สารตรวจคุณสมบัติพิเศษของเลือดมีอะไรบ้าง
การใช้สารตรวจเพื่อหาสิ่งผิดปกติในร่างกายจากการตกตะกอนของเลือดแดงที่จะบอกถึงความร้ายแรงของโรค

ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR )

ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) คือ อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง เป็นการตรวจที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการอักเสบ การรายงานจะเป็น mm / h เชื่อว่าเมื่อมีการอักเสบจะมีการสร้าง Fibrinogen ซึ่งจะทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะติดกันทำให้ตกตะกอนได้เร็ว

การตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

เป็นการตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง ที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการอักเสบ

การตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงสามารถตรวจค่าแยกย่อยได้ดังนี้

การตรวจค่า ESR /mm / hr

สำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อทราบเกี่ยวกับอัตราการตกตะกอนของทางเม็ดเลือดแดง ESR ในการทราบผลนั้นจะใช้วิธีการนำเอาส่วนที่เป็นเลือดอันได้มาจากการนำเอาหลอดและเข็มดูดเลือดออกมาแบบทันทีจากนั้นก็ใส่เข้าไปภายในหลอดรับเลือดแล้วทิ้งนับเวลาเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้สังเกตว่ามีส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดงเกิดการตกตะกอนสูงขึ้นมาโดยจะวัดเป็นปริมาณลักษณะมิลลิเมตร สำหรับอัตราของความสูงที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการบ่งชี้ลักษณะความร้ายแรงของโรค ลักษณะอาการอักเสบ ลักษณะอาการขาดเลือดในส่วนของเนื้อเยื่อที่ในบางส่วนอาจเกิดการตายลง
ในการสรุปนั้นในส่วนของอัตราค่า ESR นั้นเป็นสิ่งที่แสดงค่าแบบหยาบ ๆ จะไม่มีการเจาะจงเข้าไปที่ส่วนของอวัยวะอันเป็นส่วนเกิดโรคหรือไม่สามารถที่จะนำไปใช้ในการเป็นเครื่องช่วยเพื่อที่จะบ่งชี้ในระดับชั้นขั้นต้นอย่างง่ายต่อขั้นของการเตรียมการในการทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายไม่ให้เกิดความยุ่งยากและทำให้เกิดการประหยัด ส่วนของเม็ดเลือดแดงนั้นตามปกติมักจะมีโปรตีนที่อยู่ภายในส่วนของฮีโมโกลบินอยู่จำนวนหนึ่ง โปรตีนนี้จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นมีระดับของน้ำหนักที่สูงกว่าในส่วนของพลาสมานั่นจึงทำให้เกิดการตกตะกอนเกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าส่วนของการตกตะกอนนั้นค่อย ๆ จมลงไปที่ก้นของหลอดทดลอง ในบุคคลที่มีสุขภาพเป็นปกตินั้นจะมีอัตราความเร็วที่จะส่งผลทำให้เกิดการตกตะกอนได้ส่วนหนึ่งแต่ในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคบางประเภทจะส่งผลทำให้โปรตีนนั้นเกิดการเพิ่มขึ้นได้ภายในกระแสเลือด การนี้จึงทำให้ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ESR นั้นย่อมมีค่าที่สูงมากกว่าตามปกติ ( เมื่อผ่านการเทียบกับส่วนของมาตรฐานผู้ที่สุขภาพเป็นไปตามปกติ )

ค่าปกติทั่วไป ( หน่วย : มม / ชั่วโมง )

ชาย : ค่า ESR ≤ 15 mm / hr

หญิง : ค่า ESR ≤ 20 mm / hr

เด็ก : ค่า  ESR ≤ 10 mm / hr

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT%

การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT% เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะทราบจำนวนของเม็ดเลือดแดง ที่ยังคงไม่เติบโตแบบเต็มที่แต่กลับมีการหลุดเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือด ตรวจออกมาในลักษณะของร้อยละ ( เปอร์เซ็นต์ )
ส่วนของ RETICULOVYTE เป็นส่วนของเม็ดเลือดแดงแบบที่เรียกว่าอยู่ในช่วงของวัยรุ่นเลยก็ว่าได้ เป็นส่วนที่มีร่องรอยของทางนิวเคลียสที่หลงเหลืออยู่เป็นลักษณะของจุดสีม่วงออกปนน้ำเงินติดอยู่ในนั้น ( หากคุณลองนำไปมองผ่านด้วยกล้องขายนั้นคุณจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันกับตาข่าย ) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ยังไม่มีคุณสมบัติพร้อมต่อการเข้าไปทำหน้าที่สำคัญที่เป็นเสมือนกับเม็ดเลือดแดงแบบทั่วไปที่อยู่ภายในกระแสเลือด

ส่วนของการที่ RETICULOVYTE นั้นหากเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือดแบบที่สูงเกินไปมากกว่าเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดนั่นย่อมแสดงถึงอาจเป็นการสร้างการเกิดความผิดปกติของส่วนไขกระดูกซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญและเป็นแหล่งในการผลิตเม็ดเลือดแดงหรืออาจจะเป็นการที่ร่างกายนั้นเกิดการสูญเสียเลือดหรืออาจเกิดความต้องการเกี่ยวกับกับออกซิเจนที่สูงผิดปกตินั่นจึงทำให้เกิดการต้องเร่งส่ง RETICULOVYTE ไปยังกระแสเลือด นอกจากนี้ยังรวมถึงการเกิดโรคโลหิตจางได้เช่นกัน
สำหรับค่า RETICULOVYTE COUNT ประกอบด้วย

– ค่า RETICULOVYTE COUNT นั้นเป็นส่วนที่จะต้องยึดถือให้เป็นไปตามค่าที่ได้มีการระบุเอาไว้ภายในส่วนของรายงานที่ใช้ในการแสดงผลเลือด

– ค่าที่เป็นไปตามปกติ

RETICULOVYTE COUNT เท่ากับ 0.5 – 2.0 % ของ RBC

 

หากเป็นกรณีของค่าผิดปกติของทาง RETICULOVYTE COUNT นั้นมีด้วยกันดังนี้

1. ในกรณีของทางน้อย นั่นอาจจะเป็นการแสดงผลว่า

  • เป็นผลที่อาจเกิดจากเรื่องของการมีพฤติกรรมบริโภคอาหารี่ขาดกรดสำคัญอย่าง “ กรดโฟลิก ” จนส่งผลทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคโลหิตจางประเภทร้ายแรง
  • เป็นสิ่งที่สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เป็นผลมาจากการขาดธาตุเหล็ก
  • เป็นสิ่งที่อาจเกิดกรได้รับการทำเคมีบำบัด การทำฉายรังสีบำบัด
  • อาจเป็นกำลังเกิดการป่วยเป็นโรคมะเร็ง
  • อาจเป็นการเกิดภาวะล้มเหลวภายในไขกระดูกเกิดขึ้นได้

2. ในกรณีของทางมาก นั่นอาจจะเป็นการแสดงผลว่า

  • เม็ดเลือดแดงนั้นอาจเกิดการถูกทำลายลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิเช่น เกิดจากการที่ระบบของภูมิคุ้มกัน, อาจเกิดจากการที่ป่วยเป็นโรคของฮีโมโกลบิน อาจเกิดจากโรคของม้าม
  • อาจจะเกิดขึ้นจากการตกเลือด อาทิเช่น การป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร ในช่วงระยะเวลา 3 จนถึง 4 วันที่ผ่านมานั้นจึงส่งผลทำให้ในส่วนของไขกระดูกจำเป็นที่จะต้องรีบทำการผลิตเม็ดเลือดจนส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงที่ยังมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ( ยังอยู่ในช่วงของวัยรุ่น ) จะถูกผลักให้ออกไปสู่ส่วนของกระแสเลือดในระยะเวลาก่อนเวลาและระยะเวลาก่อนวัยอันควร      [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
  • อาจจะเกิดการตอบสนองต่อระบบการรักษาอาการที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบี 12 หรือขาดธาตุโฟเลต ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อาจส่งผลกระตุ้นให้เกิดการผลิตเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไปในช่วงเวลาหนึ่งทำให้เม็ดเลือดที่เป็นเม็ดเลือดวัยรุ่นนั้นเกิดการหลุดเข้าไปภายในกระแสเลือดมากกว่าเดิมและอาจจะมีความเร็วมากกว่าที่ควรจะเป็น

