อาการปวดเข่าที่มีสาเหตุมาจากอะไร?
อาการปวดเข่าพบในกลุ่มผูัสูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ใช้ขาและเข่ามาก

ปวดเข่า

ปวดเข่า คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของขาให้สามารถยืดและงอได้ หัวเข่าเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงมักเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ส่วนมากมักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับการดูแลเข่า นอกจากเข่าเกิดอาการบาดเจ็บจึงจะทำการดูแลรักษา ซึ่งการที่ทำการดูแลเฉพาะเวลาที่เกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว  นั้น เข่าก็อาจจะไม่สามารถกลับมาใช้ได้ดังเดิม

โครงสร้างของเข่ามีอะไรบ้าง

เข่าจัดเป็นข้อที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมนุษย์ เข่าประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.กระดูก กระดูกที่เป็นส่วนประกอบของข้อเข้ามีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ ส่วนปลายของกระดูกต้นขา ส่วนหน้าของกระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้าส่วนด้านหน้า

2.กระดูกอ่อนและกระดูกอ่อนครึ่งวงกลม ที่ทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกและแรงเสียดสีระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง

3.กล้ามเนื้อ เข่าจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ส่วนด้วยกันคือ

3.1 กล้ามเนื้อต้นขาในส่วนหน้า ทำหน้าที่ยึดเข่าด้วยกล้ามเนื้อทั้งหมด 4 มัด กล้ามเนื้อเป็นกล้ามเนื้อที่สร้างความแข็งแรงให้กับข้อเข่า ช่วยให้เข่าสามารถเหยียด ยึดให้เข่าอยู่ในลักษณะตรงได้ โดยที่เอ็นกล้ามเนื้อจะยึดติดกับกระดูกสะบ้าและไปยึดติดกับปุ่มกระดูกหน้าแข้ง ถ้ากล้ามเนื้อกลุ่มนี้มีอาการเกิดภาวะอ่อนแรง จะส่งผลให้เวลาเดินหรือยืนเข่าจะไม่สามารถยืดเป็นเส้นตรงได้ จึงเกิดอาการเข่างอหรืออาจจะล้มขณะเดินก็ได้ และถ้ามีอาการนี้เกิดขึ้นนานจะส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงสร้างร่างกายเกิดการผิดปกติ เข่าโก่งทั้งเวลายืนและเดิน อาจจะส่งผลให้มีความเจ็บปวดตามมาด้วย

3.2 กล้ามเนื้อต้นขาในส่วนด้านหลัง กล้ามเนื้อส่วนนี้จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหมด 3 มัด ทำหน้าที่ในการยึดกระดูกนห้าแข้งบริเวณด้านหลัง คอยทำการพับและงอให้กับข้อเข่า และยังเป็นส่วนที่ช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของเข่าให้มากขึ้น ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลระหว่างเข่าด้านหน้าและเข่าด้านหลังให้มีความสมมาตร แต่ว่ากล้ามเนื้อด้านหลังนี้เมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อด้านหน้าแล้วจะมีความแข็งแรงเพียงแค่ร้อยละ 60 ของกล้ามเนื้อด้านหน้าเท่านั้น ถ้ากล้ามเนื้อด้านหลังเกิดอาการอ่อนแรงจะทำให้การทรงตัวทางด้านหลังไม่ดี เวลายืนหรือเดินจะหงายไปด้านหลัง

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

4.บุกข้อเข่า เป็นอวัยวะส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตไขหรือน้ำหล่อลื่นให้กับข้อ ซึ่งผลิภัณฑ์ที่ได้จากบุกข้อเข่าจะมีลักษณะเป็นของเหลว เคลือบอยู่ที่ผิวของกระดูกอ่อน เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าให้มีการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี

5.ถุงน้ำ ถุงน้ำที่ข้อเข่าจะอยู่ระหว่างกระดูกกับส่วนของเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยึดกระดูก ซึ่งถุงน้ำที่ข้อเข่าจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ถุงน้ำมีหน้าที่คล้ายหมอนรองที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเสียดสีระหว่างกระดูกและเส้นเอ็น
อวัยวะทุกส่วนของข้อเข่ามีความสำคัญเท่ากันหมด ไม่ว่าอวัยวะใดเกิดการเสื่อมหรือการสึกหรอก็จะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดกับร่างกายทั้งสิ้น

อาการที่บ่งบอกว่าเข่ามีปัญหาเกิดขึ้นคืออะไรบ้าง

1.ความเจ็บปวดเข่า เมื่อเข่าเริ่มมีความปวดเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย นั่นแสดงว่าข้อเข่าเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว

2.อาการเข่าบวม อาการบวมที่ข้อเข่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีเลือดออกที่ภายในข้อเข่า อาการบวมอาจจะแสดงให้เห็นในทันทีหรืออาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการออกของเลือดว่ามีมากหรือน้อย เมื่ออาการบวมจะส่งผลเกิดความผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างในข้อเข่าตามไปด้วย

3.เข่ายึด หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเข่าฝืด คือ อาการที่เข่าเกิดการสะดุดหรือเดินติดขัด มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หยุดการใช้เข่าไปสักระยะ เช่น หลังตื่นนอน หลังจากที่นั่งนาน

4.เข่าอ่อน เป็นอาการที่เข่างอหรือเหยียดเข่าไม่ได้ต้องใช้เวลานานกว่าที่จะยึดเข่าออกมาได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเข่า

1.การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเข่าได้ แต่ว่าถ้าการเล่นกีฬาที่หนักเกินไปก็จะส่งผลให้เอ็นกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด อักเสบได้

2.น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ คนที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากตามได้ด้วย ทำให้มีแรงเสียดสีระหว่างกระดูกทั้งสองข้างมีค่าสูง กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพเร็วขึ้นจึงทำให้ข้อเข่าเกิดอาการปวด

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การอยู่กับที่ การนั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งสมาธิเป็นเวลานาจะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงเส้นเลือดที่ข้อเข่าได้น้อยลงจึงส่งผลให้เข่าเสื่อมสภาพได้มากขึ้น

อาการบาดเจ็บเข่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายเนื่องจากเข่าเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนทั้งหมด ถ้าเรามีรูปร่างหรือน้ำหนักตัวที่สูงเกินมาตรฐานก็จะส่งผลให้เข่าต้องรับน้ำหนักมาก และการเดินมาก การเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ก็ทำให้เกิดการเสียดสีที่ส่วนของข้อเข่าสูงตามไปด้วย เข่าจึงเกิดความเสื่อมได้สูงขึ้น เป็นที่มาของอาการปวดเข่า

อาการและแนวทางการรักษาข้อเข่าที่พบได้บ่อยในคนไทย

1.เอ็นฉีดขาดหรือข้อเข่าแพลง

มักเกิดจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ที่มีแรงกระแทกสูง ทำให้ข้อเข่ามีอาการปวดบวม แดงร้อนเนื่องจากการอักเสบ ซึ่งเมื่ออาการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจะต้องทำการประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบในช่วง 3 วันแรก และหลังจากนั้นให้ทำการประคบร้อน พร้อมทั้งพันผ้าไว้รอบ ๆ ข้อเข่าเพื่อลดการใช้งานของข้อเข่าให้น้อยลง เมื่อมีอาการดีขึ้นให้ทำการยืด เหยียดช้า ๆ และเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเบาเบา

2.ข้อเข่าเกิดการเสื่อมสภาพ

เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวสูงเกินมาตรฐานทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมากจึงเกิดการเสื่อมได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสาเหตุอื่น อาการข้อเสื่อมจะเริ่มจากมีอาการติดขัด ได้ยินเสียงเสียดสีของกระดูก ข้อกระดูกเคลื่อนไหวได้น้อยลงทั้งการยืด การเหยียด และเกิดขาโกงในที่สุด ในการรักษาต้องทำการเคลื่อนไหวข้อเข่าให้ได้ทุกองศาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเสื่อมของข้อเข่า

3.การบาดเจ็บของกระดูกอ่อน

เกิดจากการที่ข้อเข่าได้รับแรงกระแทกขณะที่กำลังงอเข่าอยู่ ซึ่งจะพบได้มากในนักกีฬามืออาชีพที่ต้องทำการเคลื่อนไหวในขณะทำการแข่งขัน ส่งผลมีอาการบวมที่ข้อเข่าไม่สามารถทำการเหยียดข้อเข่าได้ ต้องทำการประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบ แต่ถ้ามีการขาดหรือฉีกของกระดูกจะต้องทำการผ่าตัดเอากระดูกส่วนที่ขาดออก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำการออกกำลังกายข่อเข่าอยู่เป็นประจำโดยการเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเป็นประจำ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับข้อข่าและยังช่วยลดอาการบาดเจ็บของข้อเข่าได้เป็นอย่างดี บางรายต้องทำการเข่าเฝือกพร้อมทั้งออกกำลังไปพร้อมกัน

