มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา

0
12566
อาการ สาเหตุและวิธีการรักษาโรคมะเร็งไต (Kidney Cancer)
มะเร็งไตเกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติบริเวณไต หรือเยื่อบุผิวซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เป็นตัวนำน้ำปัสสาวะให้ไหลลงสู่กรวยไต
อาการ สาเหตุและวิธีการรักษาโรคมะเร็งไต (Kidney Cancer)
มะเร็งไตเกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติบริเวณไต หรือเยื่อบุผิวซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เป็นตัวนำน้ำปัสสาวะให้ไหลลงสู่กรวยไต

มะเร็งไต ( Kidney Cancer )

มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) คือ ชนิดของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในไต โดยเกิดจากเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อไตและกรวยไตที่ผิดปกติ มักพบในวัยผู้ใหญ่ ปัจจุบันมะเร็งไตอาจจะมีปริมาณของผู้ป่วยที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่ก็ถือว่ามียอดของผู้ป่วยทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไต เป็นอวัยวะในร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ เนื้อไต และกรวยไต มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ คอยขับกรองของเสีย และเกลือแร่บางชนิด เช่น เกลือโซเดียม ออกจากร่างกาย

มะเร็งไต สามารถเกิดได้ทั้ง 2 ข้าง ไตของมนุษย์จะมีทั้งหมด 2 ข้างคือ ไตซีกซ้าย และไตซีกขวา อยู่บริเวณช่องท้องด้านหลังระดับเอว ภายในไตจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ได้แก่ เซลล์ของไตเองผู้ทำหน้าที่กรองของเสีย เซลล์เยื่อเมือกบุภายในกรวยไต เส้นเลือด และเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทุกชนิดสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้หมดทั้งสิ้น

สาเหตุมะเร็งไต เกิดจาก

มะเร็งไต เกิดจากภาวะของเชื้อมะเร็งขึ้นที่บริเวณเซลล์ของตัวไตเอง ซึ่งโรคมะเร็งไตก็สามารถเกิดขึ้นได้กับไตทั้งสองฝั่ง โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้น แต่ก็สามารถเกิดพร้อมกันได้ทั้งฝั่งเช่นกัน แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้นประมาณร้อยละ 2  โดยอาจจะเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่งเลย หรือเกิดขึ้นทีละฝั่งก็ได้เช่นกัน  ซึ่งผู้ที่เป็นโรคมะเร็งไต ที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ จะมีโอกาสเกิดมะเร็งไตทั้งสองข้างได้สูง มากว่าคนปกติ

มะเร็งไต คือ การเกิดภาวะของเชื้อมะเร็งขึ้นที่บริเวณเซลล์ของตัวไตเอง

มะเร็งไต จะแตกต่างกัน ระหว่างประเภทที่พบในผู้ใหญ่ กับประเภทที่พบในเด็ก ซึ่งประเภทที่พบในผู้ใหญ่นั้น จะมีโอกาสเกิดสูงใน ผู้ที่อายุอยู่ในช่วงประมาณ  55 – 60  ปี และสามารถพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่าความแตกต่างระหว่างมะเร็งไตและมะเร็งกรวยไต ทั้งไตและกรวยไต ล้วนแต่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกัน และอยู่ในระบบขับถ่ายของเสียด้วยกันทั้งคู่  หลายคนจึงมีความสงสัยว่า โรคมะเร็งไตที่เกิดกับอวัยวะทั้ง 2 ส่วน เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้ว มะเร็งทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้คือ

ชนิดของมะเร็งไต

1. ไตจะมีหน้าที่หลักคือ กรองของเสียออกจากร่างกายมาทางปัสสาวะ เชื้อมะเร็งจะเกิดขึ้นที่อวัยวะและเซลล์ของตัวไตเอง มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดรีนัลเซลล์ หรือเรียกย่อๆว่า อาร์ซีซี ( RCC : Renal Cell Carcinoma ) ซึ่งเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงของโรคปานกลาง

2. กรวยไตมีหน้าที่หลักคือ เก็บกักน้ำปัสสาวะในไต ก่อนปล่อยให้ไหลลงไปสู่ท่อไต เชื้อมะเร็งจะเกิดขึ้นที่ส่วนของกรวยไต เป็นมะเร็งของเซลล์เยื่อเมือกบุภายในกรวยไต ชนิดทีซีซี หรือ ทรานซิชันแนล ( TCC : Transitional Cell Carcinoma ) เป็นเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรงของโรคปานกลาง

สาเหตุการเกิด มะเร็งไต

ในทางการแพทย์ปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปหาต้นเหตุที่แท้จริง ของการเกิดมะเร็งไตได้  แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรค ดังต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งไตและมะเร็งเกือบทุกชนิด
  • พันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้บางชนิด ซึ่งคนที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรมชนิดนี้ มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งไตได้ถึงร้อยละ 45 และมักมีโอกาสเกิดมะเร็งกับไตทั้งสองข้างสูง
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน  และ ผู้ที่มีภาวะมีโรคความดันโลหิตสูง
  • อาจเกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็งบางชนิดในสถานที่ทำงาน เช่น จากการทำเหมืองแร่ เช่น แร่แคดเมียม   ( Cadmium ) หรือแอสเบสตอส ( Asbestos )
  • เกิดจากอาหารและยาที่ทานเข้าไป มีข้อพบมูลว่า ผู้ที่ทานอาหารประเภทโปรตีน หรืออาหารที่มีไขมันสูง เข้าไปในปริมาณมากๆ และไม่ค่อยทานผักและผลไม้ จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งไตได้มากกว่าผู้ที่ทานอาหารครบห้าหมู่และสมดุลกัน

อาการของมะเร็งไต

โดยปกติแล้ว โรคมะเร็งไต จะไม่มีอาการเฉพาะตัวของโรค ในระยะแรกที่ก้อนเนื้อมะเร็งยังไม่ใหญ่มาก ผู้ป่วยจะยังคงใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการใดๆแสดงออกมาเด่นชัด แต่เมื่อก้อนมะเร็งเริ่มใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามแล้ว ผู้ป่วย จะเริ่มมีอาการคล้ายกับการเกิดการอักเสบของไต โดยอาการของโรคมะเร็งไตที่พบได้บ่อยๆ เช่น

  • มีอาการปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต แบบเรื้อรัง โดยจะมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
  • คลำพบก้อนเนื้อในช่องท้องบริเวณตำแหน่งของไต ( ทั้งสองข้าง )

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งไต

เนื่องจาก โรคมะเร็งในไต ยังเป็นโรคที่ผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก ประกอบกับแหล่งของข้อมูลยังน้อยอยู่ จึงทำให้หลายคนวิตกกังวลว่า จะสามารถทราบได้อย่างไรว่าตัวเราเองป่วยเป็นโรคชนิดนี้  ซึ่งในทางการแพทย์จะมีวิธีในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งไต ได้หลายวิธี เช่น การสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ ( MRI ) การอัลตราซาวด์ภาพไต  เป็นต้น  แต่แพทย์จะไม่นิยมใช้วิธีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เนื่องจากมีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยสูง เพราะไต เป็นอวัยวะอยู่ลึกและมีลำไส้ซ้อนอยู่ และยังอยู่ใกล้หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่อีกด้วย หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น อาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ วิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อมีการผ่าตัดเกิดขึ้นแล้ว โดยจะทำไปพร้อมกันเลย

ระยะของมะเร็งไต

เราสามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งไต ได้เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้ออกเป็น 4 ระยะดังต่อไปนี้

มะเร็งไต ระยะที่ 1 : เป็นระเริ่มต้นของโรค ก้อนมะเร็งลุกลามเฉพาะในไต และก้อนเนื้อจะมีขนาดโตไม่เกิน 7 ซม.