การตรวจค่า Inclusion Body %

การตรวจค่า Inclusion Body % เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งวัตถุประสงค์คือ เพื่อต้องการทราบว่าในกระแสเลือดแดงที่ผิดปกติ ซึงเป็นจุดน้ำเงินเข้ม ติดอยู่ในเม็ดเลือดแดงบางเม็ดหรือไม่ ซึ่งถ้ามี มีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ” Inclusion Body ” จะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังมีส่วนขอนิวเคลียสติดหลงเหลืออยู่ โดยปกติเมื่อเม็ดเลือดเแดงโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส และไม่แบ่งตัว แต่ถ้าปรากฏจุดในเม็ดเลือดแดงนั่นแสดงถึงการเกิดความผิดปกติ อาจเกิดจากร่างกายได้รับโลหะเป็นพิษ หรือขาดสารอาหารบางอย่าง รวมทั้งอาจเกิดความพกพร่องของไขกระดูกที่ผลิตเม็ดเลือด หรือความพกพร่องของม้าม ดังนั้นเมื่อค่าที่ตรวจพบมีเปอร์เซ็นต์มากกว่า 0 ย่อมแสดงถึงความร้ายแรงของโรคมากขึ้นเท่านั้น

การตรวจค่า HEINZ BODIES %

การตรวจค่า HEINZ BODIES % เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับส่วนของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ภายในประแสเลือด ซึ่งจะมีจุดคล้ายกันกับสิ่งสำคัญอย่าง “ INCLUSION BODY ” แต่จะเป็นไปในลักษณะที่ใหญ่กว่าและจะมีสีที่ดูออกม่วงและดูใส สังเกตว่ามีอยู่ภายในนั้นหรือไม่ หากมีพบอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง HEINZ BODIES นั้นอาจเกิดขึ้นจากผลของการขาดเอนไซม์ประเภท G-6 PD เกิดจากการที่ค่าของฮีโมลโกลบินที่อยู่ภายในเม็ดเลือดมีค่าไม่กันในแต่ละเม็ด อาจเกิดจากการป่วยด้วยโรคโลหิตจางประเภทธาลัสซีเมีย อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ในการเกิดโรคโลหิตจางประเภทต้านทางการทำลายตัวเอง หากเป็นกรณีของบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงดีไม่ควรที่จะต้องมี HEINZ BODIES อยู่ภายในกระแสเลือด และนั่นจึงทำให้ไม่มีการกำหนดเกี่ยวกับค่าปกติที่ควรเป็นของ HEINZ BODIES ไว้เลยนั่นเอง

การตรวจค่า G-6 PD IU/100 ml.RBC

การตรวจค่า G-6 PD IU/100 ml.RBC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ทราบว่าค่าเอนไซม์แบบ GLUCOSE-6-PHOSPHATE DEHYDROGENASE (G-6 PD) ตรวจดูว่ามีจำนวนที่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มากน้อยเท่าใด หากพบว่าเข้าเกณฑ์ต่ำกว่าแบบนี้จะเรียกว่า “ G-6 DEFICIENCY ”
คำว่า “ G-6 PD ” นั้นเป็นส่วนของเอนไซม์ประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยในเรื่องของการเผาผลาญกลูโคสได้และยังเป็นตัวที่ช่วยเรื่องของการปกป้องเม็ดเลือดแดงได้ในช่วงที่มีการใช้ยาเพื่อต่อสู้ในระหว่างการรักษาอีกด้วย ในกรณีของการเกิดอาการอย่างการขาดเอนไซม์ประเภท G-6 PD นั้นเรียดอีกชื่อหนึ่งว่า “ G-6 PD DEFICIENCY ” ซึ่งจะส่งผลที่ร้ายแรงในลักษณะแบบใดแบบหนึ่งหรือไม่ก็ส่งผลแบบพร้อมกันทีเดียวไปเลยได้เช่นกัน

กลุ่มยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและตกตะกอน ในกลุ่มผู้อยู่ในภาวะ G-6 PD deficiency

Actanilid              Methylene blue       Quinidine
Antimalarials       Nalidxic acid            Sulfa
Antipyretics         Nitrofurantion          Sulfonamides
Ascorbic acid       Phenacetic               Thiazide diuretics
Aspirin                Phenazopyridine       TOBUTamide
Dapsone             Primaquine               Vitamin K

สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นโรค G-6 PD deficiency ก็มักจะมีอาการที่แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดคือ ผิวซีดผิดปกติ เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว หายใจแบบสั้นๆ มีอาการของโรคดีซ่าน ม้ามโต และปัสสาวะออกเป็นสีชา

ค่าเอนโซม์ G-6 PD อาจแสดงได้ 2 วิธี คือ เป็นจำนวน I.U. ( International unit ) ต่อน้ำหนัก 1 กรัม ของฮีโมโกลบิน หรือเป็นจำนวน I.U. ต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยตัวเลขค่าเอนไซม์ปกติของ G-6 PD ที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้

1. 4.3 – 11.8 I.U. ต่อกรัมของฮีโมโกลบิน

 

2. 146 – 376 I.U. per 10 ยกกำลัง ( 12 ) / RBC ยกกำลัง ( 10-1 )

 

ค่าปกติของเอนไซม์ ประกอบด้วย

1.สิ่งที่ยึดถือไว้ตามที่ค่าที่ได้มีการระบุเอาไว้ในส่วนของใบแสดงรายละเอียด

2.ค่าที่เป็นค่าตามปกติ สำหรับค่าที่เป็นค่าผิดปกติของตัวเอนไซม์ประเภท G-6 PD นั้นสำหรับทางน้อยนั้นอาจจะเป็นผลมาจากการที่เป็น G-6 PD DEFICIENCY ( ซึ่งจะเป็นไปได้จริงหากพบว่ามีอาการที่เป็นไปตามข้อที่ 4 ร่วม ) อาจเป็นสิ่งที่เกิดจากโรคโลหิตจางประเภทเม็ดเลือดแดงเกิดการแตกได้ง่าย แต่หากเป็นในกรณีของทางมากนั่นก็อาจจะแสดงผลมาจากการที่ร่างกายนั้นเกิดโรคโลหิตจางประเภทที่ร้ายแรงมากเนื่องจากการขาดวิตามิน B12 อาจเกิดจากโรคโลหิตจางประเภทเม็ดเลือดแดงเกิดภาวะโต อาจเกิดขึ้นจากการขาดเลือดในส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดจากปัญหาของต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานมากเกินไป

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

การตรวจค่า Malaria

การตรวจค่า Malaria เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบว่ามีเชื้อของไข้มาลาเรียที่เกิดการเข้าสู่ร่างกายและเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือดบ้างหรือไม่ มีการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด เชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของ PLAMODIUM เป็นเชื้อที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้แต่จะต้องนำมาโดยพาหะสำคัญ นั่นคือ ยุงก้นปล่อง ( ตัวเมีย ) ที่จะทำการเจาะ ดูดกินเลือดของมนุษย์จากนั้นก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าไปภายในเลือดของมนุษย์เราผ่านทางน้ำลายของยุงนั่นเอง เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ภายในเม็ดเลือดแดงและนั่นก็ไม่ใช่การดีกับเม็ดเลือดแดงเลย จะเป็นตัวที่ส่งผลเข้าไปทำลายโดยตรง เชื้อประเภทนี้ไม่สามารถที่จะติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ เมื่อใดที่เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกสลายลงเนื่องจากเชื้อมาลาเรียนั่นจะเป็นการส่งผลกระทบในเรื่องของการลดประสิทธิภาพเกี่ยวกับกระบวนการขนส่งออกซิเจนรวมถึงสารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่จะส่งไปเลี้ยงเซลล์ภายในร่างกาย และเซลล์เหล่านั้นก็จะไม่คงเหลือพลังงานที่เพียงพอในการจะได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างที่ควรจะเป็นอีกทั้งร่างกายยังไม่สามารถที่จะรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายได้จนทำให้เกิดอาการหนาวสั่นหรือที่เราเรียกกันว่าอาการไข้จับสั่น สำหรับวิธีการตรวจก็สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดแล้วนำไปฉาบลงบนกระจก จากนั้นก็นำไปส่องด้วยสิ่งที่รู้จักกันดีอย่าง “กล้องจุลทรรศน์” ส่วนนี้มักจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง เจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิคการแพทย์

การตรวจค่า Bleeding Time min.

