็กเล็ก ตลอดจนสตรีมีครรภ์จากการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรง หากบุตรหลานของท่านติดเชื้อไว้รัสอาร์เอสวีเป็นครั้งที่สองในเวลาใกล้เคียงกันอาการของป่วย
น่าจะไม่รุนแรงกว่าตอนแรก เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้เพียงแค่พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น แต่สามารถลดความเสี่ยง
ในการติดหรือลดการแพร่เชื้อของไวรัส RSV ได้ดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วย 7 ขั้นตอนล้างมือให้สะอาด ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า จมูก หรือปาก ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือน้ำ
  • การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การจูบ การจับมือ ถ้วยจาน แก้วน้ำ และสิ่งของเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารรวมกับผู้อื่นหากรู้ตัวว่าตนเองป่วยหรือไม่สบาย
  • ควรล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสกับสิ่งของ หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถไฟราง รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน รถทัวร์ รถเมล์ แท็กซี อยู่ในโรงเรียน และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
  • ควรอาบน้ำทุกครั้งหลังออกนอกที่พักอาศัย
  • ควรแยกเสื้อผ้าที่ใส่แล้วโดยการซักทำความสะอาดด้วยน้ำยาซักผ้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 99.9%
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
  • ไม่ควรใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม ภาชนะใส่อาหารร่วมกับผู้อื่น (กินร้อน ช้อนส่วนตัว)
  • ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกนอกที่พักอาศัย
  • ควรปิดปาก ปิดจมูกขณะไอ หรือจาม
  • หากรู้สึกว่าป่วยควรไปพบแพทย์ ไม่คลุกคลีกับคนอื่นในบ้าน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงทารก และเด็กเล็กจากควันบุหรี่มือสอง สถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงทารก และเด็กเล็กในสถานที่แออัด
  • แนะนำให้พ่อแม่มือใหม่ หรือผู้เลี้ยงเด็กทารก เด็กเล็ก งดการหอมแก้มเด็กและใกล้ชิดเด็ก แม้แต่การสัมผัสตัวโดยไม่ล้างมือ โดยเฉพาะหากมีอาการทางระบบหายใจ มีไข้ ไอ จาม งดเข้าใกล้ทารกเด็ดขาด เว้นระยะห่างจากผู้อื่นในระยะ 2 เมตร อย่างเคร่งครัด อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไว้รัสอาร์เอสวี ( RSV ) ได้ง่าย
  • ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกเมื่อไอ หรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะทันทีจากนั้นล้างมือให้สะอาด

การรักษาไว้รัสอาร์เอสวี ( RSV )

แม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่มียาหรือวัคซีนในการรักษาไวรัส RSV ดังนั้น การดูแลทารก เด็กเล็กที่ติดเชื้ออาร์เอสวีมีวิธีรักษาเบื้องต้น ดังนี้

  • ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก พ่นสเปรย์น้ำเกลือทำความสะอาดโพรงจมูกทารก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก คันจมูก ทำให้น้ำมูกนิ่มลง
  • ใช้ยาลดไข้สำหรับทารกควรเป็นชนิดหยด
  • พ่นยา หรือการใช้ออกซิเจนพ่นน้ำยาให้แตกตัวเป็นละอองเล็กๆ ให้เด็กสูดดมเข้าไปแล้วอาการตีบของหลอดลมจะดีขึ้น
  • ใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ ช่วยลดการอักเสบ

ไวรัว RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างแพร่ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ทั้งทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( Respiratory Syncytial Virus ) เพิ่มขึ้นทุกปีแม้จะเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม