การปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) ทำครั้งเดียวสร้างเส้นผมใหม่ที่ถาวร

0
4422
การปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation (FUT) ทำครั้งเดียวสร้างเส้นผมใหม่ที่ถาวร
การปลูกผมแบบ (FUT) คือ เทคนิคมาตรฐานในการทำศัลยกรรมปลูกผม เป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก ด้วยการนำเอาผมตรงท้ายทอยมาปลูกบริเวณที่ต้องการ
การปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation (FUT) ทำครั้งเดียวสร้างเส้นผมใหม่ที่ถาวร
การปลูกผมแบบ (FUT) คือ เทคนิคมาตรฐานในการทำศัลยกรรมปลูกผม เป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก ด้วยการนำเอาผมตรงท้ายทอยมาปลูกบริเวณที่ต้องการ

ปลูกผม Follicular Unit Transplantation ( FUT )

การปลูกผมด้วยวิธี Follicular Unit Transplantation หรือเรียกแบบง่ายๆว่า การปลูกผม FUT วิธีการแบบนี้จะเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการศัลยกรรม  จะใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของการมีศีรษะล้าน  ผมร่วงรุนแรง  หรือผมบางที่มีแนวโน้มว่ากำลังจะกลายเป็นคนศีรษะล้าน  ในกรณีนี้ศัลยแพทย์  จะเป็นผู้เสนอแนะวิธีรักษาด้วยการ ปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) สำหรับผู้เข้ารับการรักษาที่มีปัญหาศีรษะล้านหรือผมบางในบริเวณที่ค่อนข้างใหญ่  และมักจะเป็นการรักษาที่เกิดในกรณีศีรษะล้านอย่างแท้จริง  ซึ่งรูขุมขนอันเป็นที่อยู่ของเซลล์รากผมได้เปลี่ยนสภาพจนคล้ายผิวหนังในส่วนอื่นๆของร่างกายไปแล้ว 

วิธีการทำ FUT หลังจากแพทย์ประเมินความพร้อมของผู้เข้ารับการรักษาแล้ว  แพทย์จะทำการวางยาสลบ  ฉีกยาชา  และเริ่มลงมือผ่าตัดเนื้อบริเวณเหนือท้ายทอย ซึ่งประเมินแล้วว่าเป็นบริเวณที่มีผมหนาที่สุด  แพทย์จะผ่าตัดด้วยการกรีดเพียงตื้นๆ เนื่องจากต้องการแค่ส่วนของผิวหนังที่มีเซลล์รากผมเท่านั้น ขนาดแผลที่กรีด กว้าง 1- 4 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 10-20 เซนติเมตร    หลังจากกรีดแผลเสร็จก็ใช้ตะขอขนาดเล็ก  เกี่ยวเอาเนื้อส่วนผิวหนังออก หลังจากนั้นก็ทำการดึงรั้งผิวหนังศีรษะในลักษณะบนล่าง  เพื่อเย็บปิดแผลผ่าตัดที่เกิดขึ้น

หลังจากนั้น  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการหั่นกราฟ  ซึ่งเป็นวิธีการแล่หนังศีรษะออกเป็นแผ่นบางๆ และจากแผ่นบางๆก็จะถูกแบ่งต่อเป็นกอ  ซึ่งก็คือส่วนของเซลล์รากผมนั่นเอง ขั้นตอนนี้  แพทย์จะทำงานผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขายสูง 10เท่า ใน 1 เซลล์รากผมจะประกอบไปด้วยเส้นผมตั้งแต่ 1-4 เส้น แพทย์มักจะเลือกใช้เซลล์รากผมที่มีจำนวนเส้นผมใน 1 ถุงมีผมประมาณ 2-3 เส้น  ถือได้ว่าเป็นอัตราที่เหมาะ  ในขณะที่บางเซลล์มีเส้นผม 4 เส้น  แต่นั่นอาจไม่ใช่สัญลักษณ์ที่ดีนั้นสำหรับการคัดเลือกมาปลูกถ่ายให้คนไข้  เนื่องจากเวลารากผมที่มีเส้นผม 4 เส้น  มักเป็นฟอร์มของเส้นผมที่จะมีโอกาสหลุดร่วงสูงมาก 

เมื่อแยกแล้วเซลล์รากผมทั้งหมดจะถูกแช่เอาไว้ในน้ำยารักษาสภาพ  เพื่อให้เซลล์ทุกชิ้นยังมีชีวิต  และทำงานได้ทุกเซลล์  หลังจากนั้นก็จะนำไปทำการปลูกถ่ายลงในผิวหนังในจุดที่ต้องการ

การปลูกถ่ายลงในผิวหนังบริเวณที่เป็นปัญหา  แพทย์จะฉีดยาชาในบริเวณนี้  ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการเจาะรูที่ผิวหนังบริเวณที่เป็นปัญหา เมื่อหนังศีรษะเริ่มชา  แพทย์จะทำการฉีดยาห้ามเลือดเพิ่มเข้าไปในน้ำเกลือ  เมื่อโดนยาตัวนี้  หนังศีรษะของเราจะเริ่มพองตัว  เพราะเลือดคั่ง  เมื่อผ่านไปสักพักหนึ่ง  แพทย์จะเริ่มทำกรเจาะรูเพื่อปลูกถ่ายเซลล์รากผม  ลงบนหนังศีรษะในบริเวณที่ต้องการ  ระหว่างที่เจาะรูบนหนังศีรษะแพทย์ก็จะหนีบเอาเซลล์รากผมลงไปใส่ในรูที่เจาะไว้  ใส่ไปทีละเซลล์จนกระทั่งเสร็จ  หลังจากนั้น ก็เป็นขั้นตอนของการดูแลหลังการรักษา