การตรวจค่า Bleeding Time min เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะทราบว่าภายในผิวหนังของคนเราเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นจนทำให้มีเลือดไหลจะต้อใช้เวลาเท่าใดเลือดถึงจะสามารถทำการสร้างสิ่งสำคัญอย่างลิ่มเลือดขึ้นมาได้และทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง
การ BLEEDING TIME เป็นเรื่องของการทดสอบแบบง่ายซึ่งทางผู้ที่ทำการทดสอบจะต้องเป็นบุคคลที่ทำงานทางด้านการแพทย์หรือทางด้านการพยาบาลโดยเฉพาะเท่านั้น สำหรับวิธีการตรวจสอบคือผู้ที่เข้ารับการทดสอบนั้นจะต้องถูกกพันแขนด้วยแผ่นยางแบบอัดลม ( ที่ใช้ในการวัดความดันโลหิตนั่นเอง ) ที่ส่วนของงแขนท่อนบน จุดเดียวกับที่ทำการวัดความดันโลหิต ในการอัดลมเข้าไปจะให้ความดันอยู่ที่ 40 มิลลิเมตรปรอท
ค่าปกติของ Bleeding time
สำหรับค่าปกติให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด ( ถ้ามี ) หรือค่าปกติทั่วไปคือ

Bleeding time : 3 – 6 min

 

ค่าผิดปกติของ Bleeding time

1.ในทางน้อย อาจแสดงว่า ร่างกายมีเกล็ดเลือดมากเกินไป

2.ในทางมาก อาจแสดงว่า ร่างกายมีเกล็ดเลือดต่ำเกินไป ( thrombocytopenia ) อาจเกิดจากการขาดวิตามิน ซี ไขกระดูกอาจทำงานบกพร่อง ทำให้ผลิตเกล็ดเลือดออกมาในปริมาณที่ต่ำเกินไป กำลังเกิดโรคมะเร็งในไขกระดูก เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เกิดสภาวะม้ามทำงานเกิน ( hypersplenism ) หรือม้ามโต จึงทำลายเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ และอาจเกิดโรคตับร้ายแรง

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

การตรวจค่า Clotting Time min

การตรวจค่า Clotting Time min เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับเวลา ( นาที ) ในช่วงที่เลือดไหลออกมาจากร่างกายและเกิดสภาวะการแข็งตัวเกิดขึ้น ซึ่งใช้เวลานานเท่าใด
สำหรับวิธีในการทดสอบนั้นก็จะมีลักษณะที่เป็นไปคล้ายกันกับวิธีการตรวจเลือดแบบทั่วไป คือ จะใช้วิธีการเจาะเลือดโดยจะดูดเลือดออกมาจากทางหลอดเลือดดำและนำเอาเลือดที่เจาะได้ใส่ลงไปภายในหลอดเลือดที่ได้มีการหล่อน้ำเอาไว้ด้วยอุณหภูมิที่มีระดับเท่ากันกับอุณหภูมิของร่างกายคนเรา นั่นคือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ( เท่ากับอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ) ก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะนำเอาเลือดที่ได้ไปส่งให้กับทางห้องปฏิบัติการเพื่อเข้ารับการตรวจในขั้นต่อไป เมื่อทางเจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการได้รับเลือดเรียบร้อยทางเจ้าหน้าที่จะทำการเอียงคว่ำหลอดเลือดลงโดยจะทำการกลับหลอดเลือดไปมาเป็นประจำทุกระยะเวลา 30 วินาทีจนกว่าที่เลือดนั้นจะหยุดสภาพของการเป็นของเหลวลงซึ่งทั้งนี้จะเริ่มทำการเริ่มจับเวลาจนกระทั่งถึงเวลาที่เลือดเกิดการแข็งตัวและจะทำการตับเวลาใหม่อีกครั้งเริ่มตั้งแต่ช่วงที่เลือดเกิดการแข็งตัวยาวไปจนกระทั่งถึงเวลาที่เกิดการยุบตัวลงไปประมาณร้อยละ 50 ( สามารถสังเกตได้จากทางด้านข้างของตัวหลอดแก้ว )

CLOTTING TIME นั้นมักที่จะใช้ในการทดสอบร่วมกันกับส่วนของการยุบตัวของเลือดโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการแข็งตัวเกิดขึ้น ( CLOT RETRACTIONหรือ การยุบตัวของก้อนเลือดจะ ) ซึ่งมีค่าปกติคือ

  • ค่าปกติของ CLOTTING TIME ตามปกติจะอยู่ที่ 5 – 8 นาที
  • ค่าปกติของการยุบตัวของก้อนเลือดจะปกติอยู่ที่ 50% ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง

สำหรับค่าของ CLOTTING TIME นั้นหากเป็นค่าที่ตั้งแต่ 8 นาทีขึ้นไปนั่นอาจจะเป็นการแสดงผลเกี่ยวกับ
1.ร่างกายนั้นอาจจะเกิดการขาดในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นตัวช่วยในการทำให้เลือดนั้นเกิดการจับตัวเป็นก้อนแบบรุนแรง อาทิเช่น ค่าโปรตีนรวมที่อยู่ภายในเลือดอาจจะมีปริมาณที่ต่ำมากเกินไป , อาจจะมีค่าของแคลเซียมที่อยู่ภายในเลือดน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้งนี้หากกรณีนี้มีวิตามินเคที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าด้วยนั่นจะยิ่งเป็นการทำให้เกิดการจับตัวของเลือดมากยิ่งขึ้น

2.อาจจะมีส่วนของยาประเภทยาลิ่มเลือดที่อาจตกค้างอยู่ภายในกระแสเลือด ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดประเภทยา NSAID หรือยาแอสไพลิน เป็นต้น

เลือดมนุษย์ได้ถูกเปรียบเทียบไว้ว่าเป็นเสมือนโบกี้ตู้รถไฟที่มีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดก็จะคล้ายกับล้อ เพลา ความจุของที่นั่ง ถ้าไม่มีความเสียหายก็จะนำสินค้าและผู้โดยสารไปถึงจุดหมายอย่างไร้ปัญหา

การตรวจค่า Hb Typing

การตรวจค่า Hb Typing เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีวัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อทราบชนิดของ Hb ( ฮีโมโกลบิน ) ว่าประเภทใดมีความโดดเด่น และจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงจำนวนของประเภทอื่น ๆ ในลักษณะของเปอร์เซ็นต์ที่ครบถ้วนก็เป็นได้
มีเครื่องมือประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์แบบสมัยใหม่ที่สามารถทำการตรวจวัดขนาดอนุภาคของสิ่งที่เป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในของเหลวได้ มีชื่อเรียกว่า “ HEMOGLOBIN ELECTROPHORESIS ” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความสามารถในการดำเนินการตรวจแยกความแตกต่างของฮีโมลโกลบินแต่ละประเภทในเลือดที่มีความผิดปกติที่เป็นสิ่งสืบเนื่องจากเรื่องของพันธุกรรม

สำหรับประเภทของฮีโมโกลบินที่มีความสำคัญและอาจจะสามารถทำการตรวจสอบได้มากถึง 6 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ
1.Hb A1 เป็นฮีโมโกลบินประเภทส่วนใหญ่ที่สามารถพบได้ซึ่งแสดงในเรื่องของคุณสมบัติที่บ่งบอกให้เห็นถึงลักษณะความเป็นปกติของ RBC ( เม็ดเลือดแดง )

2. Hb A2 เป็นฮีโมโกลบินประเภทส่วนน้อย สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 ถึง 3 สำหรับกรณีที่พบว่ามีอยู่น้อยจริงนั่นอาจจะเป็นเรื่องของความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินทั้งหมดที่อยู่ภายในเลือด

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

3. Hb S เป็นฮีโมโกลบินประเภทที่ไม่เป็นไปตามปกติซึ่งจะแสดงถึงลักษณะภาวะที่เป็นภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคโลหิตจางอันมีผลมาจากการที่เม็ดเลือดแดง Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีลักษณะแบบรูปเคียวซึ่งรูปแบบนี้เป็นลักษณะที่ผิดปกติในส่วนของเม็ดเลือดแดง ( รูปแบบที่ควรจะเป็นจะต้องเป็นไปในลักษณะจานกลมแบน )

4. Hb C เป็นฮีโมโกลบินประเภทที่มีความผอดปกติเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีลักษณะบรรพบุรุษเป็นแบบข้ามสายพันธุ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงที่มีส่วนของ Hb C มีอายุที่สั้นลงแถมยังมีโอกาสที่จะแตกได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย

5. Hb F เป็นฮีโมโกบินของทารกที่อยู่ในครรภ์ และยังคงมีเหลืออยู่ในผู้ใหญ่ไม่มากนัก ซึ่งถ้ามีมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ในร่างกายตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป จะถือว่า เฮโมโกบินในเลือดมีความผิดปกติ

6. Hb H เป็นฮีโมโกบินที่ผิดปกติค่อนข้างร้ายแรง เพราะมียีนแอลฟา 1 ตัว และเบตา 3 ตัว แทนที่จะมีอย่างละ 2 ตัวเท่ากันตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นผู้ที่มี Hb H โดเด่นจะเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางชนิด H disease หรือ โลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดแอลฟาธาลัสซีเมีย

ค่าปกติของฮีโมโกลบินแต่ละชนิดโดยประมาณ ( ที่ควรตรวจพบ )

