การตรวจเช็คร่างกายได้ถึงระดับสารชีวโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อผิวพรรณอ่อนเยาว์อย่างยั่งยืน

0
3421
การตรวจเช็คร่างกายได้ถึงระดับสารชีวโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อผิวพรรณอ่อนเยาว์อย่างยั่งยืน
การดำรงชีวิตในสังคมที่มีแต่ความเร่งรีบ การแข่งขันทำให้เกิดความเครียดส่งผลต่อเนื่องมาสู่สุขภาพกายที่อ่อนแอ
การตรวจเช็คร่างกายได้ถึงระดับสารชีวโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อผิวพรรณอ่อนเยาว์อย่างยั่งยืน
ออกซิเจนที่บริสุทธิ์เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตรวจเช็คร่างกาย

การ ตรวจเช็คร่างกาย ได้ถึงระดับสารชีวโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ ระดับวิตามินและแร่ธาตุ เพื่อผิวพรรณอ่อนเยาว์อย่างยั่งยืน
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์หลายล้านเซลล์ เซลล์แต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งถ้าการทำงานของเซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายของเราผิดปกติ ไม่ว่าจะทำงานมากเกินความจำเป็นหรือทำงานงานกว่าความต้องการของร่างกาย ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรคร้ายในอนาคต

การทำงานของเซลล์จะมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพความสมบูรณ์ ที่สามารถส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงได้นั้นก็ต่อเมื่อร่างกายมีองค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง

ปัจจัยการทำงานของเซลล์ที่มีประสิทธิภาพมี 4 ขั้นตอน

1.ออกซิเจนที่บริสุทธิ์เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ออกซิเจนเป็นสิ่งมีชีวิตทุกชนิดขาดไม่ได้ เพราะถ้าร่างกายมีภาวะขาดออกซิเจนแล้วย่อมมีความเสี่ยงในการเสียชีวิต เนื่องจากออกซิเจนเป็นตัวที่ช่วยในการเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าร่างกายขาดออกซิเจนแล้วปฏิกิริยาภายในร่างกายก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

2.ร่างกายปราศจากสารพิษ

ทุกวันร่างกายของเราจะได้รับสารพิษอยู่ตลอดเวลา ทั้งสารพิษที่ได้รับจากภายนอก เช่น มลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ ทางอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องโดยที่เราอาจจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้รับสารพิษเข้าไป และสารพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของระบบภายในร่างกายเอง แต่ทว่าปกติแล้วร่างกายของเราจะมีกระบวนการขับสารพิษเหล่าออกมาจากร่างกายอยู่แล้ว ทั้งการหายใจออก การถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ทุกอย่างล้วนเป็นการขับสารพิษทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งการขับสารพิษจะเกิดอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับน้ำสะอาดและอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

3.โภชนาการที่สมดุล

ร่างกายของมนุษย์คงอยู่ได้ด้วยการทำงานของเซลล์ที่อยู่ภายในร่างกาย การทำงานของเซลล์จะมีประสิทธิภาพที่ดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่บริโภคเข้าไป โดยที่ร่างกายในภาวะปกติจะมีความต้องการอาหารประเภทผัก ผลไม้ นมซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่างเข้าสู่ร่างกายร้อยละ 80 และต้องการอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไขมัน คาร์โบไอเดรตซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดเพียงแค่ร้อยละ 20 ของปริมาณสารอาหารที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งการรับประทานอาหารจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ เช่น วิตามิน เกลือแร่ แร่ธาตุ กรดอะมิโน โปรตีน เป็นต้น สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองมีมากถึง 46 ชนิดด้วยกัน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เราจะได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไปในแต่ละวัน ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่สมดุลจึงมีความสำคัญมากในการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง เพราะถ้าเราได้รับสารอาหารที่ไม่ครบตามความต้องการของร่างกาย ก็จะส่งผลให้เซลล์มีการทำงานที่ผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ 

4.การมีสุขภาพจิตที่ดี

การดำรงชีวิตในสังคมที่มีแต่ความเร่งรีบ การแข่งขันทำให้เกิดความเครียดส่งผลต่อเนื่องมาสู่สุขภาพกายที่อ่อนแอ เนื่องจากความเครียดที่เกิดขึ้นจะทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายผิดปกติได้เช่นเดียวกับการได้รับสารพิษและออกซิเจนไม่ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องดูแลสุขภาพจิตให้ดีควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพกาย

การที่เราจะมีชีวิตที่อายุยืนยาวและปราศจากโรคแล้ว การปฏิบัติตามทั้ง 4 ปัจจัยจะต้องครบถ้วนทั้งปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย มีออกซิเจนที่บริสุทธิ์อย่างเพียงพอ มีการดื่มน้ำสะอาดและอาหารที่ช่วยล้างสารพิษออกมาจากร่างกายได้ดี และเมื่อเรามีสุขภาพกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้วสุขภาพจิตย่อมเข้มแข็งตามไปด้วย

แต่สำหรับสภาวะสังคมในปัจจุบันที่คนส่วนมากต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบไปเสียทุกอิริยาบถ การที่เราจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนย่อมเป็นไปได้ยาก ทั้งจากค่านิยมการบริโภคอาหาร ค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารในแต่ละมื้อ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นที่มาของความเสื่อมที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน กรดอะมิโน หรือแร่ธาตุบางชนิด ที่มีความสำคัญในการสร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง

ปัจจุบันผู้ที่รักษ์สุขภาพคิดว่าทำการ ตรวจสุขภาพ ประจำปีจะสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยทำการ ตรวจร่างกาย เพื่อตรวจหาความเสี่ยงหรือภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคใดขึ้นบ้างหรือไม่ เช่น การสะสมของไขมันดีและเลว ปริมาณคอเรสเตอรอล เป็นต้น ซึ่งการ ตรวจร่างกาย แบบทั่วไปจะเป็นการตรวจวัดปริมาณสารที่ก่อให้เกิดโรคที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ทำการค้นหาถึงสาเหตุที่ทำให้ปริมาณของสารดังกล่าวว่าเกิดขึ้น ว่าเกิดเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบใด ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงบ่งบอกได้เพียงสถานะการณ์ในปัจจุบันของร่างกายได้หรือบอกว่าจะมีโอกาสเป็นโรคใดก็ต่อเมื่อมีอาการของโรคนั้นแสดงขึ้นมาให้เห็นแล้วเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่มีการสะสมหรืออาการของโรคยังไม่เริ่มแสดงออกมา การ ตรวจร่างกาย ประจำปีก็จะไม่สามารถบอกได้ว่าร่างกายมีความเสี่ยงของโรคบ้าง ซึ่งการที่อาการของโรคได้แสดงอาหารบางส่วนออกมาแล้ว แสดงว่าความเสี่ยงในการเกิดของโรคย่อมสูงขึ้นไปด้วย หรือบางโรคที่ไม่มีอาการเบื้องต้นแสดงออกมาและจะแสดงอาหารให้เรารับรู้ก็ต่อเมื่ออาการของโรคอยู่ในขั้นวิกฤติแล้วเท่านั้น จึงทำการ ตรวจร่างกาย ทั่วไปไม่พบอาการหรือระบุความเสี่ยงในระยะที่สามารถทำการรักษาได้ ดังนั้นจึงมีหลายครั้้งที่ทำการตรวจสุขภาพพบว่าร่างกายปกติดี แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งกลับพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคและความร้ายแรงของโรคก็อยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ในระยะเวลาอันสั้น 

จากปัญหาที่พบรวมกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ต้องการรักษาผู้ป่วยในเชิงบูรณาการ คือ การรักษาที่ต้องการป้องกันการเกิดโรคมากกว่าที่จะรักษาอาหารของโรคที่เกิดขึ้นแล้ว จึงมีการคิดค้นวิธีการ ตรวจสุขภาพ ที่สามารถทำการ ตรวจเช็คร่างกาย แบบความละเอียดและแม่นยำ ซึ่งการตรวจนี้เราจะต้องทำการตรวจถึงระดับโมเลกุลของร่างกายที่นิยมใช้ในการรักษาแบบเวชศาสตร์ชะลอวัย

ทำไมถึงเราต้องทำการตรวจถึงระดับโมเลกุล

อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าการ ตรวจสุขภาพ แบบทั่วไปที่เราตรวจประจำปีเป็นเพียงการตรวจเพื่อดูความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้วภายในร่างกาย แต่ทว่าการตรวจสุขภาพของเวชศาสตร์ชะลอวัยจะทำการตรวจสอบถึงระดับโมเลกุลมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากการตรวจสุขภาพทั่วไป ถึงแม้ว่าการตรวจจะมีลักษณะเบื้องต้นที่เหมือนกันคือ มีการสอบประวัติครอบครัวและการตรวจเลือดเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาก็คือการตรวจระดับโมเลกุล ซึ่งการตรวจระดับโมเลกุลนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การตรวจยีนส์ ( Gene Test ) ซึ่งการตรวจยีนส์นี้มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก และการตรวจเลือดโดยวิธีการสกัดสารพันธุกรรมที่มีอยู่ในเลือดซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้ในการตรวจหาสารก่อมะเร็งบางชนิด