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

4.โรคอัสกู๊ดซลาต์เตอร์

คือ การที่กระดูกปุ่มหน้าที่ส่วนของหน้าแข็งอักเสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายที่มีข้อเข่าเกิดการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ มีขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วในเด็กผู้ชายที่ชอบเล่นกีฬาหรือออกกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เส้นเอ็นหรือเยื่อหุ้มกระดูกมีการอักเสบและปวดเกิดขึ้น ถ้ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วต้องทำการหยุดพักการใช้งานข้อเข่า และพยายามไม่ให้ข้อเข่าได้รับแรงกระแทกซ้ำเข้าไปที่บริเวณข้อเข่าเพิ่มอีก โรคอัสกู๊ดซลาต์เตอร์รักษาได้ด้วยการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่ส่วนของข้อเข่า ด้วยการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ลดการเล่นกีฬาที่สร้างแรงกระแทกกับส่วนของข้อเข่า

5.การที่กระดูกสะบ้ามีการเคลื่อนตำแหน่ง

อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุจนส่งผลกระทบให้เอ็นยึดกระดูกสะบ้ามีการฉีกขาดหรือเกิดการหย่อน ซึ่งสามารถทำให้กระดูกสะบ้าเข้าที่ได้ด้วยการเหยียดเข่าให้เป็นเส้นตรง ใช้ผ้าเย็นประคบเพื่อช่วยลดอาการบวมที่ข้อเข่า พร้อมทั้งการใส่เฝือกอ่อนเพื่อให้กระดูกไม่เกิดการเคลื่อนที่ออกมาอีก แต่ในบางรายที่กระดูกสะบ้าเกิดการหลุดออกมาบ่อย ต้องทำการผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกสะบ้าให้เข้าที่และยึดให้แน่น และผู้ป่วยก็ควรที่จะทำการฝึกกล้ามเนื้อที่ข้อเข่าให้มีความแข็งแรงจะได้ทำหน้าที่ยึดกระดูกสะบ้าให้อยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนหลุดมาจากเบ้าได้

6.อาการคอนโดรมาเลเซีย

คือ อาการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ส่วนสะบ้าหัวเข่า อาการนี้พบได้มากในผู้ที่มีอายุน้อยเช่นเดียวกับโรคโรคอัสกู๊ดซลาต์เตอร์ นั่นคือเกิดกับผู้ที่มีอายุน้อยและต้องใช้ข้อเข่าในการเล่นที่ต้องออกแรงสูง ส่งผลให้กระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณสะบ้ากับกระดูกส่วนต้นขามีการเสียดสีและกระแทกกันมากจนส่วนทั้งสองเกิดการสึกหรอและเสื่อมลง หรือมีกระดูกสะบ้ามีการเคลื่อนที่จากข้อเข่าเกิดขึ้นร่วมด้วย ทำให้มีอาการปวดเข่าที่ส่วนของกระดูกสะบ้าในเวลาที่ทำการเหยียดเกร็งให้เข่าตรง หรือมีการใช้งานข้อเข่าที่มีอาการเสื่อมเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อก็จะเกิดความล้าได้มากกว่าปกติจนทำให้เกิดการปวดขึ้น การรักษาต้องทำการหยุดการใช้งานข้อเข่าชั่วคราว พร้อมทั้งพันผ้ายืดรอบเข่าและทำการประคบร้อนอย่างต่อเนื่อง

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

7.ข้อเข่าเสื่อมเนื่องจากการอักเสบ

ข้อเข่าเป็นอวัยวะที่มีการอักเสบเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นเป็นประจำจะส่งผลให้เกิดการอักเสบชนิดเรือรัง ซึ่งการอักเสบเรือรังนี้จะส่งผลให้ข้อเข่าเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของข้อเข่าได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีอาการอักเสบที่ข้อเข่าอย่าปล่อยให้หายเองโดยไม่ทำการรักษา ต้องทำการรักษาอาการอักเสบให้หายสนิทก่อนที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่ารับแรกกระแทกสูง เพราะการไม่รักษาการอักเสบให้หายสนิทจะทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดเรือรังที่จะส่งผลเสียให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่าอย่างรุนแรง

8.การปวดเนื้อเยื่อด้านหน้าของข้อเข่า

เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านหน้าของข้อเข่าจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อ ถุงน้ำ เนื้อเยื่อ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานในการทำกิจกรรมต่างอาจจะส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดการฉีกขาดได้ การฉีกขาดของเนื้อเยื่อที่อยู่ในส่วนด้านหน้าของข้อเข่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด เมื่อเกิดการฉีกขาดถึงแม้ร่างกายจะสามารถทำการรักษาได้ด้วยตนเอง แต่เมื่อหายแล้วจะทำให้เกิดพังผืดที่ข้อเข่า ทำให้เกิดสามารถเกิดการฉีกขาดซ้ำได้เนื่องจากการเกิดพังผืดจะทำให้ความยืดหยุ่นของข้อเข่าลดลง ดังนั้นเมื่อต้องทำการเคลื่อนไหวที่รุนแรงก็จะส่งผลให้เกิดการฉีกขาดซ้ำเดิมได้ ดังนั้นถ้ามีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำการรักษาด้านการทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการเกิดพังผืดร่วมกับการออกกำลังกายและการกินยาลดความปวด