ผู้ใหญ่/ ผู้สูงอายุ ค่าโดยประมาณ
Hb A1 95 – 98 %
Hb A2 2 -3 %
Hb F 0.8 – 2 %
Hb S 0 %
Hb C 0 %

 

เด็ก  ( พิจารณาเฉพาะ Hb F ) ค่าโดยประมาณ
แรกเกิด Hb F 50 – 80 %
< 6 เดือน Hb F < 8 %
> 6 เดือน Hb F 1 – 2 %

 

ค่าความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินแต่ละประเภท

สำหรับเรื่องของค่าความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินแต่ละประเภทนั้นอาจจะเป็นการแสดงถึงผลการเกิดโรคที่เกี่ยวกับเลือดในประเภทต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ค่าของ Hb ในผลตรวจเลือดนั่นเอง

1. โรค SICKLE CELL DISEASE นั้นจะมีลักษณะการแสดงค่า 4 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ

ค่า Hb ผลเลือด
S 80 – 100%
A1 0%
A2 2 -3 %
F 2 %

 

ในส่วนของเม็ดเลือดแดงนั้นจะมีลักษณะที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเคียวที่ใช้ในการเกี่ยวข้าวซึ่งทำให้การพาส่วนของออกซิเจนเป็นไปแบบที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นนั่นจึงกลายเป็นการเกิดโรคโลหิตจางประเภทที่เรียกว่า “ SICKLE CELL ANEMIA ” นั่นเอง สำหรับเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะแบบคล้ายเคียวเกี่ยวข้าวนี้จะต้องผ่านในส่วนของหลอดเลือดที่มีขนาดค่อนข้างเล็กนี้แบบที่เรียกว่าขลุกขลักมากและนั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดการอุดตันเกิดขึ้นจนส่งผลทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนเกิดการขาดเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยง หากยิ่งเป็นการเกิดที่ส่วนของหลอดเลือดหัวใจ เกิดขึ้นในสมองนั่นจะยิ่งเป็นการนำอันตรายอย่างร้ายแรงมาสู่ชีวิต ทั้งนี้อาจจะเป็นการส่งผลทำให้เกิดการเจ็บปวดเกิดขึ้นได้ อาจทำให้แผลเกิดการเน่าเปื่อยอันเป็นผลมาจากกการที่มีเลือดไปเลี้ยงส่วนเหล่านั้นไม่ถึง

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

SICKLE CELL DISEASE เป็นสิ่งที่สามารถจะติดต่อทางด้านพันธุกรรมได้ หากในครอบครัวบุคคลที่เป็นบิดาหรือเป็นมารดาคนใดคนหนึ่งก็ตามป่วยเป็น SICKLE CELL DISEASE แต่อีกฝ่ายนั้นเป็นปกติซึ่งนั่นสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อบุตรทุกคนของตนเองได้ ทำให้บุตรทุกคนนั้นสามารถที่เป็นพาหะขอโรคเม็ดเลือดแดงรูปคล้ายเคียวได้

2. โรค SICKLE CELL TRAIT ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้

ค่า Hb ผลเลือด
S 20 – 40 %
A1 60 – 80 %
A2 2 -3 %
F 2 %

ตนเองไม่เกิดอาการเจ็บป่วยใดๆ คงมีสุขภาพปกติเช่นคนทั่วไป แต่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมให้แก่บุตรในลำดับถัดไป

3. โรค HEMOGLOBIN C DISEASE ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้

ค่า Hb ผลเลือด
C 90 – 100 %
A1 0 %
A2 2 -3 %
F 2 %

 

Hb C Disease มีต้นกำเนิดมาจากชนเชื้อสายแอฟริกันตะวันตก ในปัจจุบันมักจะพบได้มากในกลุ่มคนผิวดำ อาการทั่วไปมักไม่ร้ายแรง ซึ่งจะแสดงให้เห็นโรคโลหิตจางอ่อนๆ ( mild anemia ) โดยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าค่าปกติ มีม้ามขนาดใหญ่ และอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ( gallstone ) ร่วมด้วย ซึ่งอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับ Hb S Disease

4. HEMOGLOBIN H DISEASE ผลเลือดจะแสดงค่าของ Hb อยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ค่า Hb ผลเลือด
A1 65 – 90 %
A2 2 -3 %
H 5 – 30 %

 

โรคนี้อาจจะเกิดขึ้นจากยีนของทาง Hb ซึ่งอาจจะมีความผิดปกติได้มากถึง 3 ตัวจากจำนวน 4 ตัว ซึ่งนั่นทำให้มีโอกาสที่จะเกิดโรคโลหิตจางระดับกลางจนถึงระดับที่ร้ายแรง อาจจะมีอาการรู้สึกเหนื่อยล้ากว่าปกติ หากส่วนของแอลฟายีนนั้นมีเหลืออยู่เพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้นซึ่งจะมีลักษณะโครงสร้างทางด้านเคมีที่ทำการเกาะติดกันจนกลายเป็นทางยาว แบบนี้เรียกว่า “ HEMOGLOBIN H CONSTANT SPRING DISEASE ” จะทำให้อาการแสดงของโรค โลหิตจางนั้นค่อย ๆ ร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะมาพร้อมกับอาการดีซ่านซึ่งอาการนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยจะมีลักษณะผิวออกเหลือง ตาก็จะเหลือง พบว่าม้ามมีลักษณะโต อาจจะพบว่าเกิดนิ่วที่ภายในถุงน้ำดีได้ สำหรับสิ่งที่เป็นพวกของแสลง เป็นของที่เป็นพิษสำหรับโรคนี้ นั่นก็คือ ลูกเหม็น ถั่วฟาว่า เป็นต้น อาจกินกรดโฟลิกเพื่อเยียวยา

5. THALASSEMIA MAJOR จะมีค่าผลเลือดของ Hb ดังนี้

ค่า Hb ผลเลือด
A1 5 – 20 %
A2 2 -3 %
F 65 – 100 %

 

สำหรับโรคนี้นั้นย่อมเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับส่วนของฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดงซึ่งนั่นจะปรากฎยีนประเภทแอลฟาจำนวน2ตัว ยีนประเภทเบตาจำนวน 2 ตัวโดยจะอยู่กันอย่างสมดุล ซึ่งบุคคลใดก็ตามที่ยีนใดมีความผิดปกติเกิดขึ้นถึงสองตัวหรืออาจจะมากกว่านั้นนั่นจะเป็นการทำให้สามารถที่จะเกิดโรค THALASSEMIA MAJOR ยิ่งหากพบว่ายีนที่มีความปิดปกตินั้นมีด้วยกันสองตัวแถมยังเป็นยีนประเภทเบตาทั้งคู่นั่นก็จะเรียกว่า “ COOLEY’S ANEMIA ” โรคนี้ได้รับการสืบทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงอาการจะเกิดขึ้นหลังคลอดประมาณ 2 ปี สามารถรักษาได้ด้วยการถ่ายเลือด แต่อาจมีธาตุเหล็กตกค้างสะสมในร่างการซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กด้วย

6. THALASSEMIA MINOR ผลเลือดจะมีการแสดงค่าของ Hb ดังนี้

ค่า Hb ผลเลือด
A1 50 – 85 %
A2 4 – 6 %
F 1 – 3 %

 

โรคนี้นั้นเป็นผลมาจากการที่ยีนจากจำนวน 4 ตัวในฮีโมโกลบิน คือ แอลฟาจำนวน 2 ตัวและตัวเบตาจำนวน 2 ตัว เกิดความผิดปกติเกิดขึ้นที่ในยีนตัวใดตัวหนึ่ง หากส่วนที่เป็นยีนที่มีความผิดปกติเป็นประเภทแอลฟาจำนวน 1 ตัวนั่นก็จะไม่เป็นการปรากฏถึงความผิดปกติทางด้านสุขภาพแต่อย่างใด ไม่สามารถพบเห็นได้แต่บุคคลนี้จะกลายเป็นบุคคลที่อาจจะทำหน้าที่ในการเป็นพาหะถ่ายทอดเชื้อแบบเงียบ ๆ ทางด้านของพันธุกรรมไปสู่บุคคลที่เป็นบุตรหลานในอนาคตต่อไป แต่หากพบว่ายีนที่มีความผิดปกติกลับเป็นประเภทเบตา ก็จะสามารถปรากฏอาการโรคที่เป็นไปแบบอ่อน ๆ ให้เห็นและยังสามารถที่จะถ่ายทอดส่งต่อทางด้านพันธุกรรมได้เช่นกัน