ยีนส์ ( Gene ) เป็นรหัสพันธุกรรมที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ร่างกายของเราทุกคนจะมียีนส์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ภายใน โดยยีนส์ของคนคนเดียวกันจะมีลักษณะที่เหมือนกันทั้งหมดทุกเซลล์ ยีนส์นี้จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่มาสู่ลูก โดยรหัสพันธุกรรมจะขดพันกันเป็นเกลียวอยู่ตรงกลางภายในนิวเคลียสของเซลล์ เราเรียกรหัสพันธุกรรมนี้ว่าว่าสายพันธุกรรม ( DNA ) ซึ่งรหัสพันธุกรรมมีหน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกของร่างกาย เช่น สีผิว สีตา สีผม ความสูง รวมถึงโรคบางชนิดด้วย โดยรหัสพันธุกรรมร้อยละ 99.9 จะมีโครงสร้างที่เหมือนกันทุกคนแต่จะมีเพียงแค่ร้อยละ 0.1 เท่านั้นที่เป็นรหัสพันธุกรรมที่แสดงถึงความแตกต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น

ดังนั้นการตรวจสอบยีนส์ที่มีอยู่ในร่างกายของเราจะทำให้เราทราบทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในร่างกายของเราอย่างละเอียด ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ ระดับวิตามินและแร่ธาตุ ปริมาณกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากเซลล์ของร่างกายก็เปรียบเสมือนสมุดบันทึกที่ทำการจดบันทึกทุกอย่างที่ร่างกายได้รับ ไม่ว่าจะได้รับในปริมาณที่มากหรือน้อย ซึ่งการจดบันทึกของเซลล์จะออกมาในรูปแบบการทำงานของระบบภายในร่างกาย อย่างที่เราทราบกันว่าสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองนั้นมีมากถึง 46 ชนิด ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการกระตุ้นการทำงานของระบบและสร้างฮอร์โมนที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต ( Growth Hormone ) ที่มีหน้าที่ช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายให้มีความแข็งแรง

การตรวจระดับโมเลกุลจะทำการตรวจด้วยการสกัดสารพันธุกรรมที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อที่บริเวณกระพุ้งแก้มด้านในปาก นำไปเข้าทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับจากการตรวจระดับโมเลกุลของเนื้อเยื่อ จะทำให้เราทราบถึงระบบการทำงานภายในของร่างกายของเราอย่างละเอียดทุกอย่าง

ทั้งการทำงานของเซลล์ในระบบทุกระบบว่ามีปกติหรือมีความผิดปกติใดเกิดขึ้น เช่น ระบบการขจัดของเสียออกจากร่างกาย ระบบการเผาพลาญ ระบบการสร้างฮอร์โมน เป็นต้น การตรวจระดับโมเลกุลจะทำให้เราทราบว่าร่างกายมีสภาวะการขาดสารอาหาร วิตามินหรือเกลือแร่ชนิดใดจึงส่งผลให้การทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้นหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคชนิดใดที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม รวมถึงสามารถบ่งบอกได้ว่ายีนส์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกายมีความแข็งแรงหรืออ่อนแอ

