- ลิปิดโปรไฟล์คืออะไร ? ( Lipid Profile )
- ความดันต่ำเกิดจากอะไร ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างไร
- โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน
- โรคไขมันพอกตับ ( Fatty Liver Disease )
- ความดันโลหิตสูง ( Hypertension )
- อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
- การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด
- การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบ
- สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure )
- สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร?
- LDL คืออะไร มีโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
- High Density Lipoprotein ( HDL ) คืออะไร
- ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) คืออะไร?
- คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) คือ อะไร ?
- ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว ( LDL ) ไขมันชนิดดี ( HDL ) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
ลิปิดโปรไฟล์ Lipid Profile คือ
ลิปิดโปรไฟล์ ( Lipid Profile ) คือ กระบวนการตรวจไขมันในเลือด ซึ่งทางแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดแล้วนำเลือดมาตรวจหาค่าของไขมันชนิดต่างๆเพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease ) โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ( Coronary Artery ) ตีบหรือตันโดยสาเหตุที่ทำให้ตีบตันก็คือ การมีไขมันในร่างกายปริมาณสูงนั้นเอง
ไขมัน คือ องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ เป็นแหล่งที่คอยให้พลังงานต่อร่างกายโดยในร่างกายมนุษย์เราจะประกอบไปด้วยไขมันหลากหลายชนิด Lipid Profile มีทั้งชนิดดีและชนิดที่ไม่ดีปะปนกันไป ซึ่งไขมันในบางตัวอย่าง Lipid Profile ว่า คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ถ้ามีปริมาณที่มากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันสูงเส้นเลือดแข็งตัวและหลอดเลือดอุดตัน ก็จะเพิ่มสูงตามไปด้วย
ดังนั้นก่อนที่ร่างกายจะพบปัญหาเรื่องมีปริมาณไขมันชนิดร้ายเกินในร่างกาย ทางการแพทย์จึงต้องมีกระบวนการที่เรียกว่า การตรวจระดับไขมันในเลือด หรือ Lipid Profile ขึ้นมา เพื่อทำการตรวจสอบค่าความผิดปกติไขมันในเลือดของมนุษย์ ให้สามารถทราบถึงปริมาณของไขมันต่างๆในร่างกาย และยังช่วยให้รักษาได้ทันเวลาก่อนที่จะเกิดโรคร้ายๆนั้นเอง
ค่า Lipid Profile ที่ใช้ในการตรวจ
ไขมันในเลือดที่ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดทางการแพทย์ก็จะมีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) ไขมันชนิดไม่ดี ( LDL-Cholesterol ) ไขมันดี ( HDL-Cholesterol ) และ ไขมันไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก ( VLDL ) แต่ในการตรวจบางครั้งอาจจะทำการตรวจแค่ 4 ประเภท โดยจะตัดการ ตรวจ VLDL ออกไป
1. การตรวจ Total Cholesterol ( TC ) คือ การตรวจปริมาณของค่าของคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งคอเลสเตอรอลไม่ใช่ไขมันชนิดร้ายเสมอไป แต่เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นสิ่งที่นำไปใช้ผลิตผลิตฮอร์โมนเพศในร่างกาย
สามารถสร้างขึ้นมาได้จากตับประมาณ 70 % และจากการทานอาหารเข้าไป30 %
มีสูตรในการคำนวณคือ TC = HDL + LDL + 20% TG
ค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจ
ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุ ปริมาณที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 200 mg/dL
เด็ก ปริมาณที่เหมาะสมต้องอยู่ระหว่าง 120 – 200 mg/dL
2. การตรวจไขมันดี ( HDL-Cholesterol ) คือ การตรวจไขมันในเลือด ตรวจหาค่าของ HDL-c หรือปริมาณของไขมันชนิดดีในร่างกาย ยิ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใดยิ่งดีมากต่อร่างกายเท่านั้นมีสูตรในการคำนวณ คือ Total Cholesterol ( TC ) / HDL Cholesterol Ratio ( HDL )
ค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจ
เพศชาย ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 5 หรือต่ำกว่า
เพศหญิง ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 4.4 หรือต่ำกว่า
3. การตรวจไขมันชนิดไม่ดี ( LDL-Cholesterol ) คือ การตรวจหาค่าของ LDL-c หรือปริมาณของไขมันชนิดไม่ดีที่มีอยู่ในร่างกาย หากมีค่านี้มากจะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
มีสูตรในการคำนวณ คือ LDL = TC – HDL – 20% TG
ค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจ
เพศชาย ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 100 mg/dLเพศหญิง ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 110 mg/dL