การตรวจค่า COAGULOGRAM

การตรวจค่า COAGULOGRAM เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) วัตถุประสงค์เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของวิธีในการสร้างตารางเพื่อที่จะนำเอาเลือดออกมาตรวจสอบ ทำการวัดผลการรักษาในส่วนของอาการเกิดเลือดไหลแบบไม่หยุด หรือเป็นส่วนที่เลือดเกิดการขาดคุณสมบัติของการสร้างลิ่มเลือดที่จะเป็นการส่งผลให้เกิดอันตรายเกิดขึ้นได้ เรียกแบบง่าย ๆ ว่าเป็นการสร้างตารางในการสร้างลิ่มเลือดหรือเป็นการสร้างแบบฟอร์มลักษณะว่าง ๆ เพื่อที่จะใช้ไว้ให้ทางแพทย์นั้นสามารถที่จะกรอกรายละเอียดเพื่อตรวจเจาะเลือดนั่นเอง
COAGULOGRAM เป็นตารางที่ใช้เพื่อการเอาไว้ช่วยจำเกี่ยวกับผลการรักษาหรือเพื่อการแก้ไขส่วนของสภาวะเลือดที่มีลักษณะใสมากเกินไป
ตาราง COAGULOGRAM เป็นตารางที่มีความหมายโดยนัยว่าเป็นตัวในการบ่งชี้ปัจจัยของการมีเลือดไหลออกซึ่งนั่นย่อมเป็นการแสดงผลในลักษณะของการไหลของเลือด แสดงให้เห็นถึงการไหลที่รวดเร็ว การไหลที่ล่าช้า การหยุดไหลซึ่งมีปัจจัยที่แสดงให้เห็น

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

HEMATOCRIT เป็นเรื่องของความหนาแน่นของส่วนเม็ดเลือดแดง หากพบว่ามีความหนาแน่นที่มากนั่นก็สามารถที่จะช่วยทำให้เลือดเกิดการหยุดไหลได้ง่ายดายแต่หากมีความหนาแน่นที่น้อยเลือดนั้นก็จะเกิดการหยุดไหลได้ช้าลง

BLOOD CLOTTING ส่วนนี้ก็เป็นค่าของเวลาที่เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งจะใช้ในการอ้างอิงเพื่อพิจารณาว่าเลือดนั้นควรที่แข็งตัวในช่วงเวลาเท่าใด

RETRACTION OF BLOOD CLOT ส่วนนี้จะเป็นค่าของการยุบตัวของตัวก้อนเลือด
ทางการแพทย์นั้นยังคงมีตัวบ่งชีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่ทางแพทย์ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ตรวจจะเห็นสมควรที่จะเลือกนำมาใช้ในเคสผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้ COAGULOGRAM ของแต่ละบุคคลอาจที่จะมีตัวบ่งชี้ที่มีความแตกต่างกันออกไป

  1. คำว่า NORM นั่นหมายถึงคำว่า NORMAL ที่หมายถึงลักษณะค่าตามปกติของตัวปัจจัยบ่งชี้ในแต่ละประเภท

2. คำว่า PRIOR TO THERAPY นั้นเป็นสิ่งที่หมายถึงค่าในการตรวจพบช่วงก่อนที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา สำหรับผลของการรักษาจากตัวยาที่มีการนำมาใช้เพื่อการรักษาและได้ถูกระบุโดยจำนวนวันที่ตรวจจากทางแพทย์ที่เป็นผู้ให้การรักษา

3. คำว่า “แช่นำแข็งขณะนำส่ง” นั้นมีความหมายว่า เป็นสิ่งที่เป็นคำแนะนำของทางเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำการ

เจาะดูดเลือดมีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.ทางเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะเลือดออกมาในปริมาณ 2.7 มิลลิลิตร

2.จากนั้นได้ทำการใส่น้ำยาประเภท SODIUM CITRATE ลงไปเพื่อที่จะเป็นการป้องกันการแข็งตัวของเลือด

3.ปิดหลอดที่ใช้ในการบรรจุเลือดทันทีซึ่งจุกนั้นมีลักษณะครอบเป็นสีฟ้า

4. MIX เป็นขั้นตอนของการมิกซ์ คือเขย่าเลือดกับน้ำยาให้กันแบบสมบูรณ์

5.นำไปแช่ลงในน้ำแข็งและส่งไปยังห้องปฏิบัติการต่อไป

การตรวจค่า APTT ( ratio ) / sec

การตรวจค่า APTT ( ratio ) / sec เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งคำว่า APTT นั้นเป็นคำที่ย่อมาจาก ACTIVATED PARTIAL THROMBOPLASTIN TIME โดย THROMBOPLASTIN นั้นเป็นเหล่าโปรตีนทั้งหลายที่ได้ฝังอยู่ภายในส่วนของผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอันเกิดจากระบบภายในร่างกายของคนเรานั่นเอง และ Ratio คืออัตราส่วนของเวลาภายหลังการกินยาที่ทำให้เลือดใส ต่อ เวลาเดิม วัตถุประสงค์คือ เพื่อตรวจสอบส่วนของการสร้างลิ่มเลือดในบุคคลที่มีปริมาณของเลือดข้น ลักษณะนี้จะเป็นสิ่งที่อันตรายอันเนื่องมาจากสภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยในการ ทดสอบจะใช้ส่วนของน้ำยาประเภทพิเศษเข้าช่วยเพื่อตรวจว่าเลือดนั้นจะเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ทั้งนี้หากเมื่อใดที่มีการทานยาประเภทที่สามารถช่วยในการละลายลิ่มเลือดได้จำเป้นจะต้องงรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง แล้วค่อยทำการทดสอบแบบ APTT อีกรอบ สำหรับวิธีการในการคิดอัตราส่วนนั้นจะคิดโดยการนำเอาเวลาในช่วงหลังทานยาหารกับเวลาในช่วงก่อนที่จะทานยา

ค่าปกติของ APTT และ Ratio

APTT = 30 – 40 sec
Ratio = 1.5 – 2.5 sec

 

ค่าวิกฤติของ APTT

APTT = > 70 sec

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

ค่าผิดปกติของ APTT

1.หากพบค่าความผิดปกติไปในทางน้อย แสดงได้ว่า เลือดอาจจะข้นเกินไป จึงเกิดเป็นลิ้มเลือดกระจายไปทั่วหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นต้น

2.หากพบค่าความผิดปกติในทางมากอาจแสดงได้ว่า มีเลือดใสเกินไปเพราะขาดโปรตีนบางตัว กำลังป่วยด้วยโรคตับแข็ง ขาดวิตามินเค มียาเฮพารินตกค้างอยู่ในกระแสเลือด หรืออาจเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดหยุดไหลยากได้
ข้อสรุป กรณีของคนมีน้ำเลือดใสหรือข้นกว่าปกตินั้น อาจเป็นคุณสมบัติปกติ เฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาเพียงค่าเวลาปกติ APTT คือ 30 – 40 วินาที จึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ โดยเหตุนี้ จึงควรพิจารณาจากอัตราส่วนที่ได้จากการคำนวณง่ายๆ ดังนี้

อัตราส่วน = เวลา ( วินาที ) หลังจากกินยาให้เลือดใส ÷ เวลา ( วินาที ) ก่อนกินยา

การตรวจค่า PT ( INR ) /SEC

การตรวจค่า PT ( INR ) /SEC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับระยะเวลาโดยคิดเป็นวินาทีที่ส่วนของเลือดนั้นได้ถูกดูดออกมาใส่ลงไปในตัวหลอดแก้วเกิดการแข็งตัวโดยอาศัยตัวช่วยที่สำคัญจากระบบปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วยเพิ่มเติม และที่สำคัญจะต้องมีการเติมน้ำยาประเภทน้ำยาแคลเซียมมาตรฐานและจะเรียกส่วนของปฏิกิริยานี้ในชื่อ “ RECALCIFICATION ” ให้เกิดขึ้นในเลือดแล้วจึงค่อยทำการจับระยะเวลาของการแข็งตัวต่อ สำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปนั้นมักจะมีความคล้ายคลึงกันกับวิธีการหาค่า APTT ที่จะมีความแตกต่างออกไปตรงที่มีการใช้ปัจจัยภายนอกซึ่งนั่นก็จะเป็นสิ่งที่มาช่วยในการทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นได้ วิธีการตรวจเลือดในส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่ส่งผลเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบุคคลที่มีพยาธิของโรคหัวใจโดยเฉพาะ

คำว่า PT นั้นเป็นสิ่งที่ย่อมาจาก “ PROTHROMBIN TIME ” PROTHROMBIN นั้นเป็นสารประกอบประเภทหนึ่งที่เป็นสารประกอบผสมของน้ำตาลกับโปรตีนซึ่งจะลอยอยู่ภายในส่วนของพลาสมา PROTHROMBIN นั้นเป็นสิ่งที่กลายเป็นสารตั้งต้นของ THROMBIN ซึ่งนั่นก็นับว่าเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญมากในการเกิดปฏิกิริยาของการเปลี่ยนโปรตีน FIBRINOGEN ให้กลายเป็น FIBRIN นั่นก็คือ ลิ่มเลือดที่มีลักษณะปิดหรือมีลักษณะของการอุดรอยเปิดของส่วนบาดแผลจนทำให้คุณนั้นสามารถที่จะเห็นได้ว่าเกิดเป็นส่วนที่บริเวณโยรอบของแผลมีลักษณะนูนขึ้นเมื่อแผลนั้นหายดีแล้ว
PT นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะได้จากวิธีการทดสอบเลือดที่ทำการเจาะออกมาหลังจากที่ผ่านการเติมน้ำยาประเภทแคลเซียมลงไปแล้วจนทำให้เลือดนั้นเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้น สำหรับบุคคลที่มีสุขภาพดีค่ามาตรฐานของค่านี้จะอยู่ที่ประมาณ 12 นาที

น้ำเลือดนั้นสำหรับของคนบางคนอาจสามารถแข็งตัวได้อย่างรวดเร็วเฉพาะเมื่อได้ทานยาละลายลิ่มเลือดเท่านั้น แบบนี้จะเป็นการส่งผลทำให้การจับเวลานั้นมีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย เวลาคิดค่าเวลานั้นจะคิดออกมาในเชิงของอัตราส่วน วิธีคิดคือ ให้นำเอาเวลาของการที่เลือดแข็งตัวหลังจากทานยาไปหารกับเวลาของการที่เลือดแข็งตัวก่อนทานยา อัตราส่วนที่คุณคิดได้นี้อาจจะใช้ในการนำไปเป็นดัชนีที่ใช้บ่งชี้น้ำเลือดว่าน้ำเลือดนั้นมีระดับความเข้มข้นที่มากไปใช่หรือไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ระดับความเข้มข้นของเลือดสามารถที่จะกลายเป็นสิ่งอันตรายต่อการเปิดหรือการปิดลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจและยังสามารถทำให้หัวใจนั้นเต้นในจังหวะที่แรงมากขึ้นในกระบวนการส่งเลือดดำเข้าไปภายในปอดหรือส่งเลือดแดงไปตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย  [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

ทางด้านขององค์การอนามัยโลก (WHO) นั้นได้ออกมาประกาศเกี่ยวกับค่าที่เป็นอัตราส่วนตามมาตรฐานโดยได้ออกมากำหนดไว้เมื่อปี 1983 นั่นก็เพื่อที่จะเป็นสิ่งที่เป็นความปลอดภัยต่อบุคคลที่ใช้ยาประเภทยาละลายลิ่มเลือดหรือเพื่อเป็นการทำให้ความข้นของเลือดลดลง ค่าที่กล่าวถึงนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า อัตราส่วนที่เป็นไปตามปกติตามเกณฑ์มาตรฐานในระดับนานาชาติหรือ INR และ WHO ได้ยืนยันว่าค่า INR นั้นสามารถที่จะใช้ได้กับกรณีของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจเต้นสั่นรัว ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดดำเกิดการอักเสบจนส่งผลทำให้เกิดลิ่มเลือด ผู้ป่วยใช้ลิ้นหัวใจเทียม

WHO ได้กำหนดค่า INR อยู่ที่ 2.0 -3.5

 

การตรวจค่า TT (RATIO)/SEC

การตรวจค่า TT (RATIO)/SEC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีวัตถุประสงค์หลัดเพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับ FIBRINOGEN ซึ่งเป็นประเภทของโปรตีนที่อยู่ภายในเลือดคอยทำหน้าที่ในการสร้างลิ่มเลือดให้เกิดขึ้น ส่วนของ THROMBIN นั้นก็เป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยในการเปลี่ยน FIBRINOGEN ให้กลายเป็น FIBRIN นั้นเอง ในการที่จะดำเนินการตรวจสอบเลือดในข้อนี้จะเป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของเอนไซม์ชื่อ TROMBIN ซึ่งนั่นก็จะแตกต่างไปจากการตรวจปัจจัยที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ล้วนแต่สามารถมีบทบาทในการเข้าไปช่วยทำให้เลือดมีการแข็งตัวได้ ( TT หมายถึง THROMBIN )

ส่วนในการเจาะเลือดมาตรวจสอบนั้นการดำเนินการจะคล้ายคลึงกันกับการตรวจเพื่อหาค่า APTT และค่า PT ซึ่งเมื่อได้เลือดออกมาแล้ว ได้นำไปใส่ไว้ภายในหลอดเลือดแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการทดสอบด้วยน้ำยาทรอมบินที่เป็นไปตามมาตรฐานอันสร้างขึ้นมาจากมนุษย์เราหรือสร้างขึ้นมาจากวัวที่มีผลทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลา 2-3 วินาที (รูปแบบนี้ในกรณีที่เป็นบุคคลที่มีลักษณะสุขภาพที่เป็นไปตามปกติ) และหากเป็นกรณีอยากจะทราบเกี่ยวกับ THROMBBIN RATIO ให้ส่วนของผู้ที่ทำหน้าที่ในการถูกตรวจสอบทานยาประเภทยาละลายลิ่มเลือดเข้าไป จากนั้นก็พักรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงแล้วค่อยดำเนินการตรวจเลือดใหม่อีกครั้งด้วยการใช้วิธีเติมน้ำยาในลักษณะเดิมเข้าไปซึ่งนั่นจะเป็นการช่วยเพิ่มระยะเวลาให้มีความยาวนานมากขึ้น
ในเรื่องของค่าที่เป็นค่าปกติของ TT กับค่า TT RATIO นั้นค่า TT จะอยู่ที่ 2-3 วินาที ส่วน TT RATIO นั้นให้ยังคงยึดหลักตามค่ามาตรฐานที่เป็นไปตามปกติอันอยู่ภายในรายงานผลการตรวจเลือดซึ่งค่าปกติของทาง TT นั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถแสดงผลได้อย่างคล้ายคลึงกับผลของทาง APTT และ PT

น้ำเลือดในร่างกายมนุษย์มีความพิเศษ สามารถนำออกมาตรวจวิเคราะห์ได้ เช่น ค่าความเร็วของการตกตะกอน ความเร็วของการแข็งตัว ความเร็วในการห้ามเลือดได้เองเมื่อได้รับบาดเจ็บ และสามารถนำมาบ่งชี้ความเป็นโรคได้อีกด้วย

การตรวจค่า IgG

การตรวจค่า IgG เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) เป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับลักษณะภูมิต้านทานประเภทหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกายซึ่งนั่นก็จะเริ่มต้นจากการที่สร้างโดยโปรตีน ภูมิต้านทานประเภทแรกที่บอกเลยว่าสำคัญมากตัวนี้มีชื่อแบบเต็ม ๆ ก็คือ “ IMMMUNOGLOBULLIN G ” หรือที่เรียกกันแบบย่อย ๆ ว่า “ IgG ” นั่นเอง
1.คำว่า IMMUNO นั้นเป็นคำที่มาจากทางภาษาลาตินซึ่งมีความหมายว่า การไม่มีโรคหรือการต้านทานโรค
2.คำว่า GLOBULIN คำนี้ก็เป็นคำที่มาจากคำว่า GLOBULUS ซึ่งก็เป็นภาษาลาตินเช่นกัน แปลว่า ทรงกลม
3.คำว่า GLPBULIN นั้นเป็นสิ่งที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะสร้างขึ้นมาโดยระบบของผนังเซลล์ส่วนเนื้อเยื่อเป็นหลักรองลงมาก็จะเป็นการผลิตที่บริเวณของตับนั้นจึงทำให้ Ig นั้นจึงกลายเป็นหมายความว่าเป็นโปรตีนที่มีลักษณะทรงกลมและยังมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคได้นั่นเอง

สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นแน่นอนว่าย่อมรวมถึงมนุษย์เราด้วยเช่นกัน เป็นกลุ่มที่สามารถปรากฏสิ่งสำคัญอย่างสารภูมิต้านทานได้โดยในปัจจุบันทางด้านของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นพบได้จำนวน 5 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ IgA IgM IgE IgE IgD      [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

