การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus
การตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ

Urine Phosphorus

Urine Phosphorus หรือชื่ออื่น Urine Phosphate คือค่าที่ใช้ตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากพบค่าที่ผิดไปจากปกติ นั่นอาจแสดงได้ ถึงความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของไต ต่อมพาราไทรอยด์หรือกระดูก เป็นต้น

การตรวจหาค่า Urine Phosphorus

1.เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์และบทบาทของฟอสฟอรัสที่มีต่อร่างกายของมนุษย์

2.สำหรับการตรวจเพื่อหาค่าของฟอสฟอรัส ไม่ว่าจะเป็นการตรวจในเลือดหรือน้ำปัสสาวะจะใช้วิธีที่ง่าย ด้วยการตรวจต่ออนุภาคของเกลือฟอสเฟตนั่นเอง ดังนั้นการตรวจของโรงพยาบาลหลายแห่งจึงมักจะมีชื่อเรียกการตรวจที่ต่างกันไป เช่น “ Urine Phosphate ” หรือ “ Phosphate in Urine ”

3.เพื่อทราบถึงความสำคัญของ Urine Phosphorus ที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ โดยหลักๆ ก็มีดังนี้

  • ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม โดยใช้เป็นองค์ประกอบหลักร่วมกันนั่นเอง
  • Urine Phosphorus มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมลดการเสื่อมของระบบประสาทอีกด้วย
  • ฟอสฟอรัสช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถยืดและหดตัวได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลดีในด้านอื่นๆ อีกด้วย
  • ช่วยในการสร้างดุลยภาพของประจุไฟฟ้า รวมถึงความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย
  • ช่วยในการสร้างเยื่อผนังเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์มากกว่าเดิม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม Niacin พร้อมกระตุ้นให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ไตสามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพมากขึ้น ซึ่งไตก็จะช่วยควบคุมฟอสฟอรัสในร่างกายไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไปเช่นกัน

4.โดยส่วนใหญ่ร่างกายของมนุษย์มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องของการขาดแร่ธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากในอาหารส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสอยู่แล้ว เว้นแต่ 2 กรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ช่องทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงได้รับฟอสฟอรัสน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • เมื่อกินยาในกลุ่ม Antacids อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะยาตัวนี้จะทำให้ผนังภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กถูกเคลือบจนไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงทำให้ฟอสฟอรัสที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายมีปริมาณน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการนั่นเอง

5.กรณีที่ระดับของฟอสฟอรัสจะมีค่าสูงขึ้นหรือลดลง อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสสูงขึ้น เนื่องมาจาก

1) มีการดูดซึมฟอสฟอรัสจากอาหารมากขึ้น ทำให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบสูงขึ้นกว่าปกติ

2) เพราะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงกว่าปกติเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีการสลายกระดูกเพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในเลือด ซึ่งก็จะทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดออกมาจากกระดูกด้วย และเข้าไปอยู่ในน้ำเลือด จึงตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในเลือดได้สูงนั่นเอง

  • ค่าฟอสฟอรัสลดต่ำลง เนื่องมาจากการที่ไตพบว่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเลือดนั้นเริ่มสูงมากเกินไป จึงต้องพยายามกรองออกมาแล้วขับทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะให้ได้มากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะลดลงเพียงแค่ให้เกิดความสมดุลมากขึ้นนั่นเอง

6.และจากกรณีดังกล่าวในข้อ 5 ก็แสดงให้เห็นได้ว่าจะส่งผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การกินอาหาร โดยขึ้นอยู่กับว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้นมีฟอสฟอรัสอุดมอยู่มากน้อยแค่ไหน
  • เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์อาจทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป จนส่งผลต่อระดับฟอสฟอรัสได้               
  • ระดับการเผาผลาญแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ ซึ่งหากมีการเผาผลาญมากน้อยเพียงใดก็จะส่งผลกับระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะด้วยเช่นกัน
  • การทำงานของไตมีความผิดปกติหรือไม่  เพราะไตมีหน้าที่ในการขับทิ้งฟอสฟอรัสออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะโดยตรง หากไตทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อค่าที่ขึ้นลงได้เหมือนกัน

7.อายุที่มากขึ้นก็มีผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่พบในเลือดสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติได้ นั่นก็เพราะว่าไตของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมไปตามช่วงอายุ ซึ่งเฉลี่ยแล้วผู้ที่อยู่ในวัย 40 ปีขึ้นไป ไตจะค่อยๆ เสื่อมและมีความสามารถในการขับฟอสฟอรัสออกทางปัสสาวะได้น้อยลง จึงเป็นผลให้ฟอสฟอรัสยังคงสะสมอยู่ในเลือดในปริมาณที่สูงมากด้วยนั่นเอง

อย่างไรก็ตามธาตุฟอสฟอรัสกับแคลเซียมนั้น แม้จะต้องทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่เมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็จะกลายเป็นคู่แข่งหรืออริกันไปโดยปริยาย ซึ่งพบว่าหากมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ก็จะทำให้ค่าแคลเซียมในเลือดต่ำลงไปด้วย

ดังนั้นพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจึงต้องเร่งสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในกระแสเลือดมากขึ้น เพื่อไม่ให้ต่ำไปกว่าระดับฟอสฟอรัสและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในคนสูงอายุจึงมักจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกมากที่สุด โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนที่พบได้มากในวัย 40 ปีขึ้นไป

ดังนั้นนอกจากการตรวจหา Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสในเลือดแล้ว ก็ควรตรวจหาค่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในปัสสาวะไปพร้อมกันด้วย ซึ่งหากพบว่าค่าฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ในขณะที่ค่าฟอสฟอรัสในปัสสาวะอยู่ในระดับปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ก็สรุปได้เลยว่าไตกำลังมีปัญหาแน่นอน และควรรีบทำการรักษาโดยด่วน