4. การตรวจไขมัน ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ ( VLDL ) คือ การตรวจปริมาณของไขมันชนิดไม่ดีอีกตัวหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกาย นอกจาก LDL แล้วเป็นไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำในการพา TG เข้าสู่ร่างกาย
มีสูตรในการคำนวณ คือ VLDL = 20% TG
ค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจ
คนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ จะพบว่ามีค่า VLDL อยู่ระหว่าง 7 – 32 mg/dL
5. การตรวจ ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) คือ การตรวจปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นชนิดไขมันที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล แต่จะมีการให้พลังงานหรือมีแครอรี่ ที่ไม่พบในคอเลสเตอรอลได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และอาหารประเภทไขมัน
ค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจ
ผู้ชาย ไตรกลีเซอไรด์ มีค่าอยู่ระหว่าง 40 – 160 mg/dL
ผู้หญิง ไตรกลีเซอไรด์ มีค่าอยู่ระหว่าง 35 – 135 mg/dL
อาหารหรือไขมัน ที่ส่งเสริมให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลให้เกิดจำนวน HDL หรือ LDL
อาหารหรือไขมันที่มีผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือดสามารถแบ่งตามชนิดของไขมันได้ 4 ชนิดดังต่อไปนี้
1. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Monounsaturated Fat )
2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fat )
3. ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat )
4. ไขมันทรานส์ ( Trans Fat )
ชนิดไขมัน | แหล่งไขมัน | ผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือด |
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว | น้ำมันมะกอก , น้ำมันถั่วลิสง ,เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ,ถั่วอัลมอนด์ ,ถั่วลิสง และอื่นๆ | HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง |
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน | น้ำมันข้าวโพด , น้ำมันถั่วเหลือง,น้ำมันดอกคำฝอย,น้ำมันดอกทานตะวัน,น้ำมันเมล็ดฝ้ายเนื้อปลาทุกชนิด | HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง |
ไขมันอิ่มตัว | น้ำมันสัตว์ทุกชนิด ,เนยที่ผลิตจากน้ำนมสัตว์ ,ไอศกรีม,เนื้อสัตว์ทุกชนิด ,ไข่ , ช็อกโกแลต ,มะพร้าว, กะทิ, น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันปาล์ม | HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง |
ไขมันทรานส์ | เนยเทียม (Margarine) , ผงฟูทำขนมฝรั่งทุกชนิด ,มันฝรั่งทอด , อาหารทอดความร้อนสูงในร้าน Fast-Food , ครีมเทียมใส่กาแฟ | HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง, TG สูงขึ้น |
ในแต่ละวันร่างกายมนุษย์เรา มี Lipid Profile ไขมันเกิดขึ้นในร่างกายมากมายหลายประเภท ทั้งการผลิตจากตับและการทานอาหารประเภทต่างๆเข้าไปซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ ปล่อยให้มีปริมาณไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะป่วยเป็นโรคร้ายจากไขมันเมื่อไหร่ดังนั้นการตรวจปริมาณไขมันในร่างกาย หรือ Lipid Profile จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ เพราะสามารถทำให้รู้ได้ว่ามีปริมาณของไขมันในร่างกายเป็นอย่างไรมีตัวไขมันดีและไม่ดีมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน หรือรับการรักษาจากแพทย์ที่เหมาะสม ทันเวลา ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายกับตัวของเรานั้นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
Davidson, Michael H. (28 January 2008). “Pharmacological Therapy for Cardiovascular Disease”. In Davidson, Michael H.; Toth, Peter P.; Maki, Kevin C. Therapeutic Lipidology. Contemporary Cardiology. Cannon, Christopher P.; Armani, Annemarie M. Totowa, New Jersey: Humana Press, Inc. pp. 141–142.
Balch, Phyllis A. (2006). “Carnitine”. Prescription for nutritional healing (4th ed.). New York: Avery. p. 54.
GILL, Jason; Sara HERD; Natassa TSETSONIS; Adrianne HARDMAN (Feb 2002). “Are the reductions in triacylglycerol and insulin levels after exercise related?”. Clinical Science. 102 (2): 223–231. Retrieved 2 March 2013.
Friedewald WT, Levy RI, Fredrickson DS. Estimation of the concentration of low-density lipoprotein cholesterol in plasma, without use of the preparative ultracentrifuge. Clin Chem. 1972.
Sidhu, D.; Naugler, C. (2012). “Fasting Time and Lipid Levels in a Community-Based Population: A Cross-sectional Study / Fasting Time and Lipid Levels”. Archives of Internal Medicine.