การตรวจ และรักษามะเร็ง

0
4163
การตรวจและรักษามะเร็ง
การตรวจหาสารมะเร็งจาก จากการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งภายในร่างกาย
เซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกาย
มะเร็ง เป็นโรคที่มีความน่ากลัวและยังไม่มียาตัวไหนรักษาได้

การตรวจ และการรักษามะเร็ง

ในปัจจุบันโรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีความน่ากลัวมากโรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นโรคร้ายยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถรักษาได้  หากแต่ว่ารู้และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆที่เริ่มเป็น ก็ยังพอมีทางรักษาชีวิตจากโรคนี้ได้ แต่หากไปรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ในช่วงที่อาการหนักไปแล้ว ก็คงยากที่จะทำการรักษาเหมือนกัน การตรวจ และ การรักษามะเร็ง จึงมีความสำคัญมาก โดยการตรวจและวินิจฉัยการรักษามะเร็ง ( Cancer Diagnosis ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

การตรวจคัดกรอง ( Cancer Screening ) คือ การตรวจเพื่อหาว่าร่างกายของเรา มีอาการของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ หรือไม่ เช่น การไปตรวจสุขภาพประจำปี  การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งการตรวจสอบด้วยตนเอง การคลำเพื่อหาก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น การตรวจชนิดนี้ ใช้ตรวจสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปกติ แต่ต้องการทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ส่วนการตรวจอีกชนิดคือ

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ( Cancer Diagnosis ) คือ การตรวจ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งและ รวมไปถึงติดตามความผิดปกติของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะได้วางแผน การรักษามะเร็ง ที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยให้มากที่สุดการตรวจชนิดนี้ใช้กับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งแล้ว เน้นหาความผิดปกติและสาเหตุของโรค มีการตรวจที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบการตรวจคัดกรองอยู่พอสมควรโดยทั้งนี้การตรวจทั้ง 2 ชนิดมีประโยชน์มากมาย ช่วยเพิ่มโอกาส ทางรอดให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคมะเร็งได้มากเลยทีเดียว

เรื่องของสุขภาพมีความสำคัญมาก ดังนั้นการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบว่าตัวเราเอง มีอาการหรือความเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่ จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากรู้ตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้หาทางรักษามะเร็งได้ทันเวลา

รูปแบบของการตรวจหามะเร็ง

การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง ( Tumor Marker ) คือ การตรวจ หามะเร็งจาก จากการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งภายในร่างกาย นำไปตรวจสอบในห้องแล็ปด้วยหลักการทางอิมมูโนวิทยาแต่วิธีนี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับการตรวจสอบวิธีอื่นด้วยจึงจะได้ผลออกมา

การตรวจโดยอัลตราซาวด์ ( Ultrasound ) คือ การตรวจ หามะเร็งโดยใช้เครื่องมือที่มีคลื่นเสียงความถี่สูงโดยมีข้อดีคือมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลกระทบของการใช้รังสีจะใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น ตับ ไต มดลูกเป็นต้น แต่ไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับอวัยวะที่มีความหนาแน่นสูงอย่างกระดูก และอวัยวะที่มีก๊าซอยู่ภายในอย่างปอด 

การตรวจโดยเอ็กซเรย์ ( X-Ray ) คือ การใช้รังสีเอ๊กซ์ วิ่งผ่านส่วนของร่างกายที่ต้อง การตรวจ และให้ไปแสดงผลบนแผ่นฟิล์ม วิธีนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกและเป็นเครื่องมือหลักที่โรงพยาบาลต้องมี แต่ก็มีข้อจำกัดคือเห็นแค่ 2 มิติแค่ด้านกว้างและยาวจะไม่เห็นด้านลึกของอวัยวะนั้นๆ ที่ต้องการตรวจหามะเร็งและหลายคนก็ยังกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้รังสีเอ็กซ์อยู่ ว่าจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่

การตรวจโดยซีทีสแกน ( CT Scan)  คือ เป็นการเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีการพัฒนามาจากการเอ็กซเรย์
จึงทำให้สามารถเห็นภาพได้ครบทั้ง 3 มิติ กว้าง ยาว และลึก นิยมใช้ใน การตรวจ หามะเร็งของอวัยวะในช่องท้อง หรือ ตรวจหาหลอดเลือดที่เซลล์มะเร็งขึ้นมาเพื่อแย่งสารอาหารจากเซลล์ปกติ แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายที่สูง ในการตรวจแต่ละครั้ง และไม่นิยมใช้กับเด็กหรือสตรีที่ตั้งครรภ์

การตรวจโดยเครื่องเอ็มอาร์ไอ หรือ เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging ) คือ การตรวจ หามะเร็งที่ใช้หลักการสะท้อนคลื่นวิทยุ จากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจวิธีนี้จะเห็นภาพได้ทั้ง 3 มิติ และเป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำที่สุด สามารถใช้ได้กับอวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย มีความปลอดภัยสูง แต่ก็ต้องแรกมากับค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูงมากเช่นกัน

การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ( Gastroscopy and Colonoscopy ) คือ การสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในร่างกาย โดยมีกล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพที่ปลายท่อและมีอุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับตัดเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปทำการวิเคราะห์จะนิยมใช้ใน การตรวจ หามะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำมากแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่สูงมากจากแพทย์ใน การรักษามะเร็ง ด้วยวิธีนี้

การตรวจพยาธิสภาพระดับเนื้อเยื่อของมะเร็ง ( Cancer Histopathology Test ) คือ การตรวจ เนื้อเยื่อเพื่อดูความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยจะมีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งมาเพื่อทำการตรวจ ซึ่งต้องทำควบคู่กับการตรวจวิธีอื่นไปด้วยเช่น การเอ็กซเรย์ หรือ การอัลตราซาวด์

วิธีการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่างๆ

รูปแบบของ การตรวจ หามะเร็งต่างๆ ข้างต้นก็มีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป ซึ่งเมื่อมีวิธีการตรวจสอบแล้ว ก็ต้องมีวิธี การรักษามะเร็ง ด้วยวิธีต่างๆหลากหลายดังต่อไปนี้

การผ่าตัด ( Surgery ) คือ รูปแบบการรักษามะเร็งที่แพทย์ผู้รักษา จะทำการตัดชิ้นเนื้อที่มีส่วนของมะเร็งออกไปให้ได้มากที่สุดโดยจะทำควบคู่กับการให้เคมีบำบัดไปด้วยแต่ในการรักษามะเร็งบางชนิดแพทย์อาจจะต้องตัดอวัยวะชิ้นที่มีโรคมะเร็งออกให้หมด เช่น มะเร็งเต้านม หรือการตัดมดลูกออกสำหรับมะเร็งปากมดลูก

เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือเรียกสั้นๆตามที่คนส่วนมารู้จักคือ คีโม นั้นเองวิธีการรักษานี้จะใช้ยาเพื่อไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งแต่ผู้ที่ได้รับ คีโม จะมีผลกระทบต่อร่างกาย เช่นภูมิต้านทานลดลง อ่อนเพลียอาเจียน ผมร่วง เป็นต้น แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปและกลับเป็นปกติเองหลังจากการหยุดรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้ว

รังสีรักษา ( Radiotherapy ) คือ การรักษามะเร็ง ด้วยการใช้วิธีฉายรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ (x-Ray) และรังสีแกมม่า ( Gamma Ray ) เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงโดยส่วนมากจะใช้รักษากับอวัยวะที่รังสีเข้าถึงได้ง่าน เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ฮอร์โมนบำบัด ( Hormonal Therapy ) วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับการรักษามะเร็งของอวัยวะที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตฮอร์โมนเพศ เช่น มะเร็งเต้านมในเพศหญิง หรือ มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย โดย แพทย์จะใช้การควบคุมระดับฮอร์โมนด้วยยาเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งนำฮอร์โมนเหล่านี้ไปใช้จึงส่งผลให้เกิดยับยั้งการเติบโตของมะเร็งไปด้วยนั้นเอง

การรักษาแบบเจาะจงมุ่งเป้า ( Targeted Therapy ) จะรักษามะเร็งด้วยการนำยาเฉพาะด้าน ที่จะไปส่งผลออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็ง โดยยาตัวนี้จะยับยั้งการส่งสัญญาณเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกายแต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงและอาจจะใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยทุกคน

ภูมิคุ้มกันบำบัด ( Immunotherapy ) คือ วิธี การรักษามะเร็ง โดยให้ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์มะเร็งภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทันสมัยและกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การใช้ความร้อนเฉพาะที่ ( Hyperthermia Therapy ) คือ การใช้ความร้อน รักษามะเร็ง โดยการะทำร่วมกับการให้เคมีบำบัดหรือใช้รังสี เพื่อให้การทำงานของเคมีหรือรังสี เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นวิธีนี้ มีความปลอดภัยสูง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Loomis, D; Grosse, Y; Bianchini, F; Straif, K (2016) . “Body Fatness and Cancer — Viewpoint of the IARC Working Group”. N Engl J Med. 375:794-798. doi:10.1056/NEJMsr1606602.