อาการปวดไหล่
มนุษย์เราสามารถใช้แขนเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วไปได้ในทุกทิศทุกทางอย่างอิสระ ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอวัยวะที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขน มือ คือ ส่วนของ ข้อไหล่ ไหล่นับเป็นอวัยวะที่ต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตัวอย่างเช่น คนไทยที่ใช้ไหล่ในการแบกหามสิ่งของสะพายเป้หรือกระเป๋า คนจีนก็ใช้ไหล่ในคล้องเชือกสำหรับลากรถ ซึ่งมักจะเกิด อาการปวดไหล่ ได้บ่อยๆ
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
กระดูกไหล่ 3 ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ไหล่หรือบ่าประกอบไปด้วยกระดูก 3 ชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน คือ
1.กระดูกไหปลาร้า ( Clavicle or Collar Bone ) คือ กระดูกขนาดยาวโค้งมีอยู่ 2 ชิ้น อยู่บริเวณด้านบนของหน้าอกที่อยู่ด้านบนของกระดูกซี่โครง ซึ่งปลายด้านหนึ่งของกระดูกไหปลาร้าต่อกับส่วนของกระดูกหน้าอกและปลายอีกด้านหนึ่งต่อกับกระดูกสะบัก
2.กระดูกส่วนต้นแขน ( Humerus ) คือ กระดูกที่อยู่ระหว่างส่วนของกระดูกสะบักกับกระดูกส่วนปลายของแขน ( Forearm ) มีลักษณะเป็นกระดูกยาวทำหน้าที่เป็นแกนของต้นแขน และเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อแขนอีกด้วย
3.กระดูกส่วนสะบัก ( Scapula ) คือ กระดูกที่มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม มีรูปร่างแบนขนาดใหญ่ อยู่ที่ส่วนบนของหน้าอก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน
นอกจากส่วนของกระดูกแล้วไหล่ยังประกอบด้วย กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งทุกส่วนนี้จะเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ การที่ไหล่เชื่อมต่อกันด้วยกล้ามเนื้อ เอ็นทำให้ไหล่มีความยืดหยุ่นที่ส่งผลให้แขนและมือสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ นอกจากชิ้นส่วนข้างต้นแล้ว ไหล่ยังประกอบด้วยกระดูกอโครเมียน ( Acromion ) หรือปุ่มกระดูกหัวไหล่และกระดูกโคราคอยด์ (Coracoid) หรือจะงอยบ่า เป็นส่วนของกระดูกสะบักที่มีการยื่นออกมาเพื่อมาประกบกับส่วนเพดานของหัวไหล่ ซึ่งบริเวณที่อยู่ข้างใต้ที่เป็นตำแหน่งของหัวไหล่ กระดูกต้นแขนที่เป็นทรงกลมจะเข้ามายึดกับบริเวณเบ้าที่กระดูกสะบัก ซึ่งมีเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดข้อและกล้ามเอ็นกล้ามเนื้อเข้ามาเกาะติดไว้เพื่อให้แขนสามารถยืด งอและเหยียดตรงได้ โดยจะมีกล้ามเนื้อที่ทำให้ไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้มีอยู่ 4 มัด บริเวณที่อยู่ระหว่างหัวไหล่และเส้นเอ็นกล้ามเนื้อจะมีปุ่มกระดูกอยู่ ที่ปุ่มนี้จะมีกล้ามเนื้อเกาะอยู่หลายมัดและมีถุงน้ำคั่นอยู่ด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับแรงกระแทกหรือเป็นตัวช่วยหล่อลื่นลดการเสียดสีระหว่างกระดูก ลดการสึกหรอของกระดูก ดังนั้นถ้าถุุงน้ำมีจำนวนน้อยหรือถุงน้ำไม่สามารถทำหน้าที่ได้จะส่งผลให้กระดูกเกิดการกระทบกันจนเกิดการสึกหรอขึ้นได้
การเคลื่อนไหวของข้อที่หัวไหล่มีลักษณะอย่างไร
แขนเป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ทุกทิศทุกทาง ไม่ว่าจะเป็น ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง บน-ล่าง หรือแม้แต่การหมุนเป็นวงกลมแขนก็สามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งสิ้น การเคลื่อนไหวของแขนเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของกระดูกไหปลาร้า กระดูกสะบัก กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่มีจำนวนมากมากยประกอบเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีการใช้งานแขนเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือมีการใช้งานอย่างผิดวิธีจะส่งผลให้ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของหัวไหล่ก็จะเกิดความผิดปกติได้ ส่งผลให้เมื่อมีความรู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