องค์ประกอบของทางด้าน IMMUNOGLOBULIN นั้นจะประกอบไปด้วยสารประเภทโปรตีนที่ยังคงลอยอยู่ภายในพลาสมาจากนั้นก็จะเข้าไปจับตัวกับทางด้านของเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์เพื่อที่จะส่งผลทำให้เกิดคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันต่อไปแต่สำหรับส่วนของภูมิคุ้มกัน Ig แต่ละประเภทนั้นจะค่อนข้างมีความแตกต่างทางด้านของการป้องกันโรคในระดับจึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องทำการแยกประเภทด้วยการเพิ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษลงไปเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน โดยเฉพาะ IgG เป็นตัวที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่สามารถพบได้สูงมากถึงร้อยละ 75 ของสารที่เป็นสารภูมิคุ้มกันที่อยู่ภายในร่างกายของคนเราโดยเฉพาะแต่สารตัวนี้จะเป็นตัวที่ถูกจัดเอาไว้ให้เป็นสารประเภทพื้นฐานที่มีความพร้อมต่อการดำเนินการจับตัวกันเองเพื่อที่จะสร้าง Ig ประเภทอื่น ๆ ขึ้นมา ทางด้านของรูปร่างอันเป็นโครงสร้างเชิงเคมีของ IgG นั้นจะมีรูปลักษณะที่เป็นตัวอักษรวาย (Y) โดยจะทำการนับเป็นแบบ 1 หรือจะเรียกว่า Monomer นอกจากนี้ IgG นั้นยังเป็นสิ่งที่มีบทบาททางด้านระบบของภูมิคุ้มกันโรคอีกมากมาย อาทิเช่น เป็นสิ่งที่ช่วยในเรื่องของการทำล้างจุลชีพก่อโรคที่อยู่ภายในร่างกายให้หมดไปซึ่งตามปกติมักจะเกิดขึ้นจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราได้

สำหรับหญิงสาวที่กำลังอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ก็สามารถที่จะส่งผ่าน IgG นั้นจากทางมารดาส่งต่อไปที่ทารกภายในครรภ์ของคุณแม่ได้ซึ่งนั่นก็เปรียบเสมือนเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคให้เกิดขึ้นกับตัวทารกไปโดยปริยาย ทำให้เด็กทารกที่เมื่อถึงเวลาคลอดออกมาแล้วภายในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนlสามารถที่จะรอดพ้นจากบรรดาพวกจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่าง ๆ
กรณีที่พบว่าค่าของ IgG นั้นมีความผิดปกติอาจเกิดขึ้นจากการที่เกิดมีภาวะเลือดออกได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็นหรือที่เราเรียกกันว่าโรค WISKOTT โรคนี้จะพบว่าผู้ป่วยอาจเกิดอาการผื่นแดงเกิดขึ้น มีระดับของเกล็ดเลือดที่ค่อนข้างต่ำ ระดับของภูมิคุ้มกันเองก็ลดต่ำลงและเวลาที่ถ่ายก็อาจจะพบว่ามีเลือดปนออกมาได้เช่นกัน

การตรวจค่า IgM

การตรวจค่า IgM เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ  ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสภาวะของตัวภูมิต้านทานแบบเฉพาะตัวโดยจะมีชื่อว่า ” IgM ” ซึ่ง IgM นั้นมีบทบาทในเชิงเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างสิ่งที่เป็นสารแบบพิเศษเพื่อการแบ่งหมู่เลือดซึ่งจะเป็นตัวที่เคลือบเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่จะบ่งบอกว่าหมู่เลือดนั้นเป็นหมู่เลือดประเภทใด IgM นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสารแอนติบอดีให้กับตัวผิวหนังของเซลล์ที่อยู่ทางด้านนอกของ B-CELL จะทำให้ B-CELL นั้นเกิดการกระตือรือร้นหรือเกิดลักษณะกระหายอยากจะเข้าไปโจมตี อยากจะเข้าไปพิสูจน์เพื่อทราบในส่วนของจุลชีพที่สามารถก่อโรคอันเป็นสิ่งที่ล่วงล้ำเข้าไปภายในร่างกาย IgM นั้นก็เป็นสิ่งที่กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของส่วน B-CELL เพื่อที่จะช่วยเข้าไปทำลายจุลชีพที่เป็นตัวก่อนโรคในช่วงแรกให้หมดไปได้

1. ค่าปกติในส่วนของ IgM นั้นตามปกติจะอยู่ที่ 55 – 375 mg/dL แต่ในทางผิดปกติค่าของ Ig นั้น

2. อยู่ในระดับต่ำ อาจเกิดจากการได้รับยาบางประเภทที่เข้าไปกดตัวภูมิต้านทาน อาจจะป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

3. แต่หากเป็นกรณีที่มีมากนั่นก็อาจจะเป็นการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังอันเป็นผลมาจากโรคบางประเภท อาทิเช่น โรคตับอักเสบ เป็นต้น อาจเกิดจากโรคประเภทโรคภูมิต้านทานเกิดการทำลายตนเองง อาจเกิดจากสภาวะการอักเสบแบบเฉียบพลัน เพราะตัวของ IgM นั้นเป็นหน่วยรบแบบพิเศษที่ต้องเข้าไปปะทะในจุดแรกที่เจอจุลชีพอันเข้ามาภายในร่างกายพร้อมทั้งจะทำการระบบพลแบบเต็มที่จนนั่นทำให้ค่าของ IgM สูงมากขึ้นนั่นเอง

การตรวจค่า IgA

การตรวจค่า IgA เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสภาวะของตัวภูมิต้านทานแบบเฉพาะตัวโดยจะมีชื่อว่า ” IgA ” ซึ่งในร่างกายมีจำนวนเพียงร้อยละ 15 ของ Ig ส่วนใหญ่มักจะปรากฏออกมาในรูปแบบของเหลวเป็นหลัก จะมาในลักษณะของสารคัดหลั่งที่เป็นมูกออกมาเช่น น้ำตา น้ำลาย น้ำนมเหลือง ในน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ในน้ำเมือกในช่องคลอด ในสารคัดหลั่งที่ต่อมลูกหมาก อยู่ในเมือกที่ผนังคอยทำหน้าที่ในการปกป้องทางเดินหายใจยาวไปนับตั้งแต่โพรงจมูกจนกระทั่งปอด
IgA เป็นสิ่งที่สามารถกำจัดเชื้อประเภทเล็ก ๆ ที่หลุดเข้าไปอยู่ภายในร่างกาย สามารถจะเข้าไปปะทะและโดยจับโดยส่วนของมูกหรือเมือก ตลอดในช่วงของช่องทางซึ่งจะไม่ลุกลามขยายตัวสร้างความเสียหายต่อร่างกาย ซึ่งถ้าเกิดค่าผิดปกติจะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้อย่างเคย เช่น การทรงตัวขณะเดิน ความผิดปกติในการเคลื่อนไหวแขน ลูกตา ลิ้น เป็นต้น หรืออาจเกิดภาวะเส้นเลือดฝอยพอง ขาดโปรตีน หรือถึงขั้นเกิดโรคตับเรื้อรัง ภาวะติดเชื้อ การอักเสบจากโรคบางโรคในลำไส้

การตรวจค่า IEP

การตรวจค่า IEP เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะได้ทราบเกี่ยวกับระบบของสนามแม่เหล็กที่ใช้ในการตรวจแยกส่วนของโปรตีน ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการเป็นตัวป้องกันคุ้มกันโรคทั้งในส่วนของงเซรุ่มที่อยู่ในเลือด และส่วนของน้ำปัสสาวะ เฉพาะการใช้แบบ IEP เพื่อตรวจเลือดนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่า ภูมิคุ้มกันนั้นหรือสิ่งที่เรียกว่า IMMUNOGLOBULIN นั้นแต่ละประเภทจะมีปริมาณมากน้อยเท่าใด สำหรับกรณีของโรคร้ายและการได้รับกระบวนการรักษานั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าตัวภูมิคุ้มกันนั้นมีค่าที่สูงมากน้อยเพียงใด นั่นก็เพื่อที่จะได้ทราบเกี่ยวกับผลของการตอบสนองต่อการรักษา และค่า IEP นั้นยังสามารถที่จะใช้ในการนำไปตรวจโรคบางประเภทได้ อาทิเช่น โรคมะเร็งในส่วนของไขกระดูก เป็นต้น

1. คำว่า ELETROPHORESIS นั้นเป็นสิ่งที่แปลได้ว่า “ การแยกส่วนของอนุภาคที่เป็นอนุภาคแขวนลอนอันอยู่ภายในของเหลวด้วยตัวระบบสำคัญอย่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ” นั่นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า IEP ก็เป็นการแยกเอาประเภทของโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในเลือดผ่านระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้สามารถที่จะทราบได้ว่าแต่ละประเภทนั้นมีระดับปริมาณมากน้อยเท่าใด- ค่าปกติในส่วนของ IgM นั้นตามปกติจะอยู่ที่ 55 – 375 mg / dL แต่ในทางผิดปกติค่าของ Ig นั้น

[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

2. คำว่า IEP นั้นเป็นสิ่งที่ย่อมาจาก IMMUNOGLOBULIN คำว่า IMMUNO นั้นหากจะแปลตรงตัวแปลได้ว่า “ ภูมิคุ้มกัน ”

