สารวัดค่ามะเร็งรังไข่ Cancer Antigen 125 ( CA 125 )

0
19978
CA 125 สารวัดค่ามะเร็งรังไข่
CA 125 เป็น สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่ามะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่ช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดี
CA 125 สารวัดค่ามะเร็งรังไข่
CA 125 เป็น สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่ามะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่ช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดี

Cancer Antigen 125 ( CA 125 ) คืออะไร

Cancer Antigen 125 ( CA 125 ) คือ สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่าการป่วยมะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่สุด ค่า CA125 มักมีค่าขึ้นสูงในผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ชนิด non-mucinous type รวมทั้งมะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปอด, มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร, มะเร็งตับอาจพบ CA 125 สูงกว่าปกติได้ในหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการอักเสบของช่องท้อง ( peritonitis ) และอวัยวะภายในช่องท้อง, ตับอ่อนอักเสบ ( acute pancreatitis ), ตับแข็ง ( cirrhosis ), การอักเสบของอวัยวะภายในช่องเชิงกราน

รังไข่ มีหน้าที่อะไร

หน้าที่ของรังไข่ คือ เป็นที่เกิดของไข่ หรือ โอวุม ( Ovum ) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงทำหน้าที่ตกไข่อย่างน้อย 1 เซลล์ ( หรือไข่ 1 ฟอง ) ในหนึ่งรอบเดือนช่วงวัยเจริญพันธุ์เพื่อพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ รังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ( Estrogen ) จากเซลล์หลักคือ Granulosa Cell และจาก Theca Cell ( เป็นส่วนน้อย ) ฮอร์โมนนเอสโตรเจนจะทำให้เกิดลักษณะภายนอกของเพศหญิง เช่น การเริ่มมีประจำเดือน การเกิดเต้านม มีขนมที่อวัยวะเพศ มีไขมันใต้ผิวหนังบริเวณสะโพกและต้นขา เป็นต้น สร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนหรือโปรเจสติน ( Progesterone, Progestin ) ทำหน้าที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้พร้อมรับการฝังตัวของรกเมื่อตั้งครรภ์ หรือกลายเป็นเลือดประจำเดือนถ้าไม่เกิดการตั้งครรภ์ เป็นต้น

Cancer Antigen 125 ใช้ตรวจมะเร็งรังไข่

1. CA 125 ใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง และใช้สำหรับติดตามผลการรักษา เพื่อทราบว่าการรักษาให้ผลดีหรือล้มเหลวอย่างไร

2. CA 125 เป็นสารวัดค่ามะเร็งที่มีความไวมากจึงสามารถตรวจพบมะเร็งได้ดีกว่าสารชนิดอื่นๆ ซึ่งพบว่ามีความไวกว่าค่า AFP และค่า HCG มากทีเดียว

3. ถึงแม้ว่า CA 125 จะเป็นสารวัดค่ามะเร็งรังไข่ที่มีความไวมาก แต่ก็มีความแม่นยำเพียงแค่ 80% เช่นกัน เพราะพบว่าในผู้หญิงบางคนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่ แต่เมื่อตรวจกลับไม่พบค่าความผิดปกติของ CA 125 ได้เช่นกัน

ค่า Cancer Antigen 125  จะช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดีโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอาการท้องบวมหรือคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อยที่โตผิดปกติ

4. อย่างไรตามแม้จะตรวจพบว่าความผิดปกติที่ยืนยันได้ว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งรังไข่ ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อตรวจมะเร็งมดลูกโดยตรงอีกครั้ง โดยอาจใช้วิธีการอัลตราซาวด์หรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม   

5. CA 125 สามารถใช้ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาได้ โดยหากพบว่าหลังการรักษายังคงมีค่า CA 125 สูงกว่า 3,535 units / mL ก็จะถือว่าผู้ป่วยยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อทันที

6. อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะตรวจพบว่า Cancer Antigen 125 มีค่าที่สูงกว่าปกติ แต่ก็อาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความผิดปกติของอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง เยื่อบุช่องท้องอักเสบหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น หรือในบางคนที่มีสุขภาพปกติ ก็อาจตรวจพบค่า CA 125 ที่สูงเกินค่าปกติได้เหมือนกัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อมีการตรวจพบค่า CA 125 ที่สูงกว่าปกติก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกหรือตกใจจนเกินไป เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นอย่างที่คิด โดยอาจเป็นเพราะ

มีค่า CA 125 สูงกว่าปกติ แต่ความจริงแล้วไม่ได้ป่วยด้วยโรคอะไรเลย
มีค่า CA 125 สูงกว่าปกติ แต่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยอาจจะป่วยด้วยโรคอื่นๆที่มีผลต่อค่าดังกล่าว
มีค่า CA 125 สูงโดยคาดว่าน่าจะเป็นมะเร็ง แต่เมื่อตรวจวินิจฉัยกับแพทย์แล้ว กลับพบว่าไม่ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็งแน่นอน

ค่าปกติของ CA 125 คือเท่าไหร่

CA 125 จะมีค่าปกติอยู่ที่ CA 125 : 0-35 units / mL 

ค่าความผิดปกติของ Cancer Antigen 125

หากค่า CA 125 น้อยกว่า 35 units / mL คือ ปกติ

ค่า Cancer Antigen 125  มากปกติ

หากค่า CA 125 มากกว่า 35 units / mL คือ ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องภายในที่ไม่ใช่ช่องทางรังไข่ของอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง อาจเป็นโรคตับแข็ง โรคตับอ่อนอักเสบ หรือกำลังตั้งครรภ์หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

Cancer risk. British Journal of Cancer. 2010.