ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestationalhypertension ) เกิดจาสาเหตุอะไร
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเสียชีวิตของมารดาและทารก

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestational hypertension ) คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของมารดาและทารก ประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 20 และ 44 ปี

ประเภทภาวะความดันโลหิตสูง

1. Chronic Hypertension คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ( ก่อน 20 สัปดาห์ ) และยังพบหลังคลอด
2. Gestational Hypertension คือ ภาวะความดันโลหิตสูงหลังจากการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และหายไปหลังคลอด
3. Preeclampsia คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรังขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหลักจาก 20
สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
4. Chronic hypertension with superimposed preeclampsia คือ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และพบภาวะครรภ์เป็นพิษหลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์

สาเหตุของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • คุณแม่เป็นความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคไตก่อนตั้งครรภ์
  • คุณแม่อายุระหว่าง 20 หรือมากกว่า 44 ปี
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่

อาการของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
  • อาการบวมของใบหน้าหรือมือ
  • ปวดบริเวณท้องส่วนบน
  • น้ำหนักขึ้นอย่างเร็ว
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ปวดศีรษะไม่หาย
  • ปวดไหล่
  • ตามัว

การป้องกันของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยสำหรับความดันโลหิตสูงเช่นคุณแม่เป็นโรคอ้วน คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับ
ประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้อาจทำให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ได้

การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • รักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
  • สังเกตอาการต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • ควรไปตามกำหนดหมอนัดทุกครั้ง

คำแนะนำ

หากคุณแม่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ให้รีบแจ้งแพทยท์ผู้ทำการรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณ ช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์สุขภาพแข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม