อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
โรคมะเร็งและโรคมะเร็งชนิดต่างๆในร่างกาย

อัลตร้าซาวด์ มะเร็ง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็ง? ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อสายเกินไป เมื่อ อัลตร้าซาวด์ พบเจอก้อน มะเร็ง ก็ลุกลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว ทำให้ยากต่อการรักษาให้หายขาด แพทย์จึงแนะนำให้บุคคลทั่วไปตรวจสุขภาพทุกปีเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ทั้งนี้เทคนิคที่ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเพื่อทราบผู้ป่วยมะเร็งก็มีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ อัลตร้าซาวด์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสสาวะ อุจจาระ การตรวจทางพยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ เช่น การขูดเซลล์จากเยื่อบุปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก การตรวจด้วยเครื่องมือเอ๊กซเรย์ แมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์ เช่นการเอ๊กซเรย์ปอดกับทางเดินอาหาร การทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ที่เต้านม การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษ

เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การตรวจด้วยเครื่องมือ MRI, CT scan, PET scan เพื่อดูอวัยวะในกระโหลกศรีษะ หลอดเลือดในสมอง กระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก อาการเบื้องต้นของ โรคมะเร็ง ที่ต้องเฝ้าระวัง เราสามารถสังเกตุอาการโรคมะเร็งได้ด้วยตัวเราเอง เพราะเราในฐานะเจ้าของร่างกายย่อมต้องรู้ถึงความผิดปกติได้ก่อนผู้อื่น สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปเช่นการขับถ่ายเปลี่ยนไป คลำพบก้อนเนื้อ น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มผิดสังเกตุ มีเลือดออกที่อวัยวะต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก่อตัวของโรคมะเร็งได้ โดยควรสังเกตุอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

อาการผิดปกติของมะเร็งต่างๆ

1. มะเร็งเต้านม : ผู้ป่วยมะเร็ง อัลตราซาวด์ พบก้อนที่เต้านมหรือรักแร้เมื่อลองคลำดูรู้สึกเจ็บ ขนาดและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป หัวนมปกติเริ่มเป็นหัวนมบอด มีของเหลวหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม คือ มะเร็งเต้านม

2. มะเร็งปากมดลูก : ผู้ป่วยมะเร็งจะมีประจำเดือนผิดปกติโดยอาจมามากเกินไปหรือน้อยกะปริบกะปรอย มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและมีสีน้ำตาล ปวดช่องคลอดและมีเลือดออกหลังเพศสัมพันธ์ 

3. มะเร็งรังไข่ : ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ถือเป็น “ มะเร็งเงียบ ” ชนิดหนึ่งเพราะเป็น มะเร็ง ที่ตรวจพบยาก เนื่องจากไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่ชัดเจนเหมือนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังมีอาการคล้ายกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและขับถ่าย เช่น ปวดหน่วงๆบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา จุกเสียดอึดอัดแน่นท้อง ท้องผูก คลำเจอก้อนเนื้อแถวท้องน้อย ท้องโตขึ้นรวดเร็ว ปวดท้องกระทันหัน มีพุงห้อยย้อยระดับต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มักตรวจพบในระยะท้ายๆ ซึ่งมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายมะเร็งปากมดลูก คือประจำเดือนผิดปกติและมีเลือดออกกะปริบกะปรอยทั้งที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ ควรปรึกษาแพทย์และขอตรวจ อัลตร้าซาวด์ ผ่านช่องคลอดเพื่อดูรูปร่างและขนาดของรังไข่

4. มะเร็งตับ : ผู้ป่วย มะเร็ง ตับจะมีอาการเบื้องต้น ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบนและอาจปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ตัวเหลือง ตาขาวเป็นสีเหลือง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาหารท้องมาน ตับโตขึ้นจนท้องเปลี่ยนรูปร่างไป

5. มะเร็งปอด : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งปอด มีปัญหาเรื่องการหายใจเช่นหายใจมีเสียงหวีดๆหรือหายใจสั้นถี่ๆ เหนื่อยหอบ เหนื่อยง่ายและเหนื่อยเป็นประจำ หายใจไม่ทั่วท้อง เจ็บหน้าอก ไอบ่อย ไอเป็นเลือดออก เสียงแหบ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

6. มะเร็งกระเพาะอาหาร : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหารปวดท้องส่วนบนตรงกลาง ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนโดยอาจะมีเลือดปนมาด้วยและอาจะพบเลือดในอุจจาระ อุจจาระเป็นสีดำ น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ : ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะติดขัดและปวดแสบหลังปัสสาวะ มีอาการซีด อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดหลังตอนล่าง

8. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : ผู้ป่วย มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่มักมีความแปรปรวนในระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีอาการปวดหน่วงๆที่ลำไส้ซ้ายหรือขวาตามตำแหน่งก้อนมะเร็ง คลื่นไส้และอยากอาเจียนเป็นประจำ เบื่ออาหาร สำหรับมะเร็งลำไส้ตรงหรือทวารหนัก มักอุจจาระมีเลือดปน ปวดทวารหนักอย่างรุนแรง รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด

9. มะเร็งต่อมลูกหมาก : ปัสสาวะติดขัดและมีอาการปวด ปัสสาวะอ่อนไม่พุ่งแรง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวยาก เมื่อถึงจุดสุดยอดระหว่างร่วมเพศจะมีอาการเจ็บตอนหลั่งน้ำอสุจิ

10. มะเร็งเม็ดเลือดขาว : มักรู้จักในชื่อ ลูคิวเมีย ( Leukemia ) มักพบในคนไข้อายุน้อยแต่ก็เป็นได้ในทุกวัย อาการที่สังเกตุได้คือ เลือดออกง่าย เช่น เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ฟกช้ำดำเขียวง่าย เนื้อตัวเป็นจ้ำๆ เลือดจาง ซีด ร่างกายอ่อนแอเหนื่อยง่าย เป็นไข้ ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย น้ำหนักลด

11. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : พบก้อนที่บริเวณต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ผู้ป่วย มะเร็ง อาจยังไม่มีอาการเจ็บในช่วงแรกมีแค่มีขนาดโตผิดปกติ ต่อมทอนซิลโตขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้เป็นระยะ มักเหงื่อออกมากเวลากลางคืน

12. มะเร็งสมอง : ผู้ป่วยมะเร็งปวดศีรษะร่วมกับอาหารคลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรงจนไม่สามารถนอนหลับได้ มีปัญญาด้านการมองเห็น เช่น ตาพร่า เห็นแสงเป็นจุดๆลอยไปมา มีอาการชาที่แขน ขา ปลายนิ้ว มีทักษะในการรับรู้ การพูดสื่อสารไม่เหมือนเดิม สูญเสียการทรงตัว รู้สึกชาที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งและมีปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า หากตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็ง ควรติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองโดยด่วน เพราะการตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns. Palliat Med. 321