เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )

0
5173
โรคมะเร็งสมองและเนื้องอกสมอง (Brain Cancer)
มะเร็งสมอง เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง
โรคมะเร็งสมองและเนื้องอกสมอง (Brain Cancer)
มะเร็งสมอง เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง มักจะเกิดอาการปวดศีรษะมาก

มะเร็งสมอง

มะเร็งสมอง ( Brain Cancer ) คือ โรคที่เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อสมองเท่านั้น อาจจะเป็นเนื้อร้ายที่งอกขึ้นเองแล้วขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมะเร็งสมอง หรือ เนื้องอกในสมองได้ สมองนับได้ว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบประสาทซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากที่สุดสำหรับมนุษย์ ทำหน้าที่ในเรื่องของการคิด ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึก และยังคงทำหน้าที่ในการ ควบคุมระบบการทำงานของอวัยวะ พร้อมทั้งทุกส่วนภายในร่างกายของคนเราอีกด้วย

โพรงสมอง จะอยู่บริเวณตรงกลางสมองทุกๆส่วน ซึ่งโพรงสมองจะมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงสมอง พร้อมทั้ง ไขสันหลัง ด้วยลักษณะของสมอง ที่ประกอบไปด้วยเซลล์และเนื้อเยื่อมากมาย หลายชนิดด้วยกัน  ส่งผลทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อสมองส่วนใหญ่ สามารถเกิดเป็นเนื้องอกและมะเร็งสมองได้เช่นกัน

เนื้องอกในสมอง คือ ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่สามารถลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อ หรือแม้กระทั่งอวัยวะอื่น ๆ ได้ แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมีลักษณะโตขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้ก้อนเนื้อกดทับและเบียดเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะโดยรอบ ในกรณีนี้จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายกับเป็นโรคมะเร็งสมองได้เช่นกันสำหรับเนื้องอกหรือมะเร็งสมองถือได้ว่ามีหลายชนิดด้วยกัน  นับได้ว่าแต่ละชนิดนั้น จะมีความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันออกไป ส่วนชนิดที่มีความรุนแรงอย่างมากที่สุด นั่นก็คือ ชนิดไกลโอบาลสโตมา นั่นเอง

มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับสมองส่วนใด

สมองสามารถแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้

1. สมองใหญ่ หรือ Cerebrum มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นกับสมองในส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ในเรื่องของความจำ ความรู้สึก ตลอดจนกระทั่งการพูดคุย การเคลื่อนไหวของร่างกาย

2. สมองน้อย หรือ Cerebellum สมองน้อยจะคอยทำหน้าที่หลักในเรื่องของการทรงตัว เมื่อเป็นมะเร็งสมอง จะมีอาการผิดปกติกับสมองน้อยด้วยเช่นกัน

3. สมองส่วนกลาง หรือ Mid Brain และ สมองส่วนท้าย หรือ Medulla Oblongata สมองสองส่วนนี้ จะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบการหายใจ

ปัจจัยการเกิดมะเร็งสมอง

  • อาการโรคมะเร็งสมองจะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ทั้งชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ และ เกิดความผิดปกติต่อเนื่องชนิดที่ถ่ายทอดได้
  • กลุ่มคนที่เป็นมะเร็งสมองจะมีอาการโรคมะเร็งสมองอย่างต่อเนื่อง
  • มะเร็งสมองผู้ที่ได้รับรังสีชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง
  • ผู้ที่บริโภคสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปริมาณสูง
  • มารดาที่ตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารบางชนิดซึ่งอาจจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการของมะเร็งสมอง

  • อาการมะเร็งสมองจะปวดศีรษะมาก ซึ่งอาการปวดที่ว่านี้ มักจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะทำให้เกิดอาการอาเจียนร่วมด้วย
  • แขนและขาข้างเดียวกันของผู้ป่วย จะมีลักษณะอ่อนแรง
  • ผู้ป่วยอาจจะมีอาการชัก ถึงแม้จะไม่มีไข้ก็ตาม
  • ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาทางสายตาร่วมด้วย อาการมะเร็งสมองส่งผลทำให้เห็นภาพซ้อน หรือ มีอาการตาเหล่เกิดขึ้นได้
  • ผู้ป่วยจะมีลักษณะทรงตัวไม่ค่อยได้ และ เดินเซ

ในส่วนของการวินิจฉัยโรค เบื้องต้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ มักจะวินิจฉัยเนื้องอกหรือมะเร็งสมองจากการพูดคุยและสอบถามประวัติ พร้อมทั้งอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการตรวจสมองด้วยการเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ถ้าหากจะให้ผลที่แน่นอนจริง ๆ  จำเป็นจะต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อ หาก แพทย์ได้ตรวจผลเอกซเรย์แล้วพบว่า ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อในสมองอยู่จริง แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วย ด้วยวิธีการผ่าตัดเพียงแค่ครั้งเดียว พร้อมกับมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

วิธีรักษามะเร็งสมอง

วิธีการรักษาหลัก ๆ ของมะเร็งสมองสำหรับกระบวนการและวิธีการรักษาของโรคเนื้องอกในสมอง หรือมะเร็งสมองนั่นก็คือ การผ่าตัด  ซึ่งหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะทำการประเมินโรคอีกครั้ง พร้อมทั้งดูระยะของโรคและชนิดของเซลล์ เพื่อที่จะสรุปผลการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยโดยตรง  สำหรับเนื้องอกสมองในชนิดที่ไม่รุนแรง  หากแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกหมดแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายจากโรคนี้สูงถึงประมาณร้อยละ 80 – 90 กันเลยทีเดียว  แต่ถ้าหากแพทย์ไม่สามารถผ่าตัดเนื้องอกออกมาได้ การควบคุมโรคชนิดนี้ดูเหมือนจะต่ำลงไป ส่วนวิธีการป้องกันโรคเนื้องอกและโรคมะเร็งสมองนั้น  ถือได้ว่ายังคงไม่มีวิธีการป้องกันได้โดยตรงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Gregg, N. (2014). “Neurobehavioural Changes In Patients Following Brain Tumour: Patients And Relatives Perspective.”. Supportive Care In Cancer.

Jones, Caleb. “Brain Tumor Symptoms, Miles for Hope | Brain Tumor Foundation”. milesforhope.org. Archived from the original on 14 August 2016. Retrieved 3 August 2016.