โรคมะเร็ง
การตรวจวินิจฉัย หรือ วินิจฉัยโรค หมายถึง การตรวจวินิจฉัยทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับ โรคมะเร็ง ซึ่งได้แก่
การตรวจวินิจฉัยว่าเป็น โรคมะเร็ง หรือไม่?
การตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี?
การตรวจเพื่อประเมินระยะของอาการป่วยมะเร็ง?
การตรวจประเมินผลในช่วงของการรักษาและภายหลังการรักษา?
การตรวจเพื่อติดตามผลในระยะยาว ค้นหาความเสี่ยงการของป่วยด้วยโรคมะเร็งซ้ำอีก?
สำหรับการพิจารณาว่าวินิจฉัยโรคจะตรวจอะไรบ้าง แพทย์จะทำการวินิจฉัยถึงอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย แล้วจึงเริ่มตรวจในสิ่งที่มีความสอดคล้องกับอาการป่วย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและดูว่าเป็น โรคมะเร็ง หรือไม่ โดยหากพบว่าป่วยด้วยมะเร็ง ก็จะแจ้งให้กับผู้ป่วยและญาติทราบทันที จากนั้นจึงทำการตรวจประเมินระยะของโรค สุขภาพผู้ป่วย เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป โดยการตรวจจะได้รับข้อมูล ดังนี้
1.วินิจฉัยโรคและชนิดของมะเร็งที่ผู้ป่วยกำลังเป็น
2.วินิจฉัยโรคและระยะของโรคมะเร็งในขณะนั้น
3.วินิจฉัยโรคและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
โดยหลังจากได้รับข้อมูลดังนี้แล้ว แพทย์จะทำการพูดคุยและแนะนำถึงวิธีและขั้นตอนในการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงอาการแทรกซ้อน ผลข้างเคียงที่อาจต้องระมัดระวัง
ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็ง
ก่อนการตรวจวินิจฉัยหรือทำการรักษา แพทย์จำเป็นต้องทราบประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถวินิจฉัยอาการง่ายขึ้นและเลือกวิธีการตรวจหรือวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม โดยประวัติของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องทราบ ได้แก่ อาการสำคัญ อาการอื่นๆ การแพ้ยา โรคประจำตัว หรือประวัติอื่นๆ ทางการแพทย์ เป็นต้น
วินิจฉัยโรคและอาการสำคัญ
อาการสำคัญ คืออาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ โดยเป็นอาการสำคัญที่จำเป็นต้องแจ้งกับแพทย์เป็นอันดับแรก เนื่องจากอาการสำคัญจะช่วยชี้ชัดถึงโรคที่กำลังป่วยได้อย่างแม่นยำที่สุดและทำให้แพทย์รักษาได้อย่างถูกทางมากขึ้น โดยทั่วไปอาการสำคัญ ได้แก่ อาการผิดปกติหลักๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนรงมีอากรปวดท้อง คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณเต้านม เป็นต้น
วินิจฉัยโรคความกังวลหรือความสงสัยว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่นั้นต้องการให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อความสบายใจ และหากพบว่าป่วยด้วยมะเร็งชนิดไหน ก็จะได้ทำการรักษาได้ทัน มีความต้องการที่จะตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เพื่อความมั่นใจและสบายใจ
อาการสำคัญของการตรวจวินิจฉัยโรค เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและอวัยวะที่น่าจะมีความผิดปกติได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การตรวจวินิจฉัยมีวงแคบลงและทราบผลเร็วกว่าเดิม ดังนั้นอาการสำคัญจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่ผู้ป่วยหรือญาติควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมาพบแพทย์นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก่อนเริ่มตรวจวินิจฉัยหรือทำการรักษา แพทย์จะเริ่มพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติเพื่อซักประวัติ และอาจมีการซักถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการอื่นๆ รวมถึงปัญหาครอบครัวที่อาจนำมาสู่อาการเจ็บป่วยดังกล่าว
วินิจฉัยโรคอาการอื่นๆ
เป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนอาการสำคัญ โดยจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงทำให้ผู้ป่วยยังไม่มาพบแพทย์ก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นอาการร่วมที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยที่ผู้ป่วยหรือญาติต้องแจ้งแก่แพทย์เช่นกัน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มีไข้อ่อนๆ หรืออาการไอ เป็นต้น
วินิจฉัยโรคอาการสำคัญของโรคมะเร็ง
เป็นอาการที่คาดว่าอาจเกิดจาก โรคมะเร็ง และต้องการให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่ เช่น มีอาการอักเสบบ่อย พบก้อนเนื้อที่อาจเป็นมะเร็งโดยทั้งนี้เมื่อแพทย์วินิจฉัยร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆแล้ว ก็จะทำให้ได้ผลการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
อาการสำคัญที่พบได้บ่อยเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง
เนื่องจาก ” โรคมะเร็ง “ เป็นโรคที่ไม่มีอาการเฉพาะจึงต้องพิจารณาจากหลายๆ กรณีและอาการที่อาจบ่งชี้ว่าป่วยมะเร็ง โดยมีอาการสำคัญที่มักจะพบได้บ่อยๆ เมื่อป่วยด้วย โรคมะเร็ง ดังนี้
1. มีไฝ หูดหรือปานโตฝังลึกลงในผิวหนัง และมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิมพร้อมกับขอบที่ขรุขระขึ้น นอกจากนี้ในบางรายก็อาจมีแผลหรือมีเลือดไหลออกมาอีกด้วย
2. มีก้อนเนื้องอกออกมาและโตเร็วมาก โดยในระยะเริ่มแรกนั้นจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด แต่เมื่อปล่อยไว้นานๆ จะเริ่มเกิดเป็นแผลแตกและมีเลือดออกเรื้อรัง พร้อมกับอาการเจ็บปวดที่เกิดถี่ขึ้น ซึ่งก็อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคมะเร็งได้
3. มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายสักที โดยเป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะแผลบริเวณอวัยวะเพศหรือแผลในช่องปาก
4. ต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ โดยอาจจะคลำเจอเป็นก้อนๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งอาการเจ็บปวดจะเกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองเริ่มติดเชื้อนั่นเอง โดยส่วนใหญ่จะคลำเจอบริเวณรักแร้ ขาหนีบและลำคอ ซึ่งหากเกิดจากมะเร็งก็จะพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนใหญ่
5. มีอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรังและค่อยๆ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจบอกได้ถึงการป่วยมะเร็งเช่นกัน อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคเนื้องอกหรือเพราะความเครียดก็ได้
6. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ประมาณร้อยละ 10 ภายในเวลา 6 เดือน ทั้งที่ยังคงทานอาหารตามปกติและแทบไม่ได้ออกกำลังกายเลย หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุนั่นเอง
7. มีอาการหนังตาตก ตาเหล่และอาจเดินเซแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยอาจเป็นผลจากการอักเสบของเส้นประสาทหรือ โรคมะเร็ง ได้
8. มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรืออยู่ดีๆ ก็ไม่มีแรงขึ้นมาเฉยๆ ซึ่งก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสูงมาก โดยเฉพาะมะเร็งสมองและมะเร็งบางชนิดที่มีการแพร่กระจายเข้าสู่สมองหรือไขสันหลัง
9. มีเสมหะ น้ำลายหรือน้ำมูกออกมาเป็นเลือด ซึ่งนอกจากจะเกิดจากการอักเสบภายในช่องปาก คอหอยหรือโพรงจมูกแล้ว ก็อาจเป็นเพราะ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งโพรงจมูกอีกด้วย
10. เสียงแหบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะคนที่เป็นหวัด เมื่ออาการไข้หวัดหายแล้วแต่เสียงยังแหบอย่างต่อเนื่อง แบบนี้ก็อาจสงสัยได้เลยว่าอาจกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่ก็ได้
11. มีเลือดกำเดาออกแบบเรื้อรัง คือมักจะมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ คาดว่าอาจจะเป็นมะเร็งระบบโลหิตวิทยา มะเร็งจมูกหรือ โรคมะเร็ง หลังโพรงจมูก เป็นต้น
12. มีอาการผิดปกติที่เต้านม โดยคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หัวนมบุ๋มและแข็ง มีผื่นคันเรื้อรังเกิดขึ้นบริเวณหัวนม เจ็บเต้านมบ่อยๆ หรือในคุณแม่หลังคลอดบุตรก็อาจจะมีน้ำนมเป็นเลือด ซึ่งทุกอาการล้วนเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ
13. ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ โดยเมื่อคลำบริเวณลำคอด้านหน้าทั้งซ้ายขวา พบก้อนเนื้อผิดปกติ อาจบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งได้เช่นกัน มีอาการอาเจียนหรือไอออกมาเป็นเลือด ซึ่งก็ไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด
14. ปวดท้องเรื้อรังอย่างไม่ทราบสาเหตุ ถึงแม้ว่าจะกินยาลดกรดหรือยารักษาโรคกระเพาะ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น โดยอาจเสี่ยงเป็น มะเร็งโรคกระเพาะอาหารได้
15. มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียบ่อยๆ ซึ่งในบางรายอาจมีอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นมูกเลือดด้วย โดยอาการดังกล่าวก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็งหรือเป็นเพราะลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบก็ได้
16. ตัวและตาซีดเหลืองผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับและความผิดปกติของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตับ
17. ถ่ายปัสสาวะผิดปกติและอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดได้ รวมถึงมีอาการปวดเบ่ง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกกะปริดกะปรอยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยอาการดังกล่าวก็อาจบ่งชี้ได้ถึงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็งไต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
18. อัณฑะโตผิดปกติจนสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงได้ ในบางคนก็อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
19. มีตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจจะออกมาเป็นมูกเลือด มีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการคันร่วมด้วย โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการติดเชื้อของช่องคลอด หรือเกิดจากโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งช่องคลอดได้เหมือนกัน
20. กระดูกมีความเปราะบาง หักได้ง่าย และอาจมีอาการปวดบริเวณกระดูกและข้อต่อบ่อยๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะโรคกระดูกพรุนในวัยที่มีอายุมาก หรือเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็งกระดูก และมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่แพร่เข้าสู่กระดูกจนทำให้เกิดอาการดังกล่าว
21. ประจำเดือนมาผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้หลายกรณีเช่น ประจำเดือนมามากหรือมาน้อยกว่าปกติ มาไม่สม่ำเสมอ มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน มีเลือดออกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งหมดนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูกเองหรือเกิดจากผลกระทบของมะเร็งก็ได้
22. มีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาจปวดร้าวไปจนถึงขาตามแนวกระดูก คาดว่าอาจเกิดจากการอักเสบของกระดูก เส้นประสาทหรือป่วยด้วยมะเร็งที่แพร่เข้าสู่กระดูกจนทำให้เกิดอาการปวดแบบเรื้อรัง
23. เป็นซีสต์เรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย
วินิจฉัยโรคมะเร็ง อาจมีอาการที่แสดงออกมาอย่างหลากหลายและเกิดได้จากมะเร็งหลายชนิด จึงต้องมีการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องตามกระบวนการ จึงจะทราบสาเหตุที่แท้จริงและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
WHO (October 2009). “Cancer”. World Health Organization.
Cancer by tumour type. Journal of Internal Medicine.