ประโยชน์ของต้นกระบือเจ็ดตัว พืชสมุนไพรโบราณ
กระบือเจ็ดตัว สรรพคุณ แก้ร้อนใน ถอนพิษไข้ ขับน้ำคาวปลา ขับเลือด บาดทะยักในปากมดลูก แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

ต้นกระบือเจ็ดตัว

ต้นกระบือเจ็ดตัว หรือ ลิ้นกระบือ ( Picara ) คือ ไม้ประดับที่สวยสะดุดตาด้วยใบด่างด้านบนและสีแดงเข้มใต้ใบ นิยมนำมาใช้ตกแต่งสวนปลูกลงดินกลางแจ้งหรือปลูกลงในกระถางก็ได้ เพราะลิ้นกระบือด่างชอบแดดจัดบางคนก็มอบให้เป็นต้นไม้มงคล เนื่องจากดูแลง่าย โตไวยิ่งถ้าปลูกลงดินจะแตกพุ่มสวยงามมากที่สำคัญราคาไม่แพง ทั้งคนรักต้นไม้และคนรักไม้ด่างไม่ควรพลาดหาซื้อลิ้นกระบือ ลิ้นกระบือด่าง และกระบือเจ็ดตัวได้ตามตลาดต้นไม้ทั่วไป

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Excoecaria cochinchinensis Lour. และมีชื่อพ้องคือ Antidesma bicolor Hassk., Excoecaria bicolor ( Hassk. ) Zoll. ex Hassk., E. orientalis Pax & K.Hoffm. , E. quadrangularis Müll.Arg., Sapium cochinchinense ( Lour. ) Kuntze อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae

ชื่อเรียกอื่น : ภาคกลาง เรียก กระบือเจ็ดตัว, กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ, ลิ้นกระบือขาว ภาคเหนือ เรียก บัว, บัวลา, กระทู้, กระทู้เจ็ดแบก หรือต้นลิ้นควาย ตาตุ่มไก่ ตาตุ่มนก กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ ลิ้นกระบือขาว ใบท้องแดง

ลักษณะทั่วไป

ต้นกระบือเจ็ดตัวเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ขนาดพุ่มมีความสูงประมาณ 0.5 – 5 เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก ถ้าปลูกในกระถางจะมีความสูงประมาณ 0.5 -1.5 เมตร แต่ถ้าปลูกลงพื้นดินลำต้นจะมีความสูงมากถึง 5 เมตร กิ่งมีการแตกสาขาออกเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณกิ่งจะมียางสีขาวข้น เปลือกของลำต้นมีสีแดงอมม่วง สามารถทนสภาพแห้งแล้งได้ดี นิยมนำมาปลูกในกระถางสำหรับตกแต่งสวน

ประโยชน์ของต้นกระบือเจ็ดตัว พืชสมุนไพรโบราณ

ใบ : ของต้นกระบือเจ็ดตัวมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบจะออกสองข้างของก้านใบ ซึ่งใบอาจจะอยู่ตรงข้ามกันหรืออยู่สลับกันก็ได้ ใบมีลักษณะเป็นรูปเรียวรีหรือรูปทรงคล้ายไข่ตลอดทั้งใบ ที่บริเวณปลายใบมีติ่งแหลม ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเรื่อยเล็ก ๆ มีขนาดกว้าง 2-4.5 เซนติเมตร และยาว 4 -13 เซนติเมตร .ใบอ่อนเป็นสีแดงอมม่วงทั้งใบ ส่วนใบแก่ด้านบนเป็นสีเขียว ด้านล่างของใบเป็นสีม่วง บนใบมีเส้นแขนงประมาณด้านละ 7 -12 เส้น
ดอก : ของต้นกระบือเจ็ดตัวจะมีการออกเป็นช่ออยู่ที่บริเวณซอกใบและที่บริเวณยอดของต้น ดอกจะมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศ : คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน และดอกไม่สมบูรณ์ที่มีเกสรเพศผู้หรือเพศเมียอยู่เพียงชนิดเดียวปะปนกันอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศจะมีขนาดของช่อยาว 2 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กมีสีเหลืองอมเขียว ก้านดอกยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ดอกกระบือเจ็ดตัวจะออกตลอดทั้งปี
ผลของกระบือเจ็ดตัว : มีรูปร่างค่อนข้างกลมขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร ภายใน 1 ผลประกอบด้วยพู 3 พู ผลแก่จะแตกออกแยกเป็น 3 ส่วน ไม่มีเนื้ออยู่ภายในผลแต่มีเมล็ดลักษณะเป็นกลม เมล็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร

ต้นกระบือเจ็ดตัวเป็นพืชที่นิยมนำมาปลูกตกแต่งสวนเพื่อความสวยงามเพราะสามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

สรรพคุณทางยาของต้นกระบือเจ็ดตัว

ต้นกระบือเจ็ดตัวยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยรักษาโรคได้ดังนี้

1. ใบตากแห้ง นำมาชงดื่มจะมีรสเฝื่อนขื่น ใบชาเป็นยารักษาโรคกษัย ยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ แต่ถ้านำใบสดมาตำผสมกับเหล้าขาวแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มจะช่วยแก้อาการสันนิบาตหน้าเพลิง ( บาดทะยักในปากมดลูก ) ช่วยขับเลือดเสีย แก้เลือดเป็นพิษ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนปกติ และเมื่อเอาใบสดมาตำพอกบริเวณที่เลือดไหลสามารถช่วยห้ามเลือดได้

2. กระพี้หรือเนื้อไม้ นำมาตากแห้งแล้วต้มดื่มน้ำ รสชาติร้อนเฝื่อน สามารถช่วยถอนพิษไข้ ถอนอาหารเป็นพิษ แก้อาการร้อนภายใน ส่วนยางสีขาวข้นที่มีอยู่ในลำต้นจะมีพิษมาก นิยมนำไปใช้ในการเบื่อปลาในการจับปลา

