มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูก ( Nasopharyngeal Cancer ) คือ เนื้อร้ายที่อยู่ในโพรงจมูก ซึ่งจะเกิดขึ้นจากบริเวณผนังของโพรงหลังจมูก เมื่อเข้าสู่ระยะลุกลาม จะสามารถแสดงอาการออกมาได้อย่างหลากหลาย นั่นก็เพราะบริเวณหลังโพรงจมูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสำคัญมากมายหลายชนิด จึงทำให้ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาการที่แสดงออกมาก็จะขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนไหนนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งโพรงหลังจมูกก็จะลุกลามเข้าสู่ลูกตา ลำคอ เส้นประสาทต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอและสมอง เป็นต้น
โพรงหลังจมูก เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมระหว่างโพรงจมูกและคอหอยด้านบน โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Nasopharynx ซึ่งตัดเป็นก้อนเนื้อในระบบลำคอ ศีรษะและหูคอจมูก โดยโพรงจมูกนั้นจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งทุกเซลล์สามารถกลายเป็นมะเร็งได้หมด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากเยื่อเมือกบุภายในของหหลังโพรงจมูก และไม่ค่อยแสดงอาการออกมาในระยะเริ่มแรก โดยมักจะตรวจพบก็ต่อเมื่อ มะเร็งหลังโพรงจมูก ได้ลุกลามไปมากแล้วนั่นเอง
สาเหตุมะเร็งโพรงหลังจมูก
สาเหตุของมะเร็งโพรงหลังจมูก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างรวมกัน จนทำให้กลายเป็นมะเร็งในที่สุด ได้แก่ ความผิดปกติจากพันธุกรรม โดยเฉพาะเซอร์มาร์ค ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยมีทั้งชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ เชื้อชาติ โดยจากเชื้อชาติพบว่า มะเร็งหลังโพรงจมูกจะพบได้มากในคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคนเชื้อชาติจีนตอนใต้
การติดเชื้อไวรัสชนิด EBV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จะทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็งการได้รับสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศและการรับประทานอาหารบางชนิดซ้ำๆเป็นประจำ
อาหารที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ เช่น อาหารหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้มักจะเกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าไนโตรซามีนเมื่อร่างกายได้รับเข้าไปสะสมเป็นเวลานาน จึงทำให้กลายเป็นมะเร็งร้ายในที่สุด
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าโรค มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นโรคที่ติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับแรกของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคนจีนตอนใต้ แต่หากดูจากประชากรทั่วโลกจะพบเพียงแค่ประปรายเท่านั้น และหากเทียบตามช่วงอายุแล้ว ก็จะพบได้บ่อยที่สุดในคนที่มีอายุ 45-55 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 2-3 เท่า
มะเร็งหลังโพรงจมูก มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยมากที่สุดแค่ 2 ชนิดเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ชนิด สความัส และชนิดอันอิฟเฟอเรนต์ชิเอท ( Undifferentiated Carcinoma ) โดยความรุนแรงจะอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยด้วย
อาการของมะเร็งหลังโพรงจมูก
อาการของมะเร็งหลังโพรงจมูก จะไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และมักจะแสดงอาการออกมาเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วอีกด้วย แต่ก็มีอาการที่สามารถสังเกตได้ โดยจะคล้ายกับการอักเสบของโพรงจมูกแต่จะเป็นแบบเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีธรรมดาให้หายได้ซึ่งสังเกตอาการได้ดังนี้
1. เป็นหวัดเรื้อรัง แม้จะกินยาอย่างต่อเนื่องก็ไม่หาย
2. มีอาการหูอื้อ หรือมีเสียงในหูเรื้อรัง
3. น้ำมูกมีเลือดปนออกมา
4. เลือดกำเดาไหลบ่อย โดยไม่ทราบสาเหตุ
5. ปวดศีรษะเป็นประจำและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
6. ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากการเน่าของก้อนเนื้อหรือการติดเชื้อ
7. มองเห็นภาพซ้อน โดยในบางรายก็อาจมีอาการตาเหล่ด้วย
9. ใบหน้ามีอาการชา
10.คลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอ โดยอาจพบมากกว่า 1 ก้อน
การวินิจฉัยมะเร็งหลังโพรงจมูก
การวินิจฉัยโรค แพทย์จะสอบถามประวัติอาการป่วย และทำการตรวจ โดยเฉพาะการตรวจหลังโพรงจมูกโดยแพทย์หูคอจมูก และที่สำคัญคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ
ระยะของมะเร็งหลังโพรงจมูก มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามอยู่แค่ภายในหลังโพรงจมูกเท่านั้น ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อภายในลำคอ และต่อมน้ำเหลือง แต่ต่อมน้ำเหลืองยังโตไม่เกิน 6 เซนติเมตร
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่กระดูกที่ฐานสมอง และพบต่อมน้ำเหลืองโตไม่เกิน 6 เซนติเมตร
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่สมอง ตา เส้นประสาทสมองและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ ซึ่งพบมีขนาดโตกว่า 6 เซนติเมตร
ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็น มะเร็งหลังโพรงจมูก อยู่ในระยะใด แพทย์จะตรวจด้วยวิธีเช่นเดียวกันกับการตรวจหามะเร็งโพรงหลังจมูก และที่สำคัญคือการตัดชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยานั่นเอง
การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก
การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการล้างจมูกหรือที่เรียกว่ารังสีรักษาเป็นหลัก พร้อมกับการทำเคมีบำบัดร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการจะรักษาด้วยวิธีไหนอย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะของโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกันส่วนการผ่าตัดจะไม่นำมาใช้กับการรักษามะเร็งชนิดนี้ เนื่องจากเกิดในตำแหน่งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
ส่วนการคัดกรองตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการสังเกตตนเอง ซึ่งหากพบอาการป่วยแบบเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งอย่างเด็ดขาด
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.