การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Magnesium
Urine Magnesium เพื่อตรวจดูระดับของแมกนีเซียมที่มีอยู่ในปัสสาวะ

Urine Magnesium

การตรวจหาค่า Urine Magnesium มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจดูระดับของแมกนีเซียมที่มีอยู่ในปัสสาวะว่ามีมากน้อยเพียงใดและอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ นั่นก็เพราะค่าแมกนีเซียมที่พบในปัสสาวะจะสามารถบอกได้ว่าผู้ ตรวจกำลังอยู่ในสภาวะการขาดแมกนีเซียมหรือได้รับแมกนีเซียมมากเกินจนเป็นอันตรายหรือไม่นั่นเอง โดยการตรวจหาแมกนีเซียมจากปัสสาวะจะให้ผลที่ทราบได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการตรวจจากเลือดซะอีก

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Magnesium

1. แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายรองลงมาจาก แคลเซียม ฟอสฟอรัสและคลอไรด์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาระดับของแคลเซียมให้คงที่อยู่เสมอ และต้องระวังอย่าให้ร่างกายขาดหรือพร่องแคลเซียมเด็ดขาด

2. โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะได้รับแมกนีเซียมจากการดูดซึมจากอาหารที่ทานเข้าไปบริเวณลำไส้เล็ก และจะมีต่อมหมวกไตทำหน้าที่ควบคุมระดับของแมกนีเซียมในเลือดให้เป็นปกติมากที่สุด รวมถึงทำหน้าที่ในการบังคับให้เกิดการปล่อยทิ้งแมกนีเซียมปนไปกับน้ำปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นหากพบว่ามีแมกนีเซียมในน้ำปัสสาวะมากผิดปกติ ก็แสดงได้ว่าอาจเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายนั่นเอง

3. การตรวจหาค่า Urine Magnesium ก็เพื่อเจาะจงจะทราบผลดังต่อไปนี้

  • เพื่อตรวจดูว่าแมกนีเซียมในร่างกายอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ เพราะหากพบว่าแมกนีเซียมมีระดับที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ อาจบ่งชี้ได้ถึงโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้นั่นเอง
  • เพื่อวินิจฉัยกลุ่มคนที่มีอาการสติฟั่นเฟือน ว่ามาจากสาเหตุการขาดแมกนีเซียมของร่างกายหรือไม่ โดยพิจารณาจากการตรวจหาค่า Urine Magnesium จากผู้ที่มีสติฟั่นเฟือยหลายๆ คน
  • ตรวจเพื่อประเมินดูประสิทธิภาพของหลอดเลือดแดงฝอยในไต เพราะเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการกรองของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ ทั้งยังทำให้ทราบว่าหลอดเลือดแดงฝอยยังคงทำงานได้อย่างปกติหรือไม่

ค่าปกติของ Urine Magnesium

  1. ค่าความปกติของ Urine Magnesium ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ

2. ค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่

24 hr Urine Magnesium : 3 – 5 mEq/24 hr

ค่าผิดปกติของ Urine Magnesium

1. ค่าผิดปกติ Urine Magnesium ที่ได้ไปในทางน้อย แสดงได้ว่า

  • การดูดซึมสารอาหารของลำไส้มีความบกพร่อง ( Malabsorption ) จึงทำให้ดูดซึมแมกนีเซียมได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • มีอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้แมกนีเซียมส่วนใหญ่ถูกปล่อยทิ้งไปกับอุจจาระ จึงตรวจพบแมกนีเซียมในปัสสาวะน้อยลง
  • เป็นเบาหวานและเกิดสภาวะเป็นกรดขึ้นมาในเลือด ทำให้ไตมีประสิทธิภาพในการกรองแมกนีเซียมเพื่อผ่านลงสู่ปัสสาวะน้อยลงผิดปกติ
  • ร่างกายมีการขาดน้ำ เป็นผลให้เลือดที่ผ่านการกรองของไตมีปริมาณลดน้อยลง และทำให้แมกนีเซียมที่กรองลงสู่ปัสสาวะได้ อยู่ในระดับที่น้อยกว่าปกติ
  • เป็นผลมาจากภาวะตับอ่อนอักเสบ ที่ทำให้ไม่สามารถผลิตเอนไซม์ไปย่อยอาหารในลำไส้ได้อย่างเพียงพอ ร่างกายจึงดูดซึมแมกนีเซียมจากลำไส้ได้ต่กด้วย
  • เป็นโรคไตวายระยะรุนแรง ( Advanced renal failure ) ทำให้ไตขาดประสิทธิภาพในการกรองแมกนีเซียมออกจากเลือด ค่าของแมกนีเซียมที่ตรวจพบในปัสสาวะจึงน้อยกว่าปกติ
  • มีความผิดปกติของต่อมหมวกไต จึงไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่จะช่วยบังคับให้ไตดูดซึมกลับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนตัวนี้สูงกว่าปกติ จึงทำให้มีการดูดซึมโซเดียมกลับเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณมาก และส่งผลให้มีการขับธาตุโพแทสเซียมออกทิ้งในปริมาณมากเกินแทน อีกทั้งยังมีการรักษาน้ำไว้ในร่างกายมากไปจนเกิดสภาวะบวมน้ำที่ทำให้ร่างกายบวมขึ้นอีกด้วย และเนื่องจากการบวมน้ำนี่เอง จึงมีการปล่อยทิ้งปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้แมกนีเซียมถูกกรองออกมากับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติไปด้วย
  • มีการทานอาหารที่ขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมน้อยเกินไปเป็นระยะเวลา จนทำให้เกิดภาวะการขาดแทกนีเซียมในที่สุด

2. ค่าปกติของ Urine Magnesium ที่ได้ไปในทางมาก แสดงได้ว่า

  • เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ไตจึงไม่สามารถดูดซึมกลับแร่ธาตุสำคัญเข้าสู่ร่างกายได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นแมกนีเซียมจึงหลุดไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากจนดูผิดไปติ
  • ต่อมหมวกไต มีการผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนออกมาน้อยเกิน ทำให้มีการขับโซเดียมทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากและเป็นผลให้แมกนีเซียมก็ถูกขับทิ้งออกไปในปริมาณมากเช่นกัน
  • มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ Urine Magnesium ในตับและไตมีการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากต้องทำงานหนักกับการพยายามขับแอลกอฮอล์ทิ้งลงสู่ปัสสาวะมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อไตและตับไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ก็จะทำให้แมกนีเซียมที่ถูกขับทิ้งออกมา อาจมีปริมาณมากเช่นกัน
  • การกินยารักษาโรคกระเพาะอาหารชนิด Amtacids อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะยาชนิดนี้มีแมกนีเซียมเป็นส่วนผสม จึงอาจทำให้แมกนีเซียมในร่างกายสูงขึ้นได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Russell (2005). The Top 10 of Everything 2006: The Ultimate Book of Lists. Dk Pub. ISBN 0-7566-1321-3. Archived from the original on 2006-10-05.

Housecroft, C. E.; Sharpe, A. G. (2008). Inorganic Chemistry (3rd ed.). Prentice Hall. pp. 305–306. ISBN 978-0131755536.