ปัญหาโรคติดเกม จัดการอย่างไรดี
โรคติดเกม เป็นอาการทางจิตที่รุนแรงและต้องได้รับการบำบัดรักษาเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเกมออนไลน์ หรือ วิดีโอเกม

ติดเกม

โรคติดเกม (Gaming disorder) คือ อาการทางจิตที่รุนแรงและต้องได้รับการบำบัดรักษาเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเกมออนไลน์ หรือ วิดีโอเกม

สาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกม

1. การเลี้ยงดูในครอบครัว
2. ขาดกฎระเบียบกติกาในบ้าน
3. ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทำ หรือ ไม่มีกิจกรรมที่ทุกคนทำร่วมกัน
4. พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคุมเด็กหรือมองไม่เห็นความจำเป็นของการจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็ก
5. ปัจจัยในตัวเด็ก เช่น เหงา อยากมีเพื่อน เครียด

พฤติกรรมการติดเกม

1. เมื่อต้องหยุดเล่นหรือถูกขัดจังหวะ จะรู้สึกโกรธ และหงุดหงิดฉุนเฉียวอย่างรุนแรง แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
2. แยกตัวออกจากสังคม ตัดขาดจากโลกภายนอก เลือกที่จะใช้เวลาอยู่หน้าจอมากกว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง
3. ละเลยความรับผิดชอบ การเรียน การทำงาน ตลอดจนกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ
4. คิดและหมกมุ่นอยู่แต่กับการเล่นเกม วางแผนเพื่อที่จะเอาชนะในการเล่นเกมครั้งต่อไป จะโมโหฉุนเฉียวมากถ้าเล่นเกมแพ้
5. ไม่สามารถหยุดเล่นได้ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างมาก พยายามและดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้ได้เล่นเกม
6. ไม่ยอมรับความจริงว่าตนเองมีปัญหาติดเกม
7. ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ
8. พูดโกหก หรือขโมยเงินเพื่อเอาไปเล่นเกม ไม่ยอมไปโรงเรียน หรือเล่นจนกลายเป็นการติดการพนันในที่สุด

ลักษณะของเกมออนไลน์ในปัจจุบัน

1. ท้าทาย ชวนให้แข่งขัน
2. มีขั้นตอน ได้รับรางวัล เมื่อทำภาระกิจสำเร็จ
3. มีการสวมบทบาทสมมติในเกม โดยไม่ต้องเปิดเผยว่าเป็นใคร
4. เล่นกันเป็นกลุ่มได้ เล่นด้วยกันได้ ชวนกันเล่นได้

ผลเสียจากการติดเกม

1. น้ำหนักเกิน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดข้อมือหรือข้อศอก เส้นเอ็นและปลายประสาทอักเสบ ไม่สนใจดูแลตนเอง
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ทำงานลดลง
3. ยากอยู่เงียบๆ คนเดียว เก็บตัว ละเลยการเข้าสังคม ไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
4. หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห โวยวาย พูดจาหยาบคาย ก้าวร้าว รุนแรง สมาธิสั้น ต่อต้าน ซึมเศร้า วิตกกังวล ลักขโมย
5. เวลานอนหลับไม่เพียงพอและขาดคุณภาพ อ่อนเพลีย
6. การควบคุมยับยั้งตนเอง การควบคุมอารมณ์ ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาลดลง สมาธิสั้น
7. อาจจะมีการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงจากเกมได้
8. รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ไม่อยากอาหาร เพราะอยากเอาเวลาไปเล่นเกมมากกว่า และใช้สารเสพติด
9. ปวดตา มองเบลอ ไม่ชัด มีปัญหาสายตาสั้นเทียม นำไปสู่ปัญหาสายตาสั้นจริง
10. ร่างกายไม่แข็งแรง เนื่องจากไม่ค่อยมีการขยับร่างกาย ไม่ออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นเหมือนเด็กทั่วไป

ข้อดีของการเล่นเกม (ในระยะเวลาที่พอเหมาะ)

1. ฝึกภาษา
2. ฝึกพิมพ์ไว
3. พัฒนาสมอง ฝึกไหวพริบ
4. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
5. เสริมสร้างในการมองเห็นและก็การบังคับสายตา
6. พัฒนาทักษะในการตัดสินใจที่ดี
7. พัฒนาความสัมพันธ์เพื่อนพ้องได้เป็นอย่างดี
8. พัฒนา IQ
9. สร้างรายได้และอาชีพ
10. ลดความเครียด และความกดดันบางอย่าง

วิธีช่วยเหลือเด็กติดเกม

1. ผู้ปกครองควรให้เวลากับเด็กมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กก่อนเริ่มการปรับพฤติกรรม
2. ค่อยๆ ปรับพฤติกรรม ปรับเวลา อย่าสั่งหยุดทันทีทันใด เด็กจะเกิดการต่อต้าน
3. ตกลงกติกา กำหนดเวลาการเล่นเกมที่เหมาะสม ให้ลดลงเรื่อยๆ เด็ดขาด ไม่มีต่อรอง
4. ผู้ปกครอง หากิจกรรมมารองรับ ใช้เวลาร่วมกันให้มากขึ้น
5. สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกม ค่อยๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ
6. หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเด็กติดเกมให้ดีขึ้น ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเปลี่ยนและปรับกันทั้งคู่ ทั้งเด็กและพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง รวมถึงคนรอบข้างที่บ้านและที่โรงเรียน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม