กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา

0
3184
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษานั้นสามารถต้องมะเร็งและกำจัดมะเร็งตั้งแต่ระยะฝักตัว แต่เป็นวิธีที่ยังคงไม่สามารถนำมาเป็นวิธีการรักษาในทางปฏิบัติได้
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษานั้นสามารถต้องมะเร็งและกำจัดมะเร็งตั้งแต่ระยะฝักตัว แต่ยังคงไม่สามารถนำมาใช้รักษาในทางปฏิบัติได้

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง

สำหรับการ รักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบกระบวนการรักษาโดยใช้วิธีการอื่นๆ ซึ่งกำลังอยู่ใน กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง นั้น  ยังคงไม่สามารถนำมาเป็นวิธีการรักษาในทางปฏิบัติได้  มีดังนี้

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อน

เพื่อ รักษาโรคมะเร็ง สำหรับกระบวนการรักษาด้วยความร้อน ถือได้ว่าเป็นการนำความร้อนสูงเข้ามาช่วย เพื่อให้เซลล์มะเร็งได้ตอบสนองต่อรังสีรักษา หรือ เคมีบำบัดได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิความร้อน โดยตรง การรักษาในรูปแบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเนื่องจาก  ยังคงมีเซลล์มะเร็งบางชนิด ที่มีลักษณะดื้อต่อรังสีรักษา หรือ ยาเคมีบำบัดโดยตรง หากก้อนมะเร็งได้รับอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น อาจจะมีลักษณะตอบสนองต่อรังสีรักษาและเคมีบำบัดได้นั่นเอง

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยชีวสารรักษาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

ชีวสารรักษา ถือได้ว่าเป็นตัวยาที่มีคุณสมบัติเหมือนกับสารต้านเซลล์ต่างๆ ที่มีความแปลกปลอมภายในร่างกายของคนเรา หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นสารเพิ่มภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคของมนุษย์ก็สามารถเรียกได้ การใช้ชีวสารรักษาก็เพื่อที่จะหยุดยั้งและต้านทานเซลล์มะเร็งบางชนิดเท่านั้น แถมยังคงมีความเชื่อที่ว่า จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อยมาก เมื่อได้ใช้ร่วมกันกับการรักษาด้วยวิธีการหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือแม้กระทั่ง เคมีบำบัดก็ตาม ก็จะช่วยเพิ่มผลทางด้านการรักษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งในการต้านทานโรคด้วยยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน

สำหรับยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน หรือ ยาต้านทานโรค นับได้ว่าเป็นยาที่สามารถช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งที่มีอยู่ภายในร่างกาย มีลักษณะหยุดเจริญเติบโต หรือ อาจจะส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งตายได้เช่นกัน

กระบวนการวิจ้ยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการวัคซีนเพื่อป้องกัน

ถือได้ว่าเป็นการรักษาหลักการเดียวกันกับการให้ยาเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เพราะเป็นการรักษาในรูปแบบเดียวกัน แต่จะผิดแปลกตรงที่ตัวยาเป็นวัคซีนอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันกำลังมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาในรูปแบบนี้กันมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะทำให้ผลของการรักษาเป็นผลที่ดี และมีผลแทรกซ้อนต่ำลงไปกว่าเดิม 

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อรักษา

สำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมไปถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก  จะมีการกำจัดเนื้อเยื่อ หรือ อวัยวะที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะต้องกำจัดออกให้หมดไปเท่านั้น และจะมีการแนะนำอวัยวะใหม่ ที่ไม่มีโรคมะเร็งไปทำการปลูกถ่ายแทนที่

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบการแพทย์สนับสนุน และ การแพทย์ทางเลือก

การแพทย์สนับสนุน ( Complementary Medicine )

วิธีนี้เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง แบบไม่รุกราน วิธีนี้แทบที่จะไม่มีผลข้างเคียงหรือไม่มีอาการแทรกซ้อนเลยก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้คือ มีการยอมรับการรักษาการแพทย์แผนปัจจุบัน

การแพทย์ทางเลือก ( Alternative Medicine )

เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง ที่ได้มีการปฏิเสธการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน บางวิธีการอาจจะยังคงเป็นการรักษาแบบรุกรานอยู่ และอาจจะมีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนมากกว่า

การแพทย์องค์รวม ( Holistic Medicine )

ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งจิตวิญญาณ ซึ่งวิธีการรักษาจะเป็นการรวมกันระหว่าง แพทย์สนับสนุน และ แพทย์ทางเลือก

การแพทย์ผสมผสาน ( Integrative Medicine ) 

ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาที่รวมกันระหว่าง แพทย์แผนปัจจุบัน และ การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจพร้อมทั้งจิตวิญญาณ  นับได้ว่าเป็นการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบันแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการตัดสินใจเพื่อใช้การแพทย์ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตามนอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน คุณควรที่จะต้องทำการปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ รักษาโรคมะเร็ง ก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่ส่งผลทำให้เกิดขัดการระหว่างการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันโดยตรง

เหตุผลที่แพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ค่อยยอมรับการรักษาแพทย์สนับสนุน กับ แพทย์ทางเลือก

ส่วนใหญ่แล้ว เราจะพบเจอกับปัญหาที่ว่า แพทย์แผนปัจจุบันมักจะต่อต้านการรักษาแพทย์วิธีต่างๆ ซึ่งการบำบัดรักษา ที่ไม่ติดขัดกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ทางด้านผู้ป่วยและญาติ ควรที่จะปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันที่เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งเสียก่อน แล้วจึงตัดสินใจใช้วิธีการรักษาแบบแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกจริง แล้วในส่วนของการบำบัดรักษาเกือบจะทุกวิธี ย่อมมีผลข้างเคียงตามมาเสมอ

สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญและน่ากลัวมากที่สุด นั่นก็คือ การลุกลามและการกระจายตัวของโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากใครอยากจะเลือกรักษาโดยวิธีทางแพทย์สนับสนุน หรือ แพทย์ทางเลือกควรพิจารณาก่อน ดังนี้

  • ควรมีความมั่นใจ และไม่ควรตัดสินใจด้วยความกลัว หากจะรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน
  • ควรตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่า อยากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีไหน
  • ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ให้ดีเสียก่อน
  • กระบวนการรักษาและสถานที่ที่ให้การรักษา พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ มีลักษณะเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่
  • ควรรู้ตัวยาที่ใช้ในการรักษาร่วมด้วย
  • ควรทราบว่าการรักษาที่เลือกจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะเห็นผล
  • ควรทราบถึงผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนที่อาจจะตามมา
  • ควรศึกษาด้วยว่า การรักษาที่ผู้ป่วยเลือก มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถให้คำยืนยันได้หรือไม่
  • ควรทราบค่าใช้จ่ายในการรักษา
  • ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจ

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งแบบประคับประคอง พยุงอาการ และ การรักษาทางอายุกรรมแบบทั่วไป

ในส่วนของกระบวนการ รักษาโรคมะเร็ง แบบประคับประคองและพยุงอาการโดยมีการพิจารณาถึงอาการ พร้อมทั้ง สุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อบ่งชี้ในการรักษา ซึ่งการรักษาแบบนี้ จะเป็นการรักษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในทุกๆ ระยะของโรค ซึ่งการรักษาแบบประคับประคองและพยุงตามอาการ บางครั้งอาจจะมีการผ่าตัดเล็กร่วมด้วย เพื่อที่จะสามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Cassileth BR, Deng G (2004). “Complementary and alternative therapies for cancer”. The Oncologist. 9 (1): 80–9. PMID 14755017. doi:10.1634/theoncologist.9-1-80.

Jump up What Is CAM? Archived 8 December 2005 at WebCite National Center for Complementary and Alternative Medicine. retrieved 3 February 2008.