แมกนีเซียมจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร? (Magnesium)
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืช

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม ( Magnesium ) คือ องค์ประกอบแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายกายมนุษย์ พบอยู่ประมาณ 0.5 ของน้ำหนักกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน และในเลือดเพียงเล็กน้อย ดังนั้นมีหน้าที่ที่สำคัญส่งเสริมการก่อตัวของกระดูกและฟัน มีส่วนช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ทั้งหมด ส่วนแมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระและเหงื่อนั่นเอง

หน้าที่สำคัญของแมกนีเซียม

1. แมกนีเซียมจะทำงานร่วมกับฟอสฟอรัส วิตามินดีและแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยพบว่าหากร่างกายขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
2. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ โดยแมกนีเซียมจะไปกระตุ้นน้ำย่อยที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง
3. แมกนีเซียมช่วยควบคุมสมดุลของความเป็นกรดและด่างให้เป็นปกติมากขึ้น
4. แมกนีเซียมอาหารที่มีส่วนช่วยในการคงตัวของกล้ามเนื้อ
5. แมกนีเซียมส่งเสริมการดูดซึม ให้ร่างกายมีการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส แคลเซียมและโปแตสเซียม
6. แมกนีเซียมช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการดูดซึมวิตามิน นำเอาวิตามินบีรวม วิตามินอีและ วิตามินซี มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างปกติและมีความจำเป็นต่อการส่งสัญญาณประสาทอีกด้วย
8. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่คงที่และต้านความหนาวเย็นได้ดี ด้วยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง
9. การที่ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ดี
10. แมกนีเซียมมีความจำเป็นและสัมพันธ์ต่อของเหลวภายนอกร่างกาย
11. แมกนีเซียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ในระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด

อาหารอะไรที่มีแมกนีเซียมสูง

1. อัลมอนด์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 80 มิลลิกรัม
2. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 72 มิลลิกรัม
3. ถั่งลิสง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 49 มิลลิกรัม
4. เมล็ดฟักทอง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 150 มิลลิกรัม
5. ข้าวสาลีฝอย 1 ถ้วย = แมกนีเซียม 56 มิลลิกรัม
6. โยเกิร์ต 8 ออนซ์ = แมกนีเซียม 42 มิลลิกรัม
7. ผักโขม 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 78 มิลลิกรัม
8. ดาร์กช็อกโกแลต 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 64 มิลลิกรัม
9. อะโวคาโด 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม
10. แซลมอน (สุก) 3 ออนซ์ = แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม

แมกนีเซียม แร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นสำหรับร่างกาย

ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้ดีบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะไปขัดขวาง การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเช่นกัน และในทางตรงกันข้ามก็จะมีการขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียม และนอกจากแร่ธาตุดังกล่าวแล้ว ไฟเตต ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการดูดซึมแมกนีเซียมเช่นกัน โดยจะขัดขวางการดูดซึมให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีการขับแมกนีเซียมออกมาทางปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นหากมีการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียแมกนีเซียมในปริมาณมากเช่นกัน

แหล่งแมกนีเซียมในอาหารที่พบ

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้ในอาหารแทบทุกชนิด แต่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืชนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบได้มากในข้าวโพด ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารทะเล ปลาน้ำจืด แอปเปิ้ล นม และถั่วเหลืองได้อีกด้วย

ปริมาณแมกนีเซียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ (มิลลิกรัม/วัน)
เด็ก 1-3 ปี 60
4-5 ปี 80
6-8 ปี 120
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 170
13-15 ปี 240
16 -18 ปี 290
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 170
13-15 ปี 220
16 -18 ปี 250
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 310
31 – 70 ปี 320
51- 70 ปี 300
≥ 71 ปี 280
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 30 ปี 250
31 – 70 ปี 260
51- 70 ปี 260
≥ 71 ปี 240
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 30

โดยปกติแล้วเรามักจะพบว่าคนที่เป็นพิษสุราเรื้อรังจะมีระดับของแมกนีเซียมต่ำมาก เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการขับถ่ายแมกนีเซียมออกไปมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าแคลเซียมและแมกนีเซียมจะต้องมีความสมดุลกัน โดยหากมีแคลเซียมในร่างกายสูงก็จะต้องได้รับแมกนีเซียมสูงขึ้นไปด้วย และที่สำคัญ ฟอสฟอรัส วิตามินดีและโปรตีน ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการแมกนีเซียมสูงขึ้นจากเดิมอีกด้วย

การขาดแมกนีเซียม

เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรงและเกิดตะคริวได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคตับอ่อนอักเสบและตับแข็งนั่นเอง นอกจากนี้ในผู้ที่ครรภ์เป็นพิษ ไตพิการ เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีการดูดซึมในร่างกายที่ผิดปกติ หรือผู้ที่ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ก็มักจะเป็นผู้ที่มีภาวะขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างแมกนีเซียมและโรคหัวใจขาดเลือด พบว่าหากร่างกายได้รับแมกนีเซียมน้อยเกินไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะทำให้เกิดการอุดตันในหัวใจและสมอง จนส่งผลให้หัวใจขาดเลือดได้นั่นเอง
สำหรับอาการที่พบได้บ่อยๆ จากการขาดแมกนีเซียมก็คือ กล้ามเนื้อจะเกิดการบิด สั่น ความจำแย่ลง โดยอาจเกิดความจำเสื่อมเฉพาะ เช่น จำสถานที่หรือจำเพื่อนฝูงไม่ได้ โดยการรักษาอาการดังกล่าวนั้น หากเป็นเด็กจะห้ามไม่ให้ดื่มนม เพราะในน้ำนมมีแคลซีฟีรอลที่จะยิ่งกระตุ้นให้แมกนีเซียมถูกขับออกมากขึ้น และตามด้วยการให้อาหารเสริมที่จะเพิ่มแมกนีเซียมและรักษาอาการได้ดี

การเป็นพิษของแมกนีเซียม

โดยปกติแล้วหากไตของคนเรายังทำงานได้อย่างปกติ มักจะไม่เกิดพิษจากแมกนีเซียม เพราะไตสามารถที่จะขับแมกนีเซียมออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากร่างกายเกิดภาวะไตชำรุด ก็จะทำให้อัตราการขับแมกนีเซียมออกจากร่างกายต่ำลงและมีระดับของแมกนีเซียมในร่างกายสูงมากขึ้น จนทำให้เป็นพิษในที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Bernath, P. F.; Black, J. H. & Brault, J. W. (1985). “The spectrum of magnesium hydride” (PDF). Astrophysical Journal. 298: 375. 

Housecroft, C. E.; Sharpe, A. G. (2008). Inorganic Chemistry(3rd ed.). Prentice Hall. pp. 305–306. ISBN 978-0131755536.

Ash, Russell (2005). The Top 10 of Everything 2006: The Ultimate Book of Lists. Dk Pub. ISBN 0-7566-1321-3. Archived from the original on 2006-10-05.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.