ผลกระทบของการปวดไหล่และการเสื่อมประสิทธิภาพของไหล่
อาการปวดไหล่เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะว่าไหล่เป็นอวัยวะที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเล่น การทำงาน การนอน ส่งผลให้ไหล่อาจเกิดการเจ็บปวดขึ้นได้ ซึ่งอาการปวดไหล่ของคนแต่ละวัยจะมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป คือ
1.วัยเด็ก เป็นวัยที่มีการเล่นซุกซนและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสปวดไหล่เนื่องจากการบาดเจ็บในขณะที่เล่นนั่นเอง
2.วัยรุ่นหรือวัยทำงาน เป็นวัยที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแต่ว่าร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวในการประกอบอาชีพ การออกกำลังกาย หรือการกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ทำให้กล้ามเนื้อหรือหัวไล่เกิดการเสียดสีหรือมีแรงกระแทกเข้ามากระแทกหัวไหล่ทำให้เกิดการอักเสบที่ไหล่หรือเกิดอาการปวดไหล่ได้
3.วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมของกล้ามเนื้อไหล่ เนื่องจากมีการใช้งานกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อมาเป็นเวลานานจึงมีการเสื่อมตามกาลเวลา
อาการปวดไหล่นอกจากจะเกิดจากการบาดเจ็บหรืออายุแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดไหลก็คือ โรค เช่น โรคหัวใจ โรคถุงน้ำดี โรคตับ เป็นต้น
อาการปวดไหล่ที่พบโดยมากจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้
1.ระยะเวลาการใช้งาน ไหล่เป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานมาตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่มีวันใดเลยที่ไหล่จะหยุดเคลื่อนไหว เพราะว่าเราต้องใช้ไหล่ในการบังคับแขน มือเพื่อทำกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ซึ่งการใช้งานที่ว่านี้จะก่อให้เกิดการสึกหรอกับส่วนต่าง ๆ ของข้อไหล่ [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2.การอักเสบ การอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นจากการเสียดสีของกระดูกกับถุงน้ำที่ทำหน้าที่รองรับ แต่ถ้าถุงน้ำไม่มีประสิทธิภาพที่จะรองรับได้หรือมีการเสียดสีที่รุนแรงมาก จะทำให้เกิดความเครียดหรือการอักเสบกับเส้นเอ็นและส่วนของถุงน้ำดี และถ้าอาการอักเสบที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานหรือมีการอักเสบเรื้อรังจะก่อให้เกิดหินปูนเกาะที่บริเวณเส้นเอ็นและเมื่อหินปูนนี้มีการแตกเข้าไปสู่ถุงน้ำดีก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ชนิดเฉียบพลันได้
3.การฉีกขาดของเส้นเอ็น เกิดจากการที่ใช้งานกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นด้วยความรุนแรงหรือมีการใช้กล้ามเนื้อที่มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติส่งผลให้เส้นเอ็นกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดได้
4.เส้นเอ็นหย่อนยาน คือ อาการที่เวลาที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแล้ว มีความรู้สึกหรือได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของกระดูกที่ส่วนของข้อไหล่ แต่ว่าในช่วงแรกอาจจะไม่มีอาการปวดไหล่เกิดขึ้น แต่ถ้าปล่อยไว้ในระยะเวลานานอาจจะทำให้เกิดอาการปวดไหล่ได้
