- มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน
- เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ ?
- อาหารเสริม ทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ
- การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม
- การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง
- การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
- มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก
- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
- ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค
- ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
- ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )
- มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด
- มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร
- มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )
- มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )
- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )
- มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )
- มะเร็งตับ ( Liver Cancer )
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )
- มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
- มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต
- มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
- มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )
- มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )
- มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )
- มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )
- มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )
- มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
- มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )
- มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
- สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
- การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง
- สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
- อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020
- อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
- อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
- มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )
- การตรวจ และรักษามะเร็ง
- ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง
- ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )
- จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?
- ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
- มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง
- อาหารเพิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม
- อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
- การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ
- การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
- มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้
- โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
- สัญญาณมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
มะเร็งระยะสุดท้าย
มะเร็งระยะสุดท้าย ( Distant Metastasis ) คือ ระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลือง เพื่อแย่งสารอาหารที่จำเป็นในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับสารอาหารได้เพียงพอและมีการทำงานผิดปกติเป็นอย่างมาก หรือเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย” ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้
อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย
อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย คือ มีการกระจายตัวของเชื้อมะเร็งไปทั่วร่างกายทั้งอวัยวะใกล้เคียงกับจุดเกิดโรค และอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น หากเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมดลูก มะเร็งระยะแพร่กระจาย ที่มะเร็งจะมีการลุกลามไป คือ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอุ้งเชิงกราน ส่วนต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปและจะมีการแพร่กระจายออกไปทางสายน้ำเหลืองคือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง และต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้าอาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดเดียวกันได้ตลอดทั่วตัวของผู้ป่วย
การเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจายนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวกันมากและไม่อยากให้ถึงอาการระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ป่วยเองหรือแพทย์ผู้ให้การรักษาก็คือ มะเร็งระยะแพร่กระจายซึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมะเร็งระยะที่ 4 นั้นเอง หากถามว่าทำไมถึงต้องกลัวมะเร็งในระยะแพร่กระจายขนาดนี้ด้วย มะเร็งในระยะแพร่กระจายคืออะไรและอันตรายแค่ไหน มีคำตอบและคำอธิบายได้ดังต่อไปนี้
มะเร็งระยะแพร่กระจาย
มะเร็งระยะแพร่กระจาย คือ การแพร่กระจายของมะเร็วไปในอวัยวะใดก็ตามที่เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกไปส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติหรือทำงานล้มเหลวของอวัยวะ นั้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกผิดปกติตามอวัยวะที่มะเร็งระยะแพร่กระจายลุกลาม เช่น หากเกิดกับปอด ก็จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจติดขัด เป็นต้น หรือถ้าเกิดกับกระดูกก็จะมีอาการปวดตามตัว ตามกระดูกได้ซึ่งแพทย์สามารถที่จะตรวจพบได้ แต่ก็อาจมีบางอวัยวะที่ไม่แสดงอาการป่วยออกมาและไม่มีวิธีตรวจพบ บางครั้งก็ตรวจพบได้ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว โดยอวัยวะที่โรคมะเร็งแพร่กระจายไปได้สูงและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่พบได้บ่อยคือ อวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงสูง และมีระบบน้ำเหลืองมากมาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก ไขกระดูกต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล และสมอง
ชนิดของมะเร็ง
|
อวัยวะที่มักมีการแพร่กระจาย
|
มะเร็งสมอง | พบการแพร่กระจายนอกสมองน้อย อาจพบในไขสันหลังได้ |
มะเร็งเต้านม | กระดูก ตับ ปอด สมอง ลูกตา ผิวหนังบริเวณหน้าอก |
มะเร็งหลอดอาหาร | อวัยวะใกล้เคียง ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง |
มะเร็งกระเพาะอาหาร | กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด พบน้อยในสมองและกระดูก |
มะเร็งลำไส้ใหญ่ | ตับ กระดูก ปอด พบน้อยในสมอง |
มะเร็งลำไส้ตรง | อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด สมอง กระดูก |
มะเร็งตับ | มักเจริญเติบโตอยู่ในเนื้อตับเอง |
มะเร็งปอด | ต่อมหมวกไต ตับ กระดูก สมอง ปอดข้างเดียวกันหรือ อีกด้าน เยื่อบุหัวใจ |
มะเร็งตับอ่อน | กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด สมอง |
มะเร็งเม็ดสีของผิวหนัง | ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง สมอง ปอด ตับ กระดูก |
มะเร็งบริเวณปากและลำคอ | ปอด |
มะเร็งเม็ดเลือดขาว | มีการกระจายทั่วร่างกายอยู่แล้ว อาจพบในไขกระดูก ผิวหนัง |
มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด Multiple myeloma |
กระดูก |
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง | มักอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ม้าม และไขกระดูก อาจพบการ แพร่กระจายไปยังสมอง และกระเพาะอาหาร บางกรณีอาจ พบการแพร่กระจายตามน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังได้ เรียกว่า Lymphomatous menignitis |
มะเร็งรังไข่ | กระจายทั่วช่องท้อง ปอด ตับ (พบน้อย) สมองและผิวหนัง |
มะเร็งต่อมลูกหมาก | กระดูก สมอง |
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ | อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ กระดูก |
มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะอาการป่วยของโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลืองแล้วเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย”
โรคมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายไหม ?
หากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้วเท่ากับว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย เป็นระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยนั้นจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเท่าไหร่ก็ตามยกเว้นมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากๆที่อาจรักษาให้หาย เช่น มะเร็งอัณฑะบางชนิด
ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จะให้การรักษาบรรเทาประทานอาการด้วยวิธีผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด และหากโรคมะเร็งที่เป็นตอบสนองได้ดีต่อการรักษา อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อย่างมี คุณภาพประมาณ 1-2 ปี แต่สำหรับผู้ป่วยที่สุขภาพไม่แข็งแรงจะมีอัตราการอยู่รอดลดลงอยู่ที่ประมาณ 3 – 9 เดือนเท่านั้น
การรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย
สำหรับการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายทางแพทย์ผู้ให้การรักษาจะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง หรือบรรเทาอาการผู้ป่วยเท่านั้น จะไม่ใช่วิธีการรักษาแบบให้หายขาดเพราะไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้แล้ว โดยในการรักษาจะมีจุดประสงค์หลักที่ว่าจะทำยังไงให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้มากที่สุด ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการรักษาผู้ป่วย ก็จะใช้วิธีเหมือนกับมะเร็งใยระยะอื่นๆ เช่น วิธีการผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า และการรักษาประคับประคองตามอาการ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาตาม สุขภาพของผู้ป่วย อายุ อาการ และชนิดของเซลล์มะเร็งเป็นหลัก ว่าจะเลือกวิธีการใด ที่จะเหมาะสมต่อผู้ป่วยรายนั้นๆมากที่สุด
มะเร็งระยะสุดท้ายอยู่ได้นานแค่ไหน
วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย คือการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและได้รับรักษาอย่างทันเวลาก่อนที่โรคมะเร็งจะมีการแพร่กระจายของโรคออกไป ดังนั้นหากพบความผิดปกติอะไรของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกๆ ต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรหลีกเลียงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นตัวกระตุ้นของมะเร็ง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ควรที่จะป้องกันไว้ก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เพราะหากเป็นแล้วคุณเองก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้อีกเลย
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20415″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.
อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557
Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.
Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.