จะเห็นว่าโรคที่เกิดขึ้นกับข้อเข่าส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการที่ข้อเข่าไม่มีความแข็งแรงพอที่จะรองรับแรงกระแทกเข้ามาสู่บริเวณข้อเข่านั้นเอง ดังนั้นทางที่ดีที่จะป้องกันโรคที่จะเกิดกับข้อเข่านั่นคือ การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับข้อเข่า การออกกำลังที่เหมาะสมกับข้อเข่าไม่ควรเป็นการออกกำลังกายที่รุนแรงหรือมีการส่งแรกกระแทกเข้าสู่ข้อเข่าโดยตรง การออกกำลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อเข่าควรเริ่มทำตามลำดับจากท่าแรกจนถึงท่าสุดท้าย ควรออกกำลังกายทุกวันจะเห็นผลมากกว่าการออกไม่ต่อเนื่อง และควรเริ่มทำจากจำนวนครั้งที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มจำนวนครั้งในการออกกำลังกายครั้งต่อไป อย่าออกกำลังกายหักโหมตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มออกกำลัง เพราะแทนที่จะทำให้ข้อเข่าแข็งแรงแต่กลับจะทำให้ข้อเข่าเกิดการเสื่อมหรือบาดเจ็บได้

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ท่าบริหารข้อเข่าให้แข็งแรง ด้วยตนเองง่ายๆ

1.ท่านอนกดเข่า

เริ่มจากการนอนหงายพร้อมทั้งหาหมอนขนาดเล็กมาหนุนใต้เข่าทั้งสองข้างสูงขึ้นมาจากพื้นเล็กน้อย เหยียดขาตรง ยืดมือทั้งสองข้างมาจับกล้ามเนื้อที่ต้นขาเหนือเข่าของขาข้างใดข้างหนึ่ง ทำการยกขาข้างที่จับขึ้นและเกร็งกล้ามเนื้อกับลูกสะบ้าให้หยุดนิ่ง ประมาณ 5 นาที วางขาลงบนหมอน ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

2.ท่านอน นอนเหยียดและยกขา

เริ่มจากนอนราบกับพื้น ชันเข่าข้างขวาขึ้นทำมุม 45 องศากับพื้น ยกขาข้างซ้ายขึ้นจากพื้นประมาณ 1 ฟุต เหยียดขาซ้ายให้ตรง อยู่ในท่านี้ประมาณ 5 นาที ลดขาลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ และสลับขาซ้ายวางบนพื้นและยกขาขวาขึ้นแทน

3.ท่านอนกดส้นเท้า

เริ่มจากนอนราบบนพื้น ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น กดส้นเท้ากับพื้นและยักเข้าขึ้นพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่า อยู่ในท่านี้ประมาณ 5 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

4.ท่านั่งเหยียดเข่า

เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ วางเท้าลงบนพื้นหลังพิงพนังเก้าอี้ในท่าสบาย ค่อยยกขาทั้งสองข้างขึ้นให้ยืดตรงที่สุดเท่าที่จะตรงได้ เกร็งกล้ามเนื้อขา อยู่ในท่านี้ประมาณ 5 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

5.ท่านอนคว่ำ งอเข่า

เริ่มจากนอนคว่ำกับพื้น ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง งอเข่าเข้าหาลำตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อยู่ในท่านี้ 5 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

6.ท่านอนคว่ำ งอเข่าโดยมีตุ้มน้ำหนักถ่วง

เริ่มจากนอนคว่ำกับพื้น สองมือยึดกับขอบโต๊ะหรือที่ยึดให้มั่น นำตุ้มน้ำหนักมายึดติดกับข้อเท้า ตุ้มน้ำหนักครั้งแรกควรหนัก 0.5 และสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ในครั้งต่อไปเป็น 1.0 ,1.5,2.0 และสูงสุดไม่ควรเกิน 5 กิโลกรัม และค่อย ๆ งอเข่าเข้าหาลำตัว อยู่ในท่านี้ 5 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

7.ท่านั่งเหยียดขาพร้อมติดตุ้มน้ำหนัก

เริ่มจากท่านั่งบนเก้าอี้ นำตุ้มน้ำหนักมาติดที่ข้อเท้า ยังขาทั้งสองข้างขึ้นช้า ๆ เกร็งขาไว้ 5 นาที แล้วลดขาลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ ตุ้มน้ำหนักสามารถเพิ่มน้ำหนักได้จนถึง 5 กิโลกรัม