อาการปวดไหล่ที่พบมักจะเป็นการปวดไหล่แบบค่อยเป็นค่อยไป คือจะมีอาการปวดไหล่เกิดขึ้นที่ละเล็กละน้อยจนบางครั้งผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือปวดเพียงชั่วครู่อาการดังกล่าวก็จะหายไป แต่เมื่อมีการสะสมหรือเกิดอาการปวดเป็นระยะเวลายาวนานโดยที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแล้ว อาการปวดไหล่จะสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยได้
อะไรคือสาเหตุของการบาดเจ็บที่ไหล่
1.ภาวะที่ข้อไหล่มีการหลุด
เกิดจากการที่กระดูกต้นแขนมีการเคลื่อนตัวหลุดออกมาจากเบ้าโดยมีการเคลื่อนตัวจากด้านหลังมาทางด้านหน้ามากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการที่โดนกระแทกด้วยความรุนแรงจากด้านหลังทำให้กระดูกเกิดการเคลื่อนตัว ส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดที่หัวไล่เป็นอย่างมากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ หัวไหล่จะมีอาการบวมแดงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
ในการรักษาจะสามารถบอกอย่างละเอียดด้วยการเอ็กซเรย์ เพื่อดูว่ากระดูกมีการเคลื่อนที่อย่างไรและมีการแตกหักของกระดูกเกดขึ้นหรือไม่ เมื่อแพทย์ทราบว่ากระดูกมีการเคลื่อนไปอย่างไรก็จะทำการดึงกระดูกต้นแขนให้เข้าที่เหมือนเดิม และทำการพันต้นแขนเพื่อลดการเคลื่อนไหวของหัวไหล่แบบชั่วคราว พร้อมทั้งกินยาแก้อักเสบและยาแก้ปวด
2.ภาวะเอ็นหัวไหล่เกิดการอักเสบหรือมีการฉีกขาดของเอ็น
ภาวะเอ็นหัวไหล่เกิดการอักเสบหรือฉีกขาดจะพบมากในผู้ป่วยที่มีอายุสูง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผู้สูงอายุจะมีการใช้งานถุงน้ำดีมากทำให้ถุงน้ำดีมีสภาวะเสื่อมสภาพจึงเกิดการอักเสบได้ง่าย หรือในคนที่มีการเล่นกีฬาที่ต้องให้แรงจากหัวไหล่อย่างมาก เอ็นอักเสบจะมีอาการปวดชนิดเฉียบพลันและมีความรุนแรงที่สูงมาก เมื่อทำการกดบริเวณไหล่จะ รู้สึกเจ็บเป็นบางจุด หรือในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการชนิดเรื้อรังซึ่งการอักเสบชนิดเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและกว่าที่จะรู้ตัวก็ทำให้แขนไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติแล้ว
3.สภาวะเยื่อหุ้มที่บริเวณข้อไหล่เกิดการอักเสบ
เกิดจากความเสื่อมของการใช้งาน ทำให้เยื่อหุ้มเกิดการเสียดสีจนทำให้เยื่อหุ้มมีการฉีกขาด ซึ่งการฉีกขาดจะเกิดขึ้นจากแผลเล็ก ๆ และค่อย ๆ ขยายจนส่งให้เกิดการอักเสบชนิดรุนแรงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บที่หัวไหล่เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือใช้งานหัวไหล่
4.อาการปวดกล้ามเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ
เกิดเนื่องจากการมีพังผืดที่บริเวณกล้ามเนื้อขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บลึกภายในกล้ามเนื้อที่มีพังผืดเกิดขึ้น ซึ่งเมือมีอาการชนิดรุนแรงผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ และยังมีอาการปวดร้าวไปทั้งตัวด้วย การเกิดพังผืดที่กล้ามเนื้อจะค่อยเกิดขึ้นที่ละน้อย ทำให้สั่งเกิดได้ยากว่ามีพังผืดเกิดขึ้นแล้วหรือยัง และยังไม่ทราบด้วยว่าพังผืดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
5.สภาวะเส้นประสาทเกิดการฉีกขาด
เกิดจากาการที่รับอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดึง การกระแทกกับส่วนของหัวไหล่ ทำให้หัวไหล่มีการเคลื่อนที่อย่างผิดปกติ ส่งผลให้เส้นประสาทที่อยู่บริเวณดังกล่าวหรือบริเวณใกล้เคียงกับส่วนที่ได้รับการกระแทกมีการฉีกขาด ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดร้าวเกิดขึ้นกับเส้นประสาทและส่วนของกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นประสาทด้วย กล้ามเนื้อของผู้ป่วยจึงอ่อนแรง มีการลีบตัวลงและเล็กลงตามมาในภายหลัง
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