ซึ่งเมื่อเราทราบผลตรวจระดับโมเลกุลแล้ว เราสามารถนำผลตรวจที่ได้รับมาทำการวางแผนในการดำเนินชีวิตอย่างได้ผล เพราะผลการตรวจระดับโมเลกุลจะบอกเราว่าร่างกายของเราขาดสารอาหาร วิตามินหรือแร่ธาตุชนิดใด เมื่อเราทราบแล้วเราก็จำเป็นต้องเสริมสารอาหารที่ร่างกายขาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยการแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยที่คนแต่ละคนจะมีปริมาณสารอาหรที่ขาดหรือเกินแตกต่างกันไปตามพันธุกรรมและพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเสริมเข้าไปให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ระบบการทำงานของร่างกายย่อมหลับมามีประสิทธิภาพในการทำงานเหมือนเดิมโอกาสที่ร่างกายจะเกิดความเสื่อมก็ลดน้อยลง โดยเฉพาะระบบการสร้างโกรทฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต การซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นส่งผลให้เซลล์ภายในร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเองให้กลับมามีความแข็งแรง ซึ่งเมื่อเซลล์มีความแข็งแรงแล้วระบบการทำงานภายในย่อมดี ทั้งระบบการขจัดของเสียที่สามารถขจัดของเสียออกจากร่างกายจนหมดไม่ตกค้างจนเกิดเป็นพิษต่อร่างกาย ระบบการเผาพลาญที่สามารถสร้างพลพลังงานส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายกระปรี่กระเปล่าสดชื่น ตื่นขึ้นมาไม่อ่อนเพลีย การสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นของร่างกายที่มีหน้าที่ในการประสานงานการทำงานของทุกระบบให้สามารถทำงานได้อย่างสอดประสานทั้งการหายใจ การกลืนกิน การดูดซึมอาหาร การเต้นของหัวใจ เมื่อระบบทุกอย่างของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ร่างกายของเราก็จะคงสภาพไม่เกิดความเสื่อมซึ่งก็เหมือนกับเราสามารถทำการชะลอวัยไว้ได้ ไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยแม้ว่าอายุจะมากขึ้น แต่ก็ช่วยเหลือตนเองได้อย่างเช่นคนหนุ่มสาว

การตรวจระดับโมเลกุลนี้นอกจากจะทำให้ทราบถึงการขาดสารอาหารของร่างกายแล้ว ยังสามารถบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมได้ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่พิเศษมากอีกอย่างหนึ่งของการตรวจระดับโมเลกุล การที่เรารู้ว่ามีความเสี่ยงของโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาทำให้เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคตได้อย่างถูกต้อง การป้องกันโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนี้สามารถทำได้ด้วยกันปลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดโรคที่ตรวจพบว่าเป็นชนิดใดและสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เช่น คนที่มีการถ่ายทอดโรคเบาหวาน จะต้องปฏิบัติตนเข่นไรถึงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งเมื่อเราปฏิบัติตามแนวทางที่แพทย์ได้ทำการกำหนดไว้ เราก็จะมีโอกาสที่จะไม่ต้องเป็นโรคเบาหวานได้ หรือแม้แต่คนที่มียีนส์มะเร็งเต้านมก็สามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ เพียงแค่ควบคุมอาหารที่จะเข้าไปกระตุ้นยีนส์มะเร็งให้มีการแสดงอาการออกมา การออกกำลังกายที่สามารถป้องกันไม่ยีนส์มะเร็งเจริญเติบโต หรือแม้แต่การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยลดความเสี่ยงและควบคุมไม่ให้ยีนส์มะเร็งสามารถแสดงออกทางพันธุกรรมได้ เพียงเท่านี้ร่างกายก็ไม่ต้องป่วยเป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาแล้ว 

นอกจากระบบภายในของร่างกายแล้ว ลักษณะภายนอกของร่างกายก็จะมีสภาพที่ไม่เสื่อมด้วยเช่นกัน การที่ผิวพรรณเกิดการเหี่ยวย่น เนื่องจากเซลล์ผิวหนังโดนทำลายทั้งจากสารอนุมูลอิสระจากภายนอกและความเสื่อมของร่างกาย ดังนั้นเมื่อระบบการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพสูงจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารเสริมการทำงานของระบบ ทำให้เซลล์ผิวหนังมีความแข็งแรงสามารถป้องกันและฟื้นฟูจากการถูกทำลายของอนุมูลอิสระ เซลล์มีผนังเซลล์ที่แข็งแรงสามารถอุ้มน้ำที่อยู่ภายในไม่ให้เกิดการสูญเสีย จึงส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล แลดูอ่อนเยาว์แม้ว่าอายุจะมากขึ้น

การ ตรวจเช็คร่างกาย ระดับสารชีวะโมเลกุลขนาดเล็กสามารถตรวจสอบปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ ระดับวิตามินและแร่ธาตุ ที่ร่างกายขาดและทำการเสริมสารอาหารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านี้เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบให้ทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคทั้งที่เป็นโรคร้ายแรงและโรคไม่ร้ายแรงในอนาคตอย่างได้ผล ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณอ่อนเยาว์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Stampfer, M., Hu, F., Manson, J., Rimm, E., Willett, W. (2000) Primary prevention of coronary heart disease in women through diet and lifestyle. The New England Journal of Medicine, 343 (1) , 16-23. Retrieved October 5, 2006, from ProQuest database.

Japsen, Bruce (15 June 2009). “AMA report questions science behind using hormones as anti-aging treatment”. The Chicago Tribune. Retrieved 17 July 2009