มะเร็งไต ระยะที่ 2 : ก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะในไต เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเกินกว่า 7 เซนติเมตร

มะเร็งไต ระยะที่ 3 : ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียงหรือเส้นเลือดดำของไตและลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ไต

มะเร็งไต ระยะที่ 4 : ก้อนมะเร็งลุกลามออกจากไต เข้าเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ หลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ โดยเฉพาะต่อมหมวกไตหรือแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองอยู่ไกลออกไปจากไต หรือแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆที่ไกลออกไป ส่วนที่พบบ่อยคือ ปอด กระดูก และสมอง เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้แล้ว
ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถทราบได้ว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็ง ถึงในขั้นระยะไหนแล้ว

จากการตรวจวินิจฉัยของแพทย์จากวิธีการต่างๆ  เพื่อนำข้ออมูลที่ได้ไปใช้ในกระบวนการรักษาต่อไป [banner slot1=”oral_6″ slot2=”oral_6″ slot3=”oral_6″ slot4=”oral_6″

การรักษามะเร็งไต

ในการรักษามะเร็งไต นั้น จะขึ้นอยู่กับระยะและอาการของโรคในผู้ป่วยแต่ละคน โดยแพทย์จะเป็นผู้วิเคราะห์แนวทางในการรักษา  ซึ่งวิธีการหลักที่ใช้ในการรักษามะเร็งไตก็คือ การผ่าตัด  แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคมะเร็งในระยะที่ลุกลามแล้ว จะใช้วิธีรังสีรักษา หรือ การให้เคมีบำบัด แต่โรคมะเร็งไตนั้นเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ดื้อต่อยาเคมี บำบัดที่ใช้รักษาอยู่ในปัจจุบัน จึงใช้วิธีนี้ไม่ค่อยได้ผล ส่วนวิธีอื่นๆยังคงอยู่ในกระบวนการศึกษาทางการแพทย์ต่อไป
โรคมะเร็งไต เป็นโรคชนิดที่มีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งไต สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ยังไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ  นอกจากนี้ยังต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น อายุ ร่างกาย ความแข็งของผู้ป่วย เป็นต้น

การตรวจคัดกรองมะเร็งไต และ การป้องกัน

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไต ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น  สิ่งที่ทำได้คือ คอยสังเกตถึงความผิดปกติต่างๆในร่างกาย หากมีความผิดปกติอะไรที่มีอาการคล้ายโรคมะเร็งไต ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ทันทีจะดีที่สุด ส่วนการป้องกันโรคมะเร็งไตก็ยังไม่มีวิธีการใด ที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือ ทำร่างกายของตนเองให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและเหมาะสม รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆในการก่อมะเร็ง เท่าที่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
แม้ว่ามะเร็งไต จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย เหมือนมะเร็งประเภทอื่นๆ และมีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปลานกลางเท่านั้น  แต่ทั้งนี้หากเลี่ยงได้ก็คงไม่อยากที่จะป่วยเป็นโรคร้ายชนิดนี้ ทั้งนี้ในปัจจุบันที่ยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรค รวมถึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรค ทางที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถทำได้ก็คือ ทำให้ร่างกายตนเองมีความแข็งแรง หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อันที่จะนำไปสู่ให้เกิดโรค นอกจากนี้หากพบความผิดปกติใดเกิดขึ้นกับร่างกาย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Tongaonkar HB, Desai SB (September 2005). “Benign mixed epithelial stromal tumor of the renal pelvis with exophytic growth: case report”. Int Semin Surg Oncol. 2: 18. PMC 1215508 Freely accessible. PMID 16150156. 

Nzegwu MA, Aligbe JU, Akintomide GS, Akhigbe AO (May 2007). “Mature cystic renal teratoma in a 25-year-old woman with ipsilateral hydronephrosis, urinary tract infection and spontaneous abortion”. Eur J Cancer Care (Engl). 16 (3): 300.