8.ท่าขึ้นลงบันได

นำเก้าอี้ไม้หรือแผ่นไม้ที่สูงประมาณ 2 นิ้ว เริ่มจากยืนตัวตรง ก้าวเท้าข้างที่ปวดวางบนแผ่นไม้ อยู่ในท่านี้ 5 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

9.ย่อตัวและลดตัวลง

เริ่มจากท่ายืนหลังชิดกำแพงหรือเก้าอี้ ทำการย่อตัวลงด้วยการงอเข่าทั้งสองข้างช้า ๆ จนเข่าวางลงบนพื้น ทำการลุกขึ้นด้วยการยกเข่าทั้งสองข้างขึ้นพร้อมกัน ทำซ้ำ 5 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

10.ท่านั่ง ดัดเข่างอ

เริ่มจากนั่งบนที่เตียงนอนหรือเก้าอี้ที่มีความสูงประมาณเข่า ทำการนำขาข้างที่ไม่มีอาการปวดมาวางทับขาข้างที่มีอาการปวดเข่า กดขาข้างที่ปกติลงเพื่อที่เข่าที่มีอาการปวดจะสามารถทำการงอลงไปได้ เป็นการบริหารเข่าข้างที่ปวดโดยที่ไม่ต้องออกแรงที่เข่ามากเกินไป

11.นั่งดัดเข่า

เริ่มจากนั่งราบกับพื้น ยืดขาตรงเท่าที่จะทำได้ นำมือทั้งสองข้างมาจับที่เข่าแต่ละข้าง ทำการกดเข่าลงให้ขายืดเป็นเส้นตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อรู้สึกเจ็บหรือตึงมากให้หยุด และยกขากลับมาที่ตำแหน่งเริ่มต้น

[adinserter name=”oralimpact”]

12.ย่อเข่าเพื่อดัดเข่างอ

เริ่มจากท่ายืน สองมือจับโต๊ะหรือที่ยึดให้มั่น ยืดขาข้างที่เข่ามีความผิดปกติไปด้านหน้า 1 ก้าว และทำการโน้มตัวไปข้างหน้าและทิ้งน้ำหนักตัวลงบนขาข้างที่เข่าเจ็บช้า ๆ เข่าจะเกิดการงอตัวลง ข้างไว้ประมาณ 5 นาที ยกตัวขึ้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง ทั้งหมด 3 รอบ

ทั้งหมดนี่คือท่าที่ช่วยในการบริหารกล้ามเนื้อและกระดูกเข่าให้มีความแข็งแรง การบริหารควรเริ่มจากการทำครั้งละ 1-2 รอบก่อนแล้วค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในการทำครั้งแรกอาจจะรู้สึกเจ็บมาก อย่าฝืนทำต่อไปให้หยุด และกลับมาทำซ้ำในวันต่อไป และควรทำเรียงลำดับจากท่าที่ 1 มาจนถึงท่าสุดท้าย อย่าข้ามอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับกล้ามเนื้อและกระดูกได้

การดูแลเข่าด้วยการบริหารกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นสิ่งที่ป้องกันการเสื่อมและโรคข้อเข่าได้ก็จริง แต่บางครั้งอุบัติเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจก็ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บกับเข่าได้ ซึ่งเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเราก็ต้องทำการรักษาด้วยแพทย์เข้ามาช่วย ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าโรคข้อเข่าที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียวหรือมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย พร้อมทั้งทำการเอ็กซเรย์ว่ามีกระดูกส่วนใดบางที่เกิดความผิดปกติจึงจะสามารถบอกได้ว่าต้องทำการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง เช่น การผ่าตัด การฉีดยา การรับประทานยา เป็นต้น หลังจากที่ทำการรักษาจนมีอาการดีขึ้น คนไข้ต้องทำการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของข้อเข่าให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติอีกครั้ง ซึ่งการทำการภาพบำบัดในช่วงแรกต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อคนไข้ทำได้จนมีการพัมนาการของกล้ามเนื้อที่ดีแล้ว คนไข้สามารถทำกายภาพบำบัดได้เองที่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อเข่ามีความแข็งแรงไม่เกิดการเสื่อมกลับมาอีก เราจะได้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวอย่างที่ใจนึก เพียงคุณใส่ใจสักนิดกับเข่าคุณก็ไม่ต้องทนทรมานกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทำการขยับเข่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

https://www.medicinenet.com/knee_pain_facts/article.htm