ผลข้างเคียงจากการปลูกผม Follicular Unit Transplantation ( FUT )

ในช่วงแรกที่เพิ่งทำเสร็จ  ผู้เข้ารับการรักษาอาจจะมีอาการหน้าผากบวม  เพราะแผลอักเสบ  หรืออาจจะเกิดอาการชาบริเวณที่ ปลูกผม  ซึ่งเป็นอาการจากผลข้างเคียงในการทำ  ที่ไม่ได้เป็นอันตรายกับร่างกาย  และอาการเหล่านี้  จะหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์  และจะกลับมาเป็นปกติในที่สุด  และผู้เข้ารับการรักษาสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ  และหลังจากครบ 24 ชั่วโมง  ก็เริ่มสระผมได้  และควรจะสระทุกวัน เพื่อรักษาความสะอาดของหนังศีรษะ  ป้องกันการติดเชื้อ  บางแห่งอาจจะดูแลผู้บ่อยที่เดินทางไปมาสะดวก  ด้วยการมีบริการสระผมให้ประมาณ 5-7 วันแผลก็จะหายสนิท

หลังผ่าตัดปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT )

คุณหมอจะสอนวิธีปฏิบัติตัวในการดูและรักษาแผลหลังผ่าตัด  ซึ่งถ้าผู้เข้ารับการรักษาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  แผลต่างๆก็จะหายและกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น

หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์  เส้นผมที่ติดอยู่ในเซลล์รากผมเดิม  จะหลุดร่วงแทบทั้งหมด  และภายใน 3-4 เดือน เส้นผมใหม่จึงเริ่มงอกขึ้นมา  และมีสภาพและอัตราการเจริญเติบโตเท่ากับผมปกติทุกประการ  เมื่อได้ความยาวพอที่จะตัดให้เป็นทรงที่เหมาะสมได้  ผู้เข้ารับการรักษาก็ควรตัดผมสักครั้ง  เพื่อปรับให้ผมทั้งหมดอยู่ในรูปทรงที่สวยงามกลมกลืนตามธรรมชาติ  ซึ่งนั่นหมายถึงกระบวนการรักษาได้เสร็จสิ้นลงแล้ว  เส้นผมใหม่ที่เกิดขึ้นจะเป็นเส้นผมที่อยู่คงทนตลอดไป

ข้อสำคัญของการผ่าตัด ปลูกผม แบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) นั่นคือขั้นตอนของการผ่าตัดเพื่อเอาเซลล์รากผมออกมาและการเย็บปิดแผลผ่านั้นให้สนิท  ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กังวลเพราะรอยแผลค่อนข้างกว้างและยาวพอสมควร  แม้แพทย์จะยืนยันว่าแผลเหล่านี้จะปิดสนิทและมองไม่เห็นจากภายนอก  แต่รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก และอาจสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้เข้ารับการรักษาได้มากและนานระยะหนึ่ง

ดังนั้นเมื่อวิธีการ ปลูกผม Follicular Unit Transplantation ( FUT ) สร้างรอยแผลเป็นบริเวณศีรษะที่น่ากลัวเกินไปสำหรับใครบางคน  จึงได้มีการคิดค้นวิธีการ ปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของรอยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) ได้อย่างดีเยี่ยม  เพราะวิธีการใหม่นี้  ไม่ต้องใช้การกรีดผิวหนังเพื่อสร้างรอยแผล  แต่เป็นการเจาะลงไปตรงที่บริเวณเซลล์รากผมโดยตรง  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการศัลยกรรมปลูกผมที่ไม่สร้างรอยแผลใดใดให้กับผู้เข้ารับการรักษาทั้งสิ้น  แต่ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่วิธีการใหม่นี้จะใช้ระยะเวลาในการทำค่อนข้างนาน  ซึ่งผู้รับการรักษาอาจจะต้องเสียเวลามากจนเกินไป

ปลูกผม FUE Vs FUT อันไหนดีกว่ากัน

ไม่ว่าจะเป็นการ ปลูกผม แบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) หรือแบบใหม่อย่าง Follicular Unit Extraction ( FUE ) จะเห็นได้ว่า  ทุกขั้นตอนไม่ได้มีการสร้างอันตรายให้กับผู้เข้ารับการรักษาแม้แต่น้อย  และเป็นการรักษาที่พึ่งพากระบวนการต่างๆของร่างกาย  ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  ซึ่งแน่นอนว่ามันย่อมไม่ส่งผลร้ายใดใดต่อร่างกายอย่างแท้จริง

ข้อดีที่น่าสนใจของการผ่าตัดแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) คือเกิดกระบวนการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว  จะสามารถ ปลูกผม ได้สูงสุดถึง 4,000 เส้น ด้วยระยะเวลาในการทำที่สั้นกว่า และเป็นการผ่าตัดที่ไร้ความเสี่ยงที่อาจก็ให้เกิดอันตรายร้ายแรงโดยสิ้นเชิง  ทั้งนี้  ต้องขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์ที่เป็นผู้ให้การรักษาว่าจะมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะจัดการกับทุกความเสี่ยงได้อย่างยอดเยี่ยม  ซึ่งสิ่งเหล่าต้องเกิดประสบการณ์ในการรักษาที่สะสมมายาวนานระยะหนึ่งเท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“New technique changing eyes from brown to blue sparks debate”, Chencheng Zhao. Medill Reports Chicago, Northwestern University. March 8, 2016. Retrieved 5 feb 2017

Uhr, Barry W. History of ophthalmology at Baylor University Medical Center. Hi Proc (Bayl Univ Med Cent). 2003 October; 16(4): 435–438. PMID 16278761

Maguire, Stephen. “Laser Eye Surgery”. The Irish Times. “Laser Eye Surgery Suitability”. Optical Express.