6.หัวไหล่ยึดหรือเกิดการแข็งตัว
ข้อนับเป็นส่วนที่ช่วยสร้างความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว แต่ถ้าข้อไหล่มีการอักเสบ กล้ามเนื้อล้า และเกิดพังผืดขึ้น จะส่งผลให้เวลาที่หัวไหล่มีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวดเกิดขึ้น และแขนจะทำการเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ เช่น การเท้าสะเอว การยกแขนไขว้ไปด้านหลัง การยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างติดขัด การรักษาสามารถรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนาน ในตอนแรกผู้ป่วยจะมีการปวดที่หัวไหล่ตอนที่ทำการขยับหัวไหล่ การนอนที่ต้องนอนทับแขนหรือหัวไหล่ข้างที่มีการยึด การป้องกันอาการข้อยึดสามารถทำด้วยการเคลื่อนไหวหัวไหล่อยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหวในท่าที่ถูกต้องจะลดอาการหัวไหล่ยึดได้
พบว่าอาการเจ็บปวดที่พบได้บ่อยกับส่วนของหัวไหล่นั้นจะเป็นอาการที่ไม่ค่อยแสดงอาการในช่วงแรกที่เริ่มเป็นแล้ว แต่ว่าเมื่อผู้ป่วยรู้ว่าเกิดการบาดเจ็บที่หัวไหล่ก็ต่อเมื่ออาการดังกล่าวอยู่ในขั้นที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง ยากต่อการรักษาและส่งกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน การทำงาน การนอน เรียกว่าสร้างผลกระทบกับผู้ป่วยตลอดเวลาเลย ดังนั้นทางที่ดีการป้องกันหรือดูแลหัวไหล่ก่อนที่จะมีอาการเรื้อรังจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน
วิธีการรักษาและดูแลอาการปวดไหล่ที่เกิดขึ้นแบบชนิดเฉียบพลันตัวตนเอง
1.การประคบเย็น
เมื่อมีอาการปวดที่บริเวณหัวไหล่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้หายไปเอง เพราะบางครั้งกว่าจะหายใช้เวลานานและจะนานขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหัวไหล่เกิดขึ้นให้ทำการประคบเย็น คือ การประคบด้วยผ้าห่อน้ำแข็งหรือผ้าที่เย็นจัด นำมาประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 15-30 นาทีต่อครั้ง และควรทำวันละ 2-3 ครั้ง การประคบเย็นจะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดออกในบริเวณดังกล่าว ผู้ป่วยก็ควรลดการใช้งานของหัวไหล่ให้น้อยลงอาการปวดจะได้หายเร็วขึ้น
2.การประคบร้อน
การประคบร้อนจะทำหลังจากที่ทำการประคบเย็นมาแล้ว 3 วัน ด้วยการนำผ้าชุบน้ำอุ่นหรือกระเป๋าน้ำร้อนมาประคบที่บริเวณที่เคยทำการประคบเย็น การประคบร้อนจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและเป็นการผ่อนคลายความ เครียดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวด้วย การประคบร้อนควรประคบครั้ง 5- 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เช่นเดียวกับการประคบเย็น
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
3.การรับประทานยา
บางครั้งการปวดก็สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วยจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ดังนั้นผู้ป่วยสามารถกินยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล ได้แต่ว่าถ้ากินแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพราะว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นอาจจะมีสาเหตุที่รุนแรงมากก็ได้
4.การทำกายภาพบำบัด
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการกาบภาพบำบัดมีความลำหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้การทำการกายภาพบำบัดสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดและสามารถฟื้นฟูให้หัวไหล่กลับมาแข็งแรงได้ดังเดิม แต่ว่าการทำการภาพบำบัดนั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลหรือคำแนะนำของผู้เชี่ยว
การดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการปวดไหล่
การรักษาอาการปวดไหล่ด้วยตนเองเป็นการดูแลในช่วงเวลาที่มีอาการปวดขึ้นมาแล้ว แต่ว่าวิธีการที่ดีก็คือการออกกำลังกายเพื่อให้หัวไหลมีความแข็งแรง จะช่วยลดความเสี่ยงในการปวดหัวไหล่ได้มาก ซึ่งการออกกำลังกายสำหรับหัวไหล่มีดังนี้
1.การแกว่งแขน
เริ่มจากการทำแขนข้างที่ไม่ปวดมาจับยึดกับโต๊ะ ทำการก้มตัวลงเล็กน้อย แล้วทำการแกว่งแขนไปข้างหน้าและหลังสลับกันช้า ๆ ครั้งละ 5 นาที ทำซ้ำข้างละ 3 รอบ ถ้าแขนมีอาการปวดอยู่ก็ให้ใช้แขนข้างที่ไม่ปวดยึดกับโต๊ะ ส่วนแขนข้างที่ปวดให้ทำการแก่วงก็จะช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน
2.การยกไหล่ขึ้นลง
เริ่มจากยืนตรง กางเท้ากว้างเท่ากับหัวไหล่ เหยียดแขนตรงแนบลำตัว ทำการยกหัวไหล่ขึ้น-ลง ช้า ๆ ทำครั้งละ 5 นาที ทำซ้ำ 3 รอบ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่อยู่สามารถทำได้แต่ต้องทำช้า ๆ มากและถ้ารู้สึกปวดมากก็ควรหยุดในทันที [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
3.การยกกระบอง
ท่าเตรียมให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ มือทั้งสองข้างจับไม้กระบองหรือไม้พลองขนาดพอดีมือ เหยียดแขนไปข้างหน้าพร้อมทั้งจับไม้และยกไม้ขึ้นเหนือศีรษะ ลดแขนลงให้อยู่ในระดับหน้าอก ครั้งละ 10 ทำซ้ำ 3 รอบ
อาการปวดไหล่เนื่องจากกระดูกหัวไหล่หัก
อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับหัวไหล่ นอกจากอาการที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่กล้ามเนื้อ ยังมีอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกระดูที่เป็นที่มาของความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลันและมีความรุนแรงสูงมากกับร่างกาย นั่นคือ อาการกระดูกหัก ซึ่งการกระดูกหักที่เกิดขึ้นได้กับส่วนของหัวไหล่มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนคือ
1.การหักของกระดูกไหปลาร้า
กระดูกไหปลาร้าสามารถหักได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตกจากที่สูง อุบัติเหตุที่ข้อหรือหัวไหล่ได้รับแรงกระแทกที่มีความรุนแรง เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีอาการกระดูกหักจะทำให้ผิวหนังมีสีเขียวคล้ำและมีอาการปวดมาก
2.การหักของกระดูกส่วนต้นแขนและต้นคอ
เกิดขึ้นเมื่อมีการล้มที่ข้อศอกหรือมือต้องยันกระทบกับพื้น และการได้รับแรงกระแทกที่รุนแรงที่ส่วนของหัวไหล่ ทำให้มีอาภาวะเลือดออกมากจนบริเวณส่วนของต้นแขนมีสีเขียวซ้ำจนถึงข้อศอก ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับความเจ็บปวดที่รุนแรงเช่นเดียวกับการที่กระดูกไหปลาร้าหัก
การที่กระดูกหักสามารถทำการตรวจว่ากระดูกส่วนใดหักด้วยการเอกซเรย์กระดูก และทำการดึงกระดูกให้เข้ารูป พร้อมทั้งทำการเข้าเฝือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้หยุดการเคลื่อนไหวของกระดูกส่วนที่หัก เพื่อที่กระดูกส่วนนั้นจะได้ทำการประสานต่อกันเหมือนเดิม ซึ่งการเข้าเฝือกนี้จะใส่อยู่ประมาณ 1-2 เดือน กระดูกก็จะประสานเป็นเนื้อเดียวกันและกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
การดูแลสำหรับผู้ป่วยที่หัวไหล่และข้อยึด
การรักษาโรคข้อยึดสามารป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้หรือลดอาการข้อยึดให้บรรเทาลงได้ด้วยการเคลื่อนไหวหัวไหล่อยู่เป็นประจำและอีกวิธีหนึ่งก็คือการออกกำลังกาย ด้วยท่าดังนี้
1.การชักรอก
ท่าชักรอกเป็นท่าที่ช่วยให้ไหล่เคลื่อนไหวขึ้น ลง ด้วยการใช้เชือกช่วยในการดึงสิ่งของที่หนักพอประมาณ โดยการใช้รอกยึดติดกับผนัง ร้อยเชือกผ่านรอก ด้านหนึ่งผูกติดกับสิ่งของที่มีน้ำหนักพอประมาณ เชือกที่ด้านให้มือดึงลงและปล่อยมือ ดึงขึ้นลงครั้งละ 30 รอบ ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
2.แกว่งแขน
เริ่มจากการก้มตัวเล็กน้อย มือถือลูกตุ้มหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม แกว่งแขนไปข้างหน้าช้า ๆ ชักแขนกลับมาด้านหลังช้า ๆ ทำสลับกันจนครบ 20 รอบ ทำซ้ำ 2-3 รอบ
3.โน้มตัวเข้าหาฝาผนัง
เริ่มจากการยืนห่างจากผนังหนึ่งช่วงแขน ยกมือขึ้นดันฝาผนัง ค่อย ๆ กดแขนลงจนกระทั้งข้อศอกแนบกับผนัง แล้วค่อย ๆ ดันแขนให้ยืดขึ้น เข้าสู่ท่าเริ่มต้น ทำสลับกัน 20 รอบ ทำซ้ำ 2-3 รอบ
4.การเล่นกีฬา
นอกจากการออกกำลังกายตามท่าที่กล่าวมาด้านต้นแล้ว การเล่นกีฬาที่ต้องอาศัยหัวไหล่ในการเล่นก็นับว่าเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันและลดการเกิดข้อยึดได้ เช่น การเล่นเทนนิส การเล่นบาส การว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ว่าการออกกำลังกายที่เหมาะสมควรออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หนักจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้
การดูแลป้องกันตัวเองจากอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ว่าบางครั้งอาการปวดก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องการ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องกระทำคือการรักษา แพทย์จะทำการตรวจ ซักถามและทำการเอกซเรย์เพื่อดูว่ามีความผิดปกติใดเกิดขึ้นบ้าง มีพังผืด มีการหักของกระดูก เพื่อที่จะได้ให้ยา การเข้าเฝือก และการให้ยากับผู้ป่วย เมื่อรักษาทางการแพทย์เสร็จแล้ว การเคลื่อนของผู้ป่วยอาจจะยังไม่เหมือนปกติ ต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฟื้นฟูหัวไหล่ให้กลับมาทำงานได้เป็นปกติ การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักการทำกายภาพบำบัดต้องอยู่ในสายตาของผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในขณะที่ทำกายภาพบำบัด
[adinserter name=”sesame”]
การทำกายภาพบำบัดมีอะไรบ้าง?
1.การประคบร้อน เพื่อลดอาการปวดและอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อด้วยความร้อน ซึ่งการประคบร้อนสามารถทได้ด้วยตนเอง
2.การประคบเย็น เพื่อลดอาการปวดเช่นเดียวกับการประคบร้อนแต่เป็นการลดการอักเสบของกล้ามเนื้อด้วยความเย็น
3.การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะสำหรับนักกายภาพบำบัดใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีพังผืดที่กล้ามเนื้อ
4.การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยให้มีความเจ็บปวดน้อยลง และยังช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกิดการคลายตัวได้ด้วย
5.การออกกำลังกาย ด้วยท่าทางที่ถูกต้องตามหลักการออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการแนะนำและจัดการท่าที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำได้อย่างถูกต้องและสามารถกลับไปทำเองที่บ้านได้
หัวไหล่เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากส่วนหนึ่งของร่างกาย เพราะเป็นอวัยวะที่เราต้องใช้งานอยู่ทุกวัน ดังนั้นเราควรดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการอักเสบที่เป็นที่มาของอาการปวด ซึ่งทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันมีอุปสรรค ไม่คล่องตัวอย่างที่ควรเป็น วันนี้คุณดูแลหัวไหล่ดีแล้วหรือยัง?
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
สุรศักดิ์ ศรีสุข. ปวดไหล่ : พิมพ์ครั้งที่ 7 : กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2560. 48 หน้า
นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า.
https://www.medicinenet.com/shoulder_pain_facts/article.html