3. คำว่า ELETROPHORESIS นั้นเป็นสิ่งที่แปลได้ว่า “ การแยกส่วนของอนุภาคที่เป็นอนุภาคแขวนลอนอันอยู่ภายในของเหลวด้วยตัวระบบสำคัญอย่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
และสามารถที่จะสรุปได้ว่า IEP ก็เป็นการแยกเอาประเภทของโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในเลือดผ่านระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้สามารถที่จะทราบได้ว่าแต่ละประเภทนั้นมีระดับปริมาณมากน้อยเท่าใด

ตารางแยกชนิดโปรตีนที่มีภูมิคุ้มกันจากเลือดของผู้ที่มีสุขภาพเลือดปกติ 

ชนิดของ  immunoglobulin ค่าปกติ ( ผู้ใหญ่ ) ( mg/dL )
IgG  565 – 1,765
IgA 85 – 385
IgM  55 – 375
IgE เล็กน้อย
IgD เล็กน้อย

 

บทบาทสำคัญของ IMMUNOGLOBULIN แต่ละประเภท

1. IgG นั้นเป็นสิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันอันมีปริมาณสูงสุดถึงร้อยละ 75 ของภูมิคุ้มกันของเลือด IgG นั้นจะถูกผลิตขึ้นมาในปริมาณเพิ่มมากขึ้นในทุกครั้งที่ร่างกายต้องเจอกับสารที่เป็นสารแปลกปลอมที่เกิดขึ้นจากตัวจุลชีพที่เข้ามาอยู่ภายในร่างกายของคนเรา อาทิเช่น สำหรับกรณีของการฉีดวัคซีนซ้ำทางด้านของ IgG จะทำการสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมาให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนภายในระยะเวลา 5 วันจนถึง 7 วัน ส่วนของ IgG นั้นจะคอยอยู่เฝ้าระวังพวกเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในกระแสเลือด ภายในเนื้อเยื่อ ยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ IgG ของตัวผู้เป็นแม่จะสามารถถ่ายทอดส่งต่อไปยังทารกได้นั่นจึงทำให้ในเด็กทารกเกิดภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นภายในร่างกาย ทำให้เมื่อเด็กคลอดออกมาจะยังคงสามารถทนต่อเชื้อโรคได้ไปในตัว

2. IgA นั้นก็เป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันที่เป็นลำดับรองลงมา นั่นคือ สามารถพบได้อยู่เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ในบางส่วนจะอยู่ภายในกระแสเลือด ในบางส่วนจะอยู่ในสารคัดหลั่งของทางด้านระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร อาทิเช่น น้ำลาย นำนมเหลือง ฯลฯ ในช่วงที่เป็นช่วงเดือนแรกของการคลอดสิ่งนี้สามารถพบได้ในส่วนของโพรงจมูกหรือน้ำตาของทารกได้

[adinserter name=”oralimpact”]

3. IgM นั้นก็เป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันประเภทแรกที่จะเข้าไปต่อกรกับพวกเชื้อโรคที่เข้ามาภายในร่างกายของคนเรา ดังนั้น IgM จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำหน้าที่โดยตรงต่อภารกิจในการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือที่คุ้นหูกันดีว่า ANTIBODY จากทางด้านการฉีดวัคซีน อาทิเช่น โรคโปลิโอ เป็นต้น ซึ่งนั่นจำเป็นที่จะต้องใช้ช่วงระยะเวลายาวนานประมาณ 10 วันจนถึง 14 วัน เพื่อที่ส่วนของภูมิคุ้มกันนั้นจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ นั่นก็คือ จะต้องทำงานร่วมกันกับ B-CELL ตัว IgM นั้นส่วนใหญ่มักจะอยู่ภายในกระแสเลือด รองลงมาก็จะอยู่ตามส่วนของเนื้อเยื่อหรือตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ IgM นั้นเป็นสิ่งที่จำคอบทำหน้าที่ในการกำหนดหมู่ของเลือดพร้อมทั้งกำหนด Rh ร่วมด้วย IgM นั้นมักที่จะแสดงถึงปฏิกิริยาที่มีความเด่นชัดอย่างมากยามเมื่อเกิดการอักเสบเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งถ้าทารกมีค่า IgM สูงผิดปกติ จำเป็นต้องวินิจฉัยวิอาจได้รับเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะมารดา เช่น โรคหัดเยอรมัน หรือโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ของมารดา

4. IgE เป็นภูมิคุ้มกันที่ใช้เฝ้าระวัง สารสร้างภูมิแพ้จากจุลชีพก่อโรคใดๆ เช่น จากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา

5. นับเป็นจำนวนที่น้อยที่สุด และปัจจุบันยังไม่ทราบบทบาทที่แน่ชัด

IEP ในลักษณะภาพรวม มีส่วนของ Ig นั้นจะมีเฉพาะเพียง 3 ตัว นั่นคือ IgG IgM และท้ายสุดคือ IgA ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทสำคัญต่อลักษณะการแดงผลที่มีต่อสภาวะในเรื่องของภูมิต้านทานโรคที่แต่ละประเภทก็ต่างมีความแตกต่างกันออกไปและหากเป็นกรณีใดที่พบว่ามีการแสดงค่าในลักษณะที่สูงกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์สามารถที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่านั่นกำลังเข้าสู่การเกิดลักษณะสภาวะตามผิดปกติต่อระบบในร่างกาย หากจะทำการพิจารณาค่าของทั้งสามอาจจะสามารถทำให้คุณได้ทราบถึงข้อบ่งชี้เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสภาวะของโรค

ตารางแสดงภาพรวม IEP

IgG  IgA IgM แสดงสภาวะ/โรค
ปกติ ต่ำ ปกติ Acute lymphocytic leukemia

( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เฉียบพลัน )

ต่ำ ต่ำ ต่ำ Chronic lymphocytic leukemia

( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เรื้อรัง )

ปกติ ต่ำ ปกติ Acute myelocytic leukemia

( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไขกระดูกเฉียบพลัน )

ปกติ ปกติ ปกติ Chronic myelocytic leukemia

( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไขกระดูกเรื้อรัง )

ปกติ ต่ำ ปกติ Hodgkin’s disease

( โรคฮอดกินส์ )

สูง ปกติ สูง Hepatitis

( โรคตับอักเสบ )

ปกติ สูง สูง Biliary cirrhosis

( โรคตับแข็งเหตุน้ำดี )

สูง ปกติ สูง Rheumatoid arthritis

( โรคข้ออักเสบจากรูมาตอยด์ )

สูง สูง สูง Systemic lupus erythematosus

( โรคผิวหนังผื่นแดงชนิดลูปุส )

สูง สูง ปกติ Nephrotic syndrome

( สภาวะของโรคไต )

ข้อควรพิจารณา
การแปลผล Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ควรทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตกของเม็ดเลือดแดง เช่น อายุ เพศ ภาวะซีด ภาวะเลือดข้น เม็ดเลือดแดงมีขนาดหรือรูปร่างผิดปกติ การเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง (autoagglutination) การตั้งครรภ์ ระยะของรอบประจำเดือน การใช้ยาบางชนิด ฯลฯ
1. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) เป็น Indirect measurement ต้องแปลผลร่วมกับ Clinical และวัด Acute phase reactant ร่วมกับตัวอื่นด้วย เช่น CRP
2. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ที่สูงมาก[>100] มี DDX ที่มักเกี่ยวกับโรค Autoimmune และ Chronic systemic inflamation , Ig disease ect
3. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ในผู้หญิงค่าปกติสูงกว่าผู้ชายและสูงขึ้นตามอายุ ในคนท้อง Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) สูง อาจเกิดจาก RBCs mass เพิ่มมากขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติมของ Erythrocyte Sedimentation Rate (ESR)

1. ความหมายของ Erythrocyte Sedimentation Rate (ESR)
2. วิธีการตรวจวัด ESR และหลักการทำงาน
3. ค่าปกติและค่าผิดปกติของ ESR
4. สาเหตุของค่า ESR สูงและต่ำ
5. ความสัมพันธ์ระหว่าง ESR และโรคต่าง ๆ
– การติดเชื้อ
– โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
– โรคอัมพาต
– โรคเกี่ยวกับระบบเส้นเลือด
– โรคมะเร็ง
6. ข้อควรระวังและข้อจำกัดของการตรวจ ESR
7. การตีความผลการตรวจ ESR ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ
8. การป้องกันและการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับค่า ESR ผิดปกติ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล,พลเอก. คู่มือแปล ผลเลือด เล่มแรก: กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2554. 372 หน้า: 1.เลือด-การตรวจ. I. ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-48-7.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

Napolitano, LM.American College of Critical Care Medicine of the Society of Critical Care, Medicine; Eastern Association for the Surgery of Trauma Practice Management, Workgroup (Dec 2009).

American Association of Blood Banks (24 April 2014), “Five Things Physicians and Patients Should Question”, Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, retrieved 25 July 2014.