นอกจากต้นกระบือเจ็ดตัวจะมีสรรพคุณทางยาที่มากมายแล้ว คุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารที่อยู่ในต้นกระบือเจ็ดตัวก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการของต้นกระบือเจ็ดตัว

1. Beta-sitosterol

ต้นกระบือเจ็ดตัวมี Beta sitosterol เป็นสารประกอบที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ Beta Sitosterol สามารถช่วยลดอาการอักเสบ ( anti – inflammatory ) โดยที่ Beta Sitosterol ช่วยในการยึดเกาะที่บริเวณแผล จึงสามารถช่วยป้องกันไม่ให้แผลเกิดการสูญเสียความชื้นที่อยู่ภายในบาดแผลออกมาได้ และยังช่วยทำให้บริเวณโดยรอบของแผลมีลักษณะที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเข้ามาทำลายเซลล์ที่บริเวณเกิดแผลได้อีก

2. เคมเฟอรอล ( Kaempferol )

ต้นกระบือเจ็ดตัวมี Keampferol สารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม สามารถป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปปฏิกิริยาออกซิเดชันกับดีเอ็นเอของเซลล์ จนทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์เกิดการกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นที่มาของมะเร็งเต้านม และมะเร็งล้าไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี

ทำให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง โดยช่วยป้องกันไขมันจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจนไขมันกลายเป็นตะกรันเกาะตามผนังเส้นเลือด ซึ่งเป็นที่มาของโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ

3. กรดแกลลิก ( Gallic acid )

ต้นกระบือเจ็ดตัว มีกรดแกลลิกที่พบในต้นกระบือเจ็ดตัวเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่ง มีสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( oxidation reaction ) กับอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์มีความแข็งแรงและอายุยืด และยังช่วยป้องกันไม่ให้ดีเอ็นเอของเซลล์โดยทำลายจนเกิดการกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยลดการอักเสบของแผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากกรดแกลลิกจะมีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบ ( anti-inflammatory ) ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ โดยสารแกลลิกจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสที่มีหน้าที่ในการการสลายสารสื่อประสาทที่อยู่ภายในสมอง ซึ่งเมื่อเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสทำงานได้น้อยลง แสดงว่าสารสื่อประสาทยังคงอยู่เป็นจำมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองได้

4. อิโนซิทอล ( inositol )

ต้นกระบือเจ็ดตัว มีอิโนซิทอลหรือวิตาบินบี 8 เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ

ต้นกระบือเจ็ดตัว มีวิตามินบี 8 สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล โดยการเข้าไปกระตุ้นการทำงานของกระบวนการเผาผลาญไขมัน คอเลสเตอรอลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ตับสามารถทำการขับไขมันออกมาได้ดี จึงลดการสะสมของไขมันที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้มีการสะสมน้อยลง เมื่อมีการสะสมของไขมันน้อยลง ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดลงได้ นอกจากนี้อิโนซิทอลยังสามารถรวมตัวกับโคลีน ( Choline ) ได้เป็นสารเลซิทิน ( Lecithin ) ที่เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นและเป็นแหล่งให้กับเซลล์ของสมอง จึงทำให้เซลล์สมองและกล้ามเนื้อประสาทมีความแข็งแรงไม่ลีบ และสามารถส่งกระแสสัญญาณเป็นปกติ ส่งผลให้อาการกระวนกระวายใจอย่างอ่อนลดลง ลดความเสี่ยงของการเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วและประสาทหลอน ช่วยในการเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอล อินโนซิทอลช่วยส่งเสริมให้ตับขับไขมันออกมา เป็นส่วนประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์

5.โปแตสเซียม ( Potassium )

ต้นกระบือเจ็ดตัวมีโปแตสเซียม ( Potassium ) ถือเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะในเรื่องการเต้นของหัวใจ โดยที่โพแทสเซียมเป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปล่อยประจุไฟฟ้าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัวอย่างเป็นจังหวะที่เหมาะสมเป็นปกติ

และยังเป็นสารที่ช่วยในการรักษาสมดุลของกรด-ด่าง และประจุที่อยู่ในร่างกายอีกด้วย โดยช่วยรักษาปริมาตรของเซลล์ให้มีปริมาณที่คงที่ ลดความเสี่ยงในการเกิดการบวมน้ำหรือภาวะร่างกายขาดน้ำของร่างกาย

ต้นกระบือเจ็ดตัว ไม่ใช่เป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น แต่ยังเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาช่วยขับพิษไข้ โดยเฉพาะในสุภาพสตรีที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติหรือสตรีหลังคลอดที่ต้องการขับน้ำคาวปลา ถือว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว ต้นกระบือเจ็ดตัว มีคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากการรับประทานน้ำที่ต้มจากต้นกระบือเจ็ดตัวยังมีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ยางของที่ออกจากต้นกระบือเจ็ดตัวก็มีพิษเช่นเดียวกันไม่สามารถรับประทานได้ ต้นกระบือเจ็ดตัวจึงเป็นพืชที่มีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษอยู่ในตัวเช่นเดียวกัน ดังนั้นขั้นตอนการนำมารับประทานต้องทำด้วยขั้นตอนที่ระมัดระวัง โดยต้องทำการล้างยางออกให้หมดเสียก่อนจึงจะนำมาต้มกินได้

สำหรับใครที่ต้องการพืชสมุนไพรมาปลูกไว้ประดับบ้านแล้ว ต้นกระบือเจ็ดตัวนับว่าเป็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 128 หน้า 1.ผัก-แง่โภชนาการ-ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.303 ISBN 978-974-484-346-3.