8.การกินยาบางชนิดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการตรวจพบค่าฟอสฟอรัสที่มีในปัสสาวะที่เบี่ยงเบนไปจากค่าที่ควรจะเป็น ซึ่งยาเหล่านี้ก็ได้แก่ กลุ่มยา Diltiazem ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันเลือดสูงและโรคหัวใจ กลุ่มยา Diuretics ที่ใช้เพื่อขับน้ำออกจากร่างกายในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง กลุ่มยา Aspirin เพื่อใช้เพื่อบรรเทาสภาวะเลือดข้น และกลุ่มยาฮอร์โมนชนิดต่างๆ เป็นต้น

9.ค่าของฟอสฟอรัสและแคลเซียมที่ตรวจได้จากในน้ำปัสสาวะ กรณีที่มากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ สามารถบ่งชี้ถึงโรคและสภาวะความผิดปกติของร่างกายบางอย่างได้แบบหยาบๆ ดังนี้

ความสัมพันธ์ของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะที่อาจใช้ชี้เบาะแสของโรค
อาจมีสาเหตุจากโรค

( สภาวะผิดปกติ )

แคลเซียมในปัสสาวะ

( ค่าผิดปกติ )

ฟอสฟอรัสในปัสสาวะ

( ค่าผิดปกติ )

1.Hyperparathyroidism
( การเกิดพิษจากวิตามิน ดี )
สูง สูง
2.Vitamin D Intoxication
( การเกิดพิษจากวิตามิน ดี )
สูง ต่ำ
3.Metasatic Carcinoma
( การกระจายตัวของโรคมะเร็ง )
สูง ปกติ
4.Sarcoidosis
( โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคล้ายมะเร็ง )
สูง ต่ำ
5.Multiple Myelome
( โรคมะเร็งของไขกระดูก )
สูง / ปกติ สูง / ปกติ
6.Hypoparathyroidism
( ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน )
ต่ำ ต่ำ
7.Nephrosis
( โรคไตเสื่อม )
ต่ำ ต่ำ / ปกติ
8.Acute Nephritis
( สภาวะไตอักเสบเฉียบพลัน )
ต่ำ ต่ำ
9.Renal Insufficiency
( renal failure หรือสภาวะไตวาย )
ต่ำ ต่ำ

 

พาราไทรอยด์ฮอร์โมนจึงต้องเร่งสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในกระแสเลือดมากขึ้น เพื่อไม่ให้ต่ำไปกว่าระดับฟอสฟอรัสและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ค่าปกติของ Urine Phosphorus

1.ค่าปกติของ Urine Phosphorus ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2.สำหรับค่าปกติทั่วไปของ Urine Phosphorus จะอยู่ที่

Urine Phosphorus : 0.9 – 1.3 gm/24 hr

ค่าผิดปกติของ Urine Phosphorus

ค่าความผิดปกติของ Urine Phosphorus สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ

1.ค่า Urine Phosphorus ที่ได้น้อยกว่าค่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • พาราไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป จึงมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือดน้อยลง ซึ่งทำให้ฟอสฟอรัสหลุดเข้าสู่กระแสเลือดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นฟอสฟอรัสที่ไตกรองออกมาได้แล้วขับทิ้งไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะจึงมีปริมาณน้อยมาก และทำให้ตรวจพบค่าที่ต่ำกว่าเกณ์ได้นั่นเอง 
  • เป็นโรคไต เพราะจะทำให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการกรอง ส่งผลให้กรองฟอสฟอรัสได้น้อยกว่าปกติและขับทิ้งออกไปกับปัสสาวะได้ต่ำมาก โดยกรณีนี้แม้ว่าฟอสฟอรัสในเลือดจะสูงมากเพียงใด แต่ฟอสฟอรัสที่พบในน้ำปัสสาวะกลับมีปริมาณที่น้อยกว่าเกณฑ์
  • เป็นโรคตับ จึงทำให้ตับไม่สามารถรับสารอาหารจากการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดังเดิม เป็นผลให้ไม่สามารถส่งฟอสฟอรัสเข้าสู่กระแสเลือดได้ตามปกติ จึงทำให้ฟอสฟอรัสในเลือดมีค่าต่ำและฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะก็มีค่าต่ำมากจนผิดปกติเช่นกัน

สาเหตุอาจเกิดมาจากภาวะขาดอาหาร โรคพิษสุราเรื่อรัง โรคเนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ภาวะตับวาย โรคกระดูก ภาวะเลือดเป็นด่าง

2.ค่าที่ได้มากกว่าค่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน จึงมีการสลายกระดูกเพื่อดึงแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินความจำเป็น และทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดเข้าสู่กระแสเลือดมากไปด้วย ซึ่งก็ทำให้ไตต้องรับหน้าที่ในการกรองฟอสฟอรัสออกไปกับน้ำปัสสาวะอย่างหนัก เป็นผลให้ตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะสูงมากเกินเกณฑ์ที่กำหนดนั่นเอง
  • เป็นโรคไตแบบสิ้นสภาพ นั่นคือไตไม่สามารถที่จะกรองหรือดูดซึมสารใดๆ กลับได้อีก รวมถึงฟอสฟอรัสด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอาจตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะที่สูงกว่าปกติได้ โดยหากสังเกตจะพบว่าไม่ว่าค่าฟอสฟอรัสจะสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจบ่งชี้ได้ว่าเป็นโรคไตทั้งสิ้น
  • ร่างกายขาดวิตามินดีหรือมีวิตามินดีอยู่ในปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมจากอาหารมาใช้ประโยชน์ได้ต่ำ เป็นผลให้แคลเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ และเดือดร้อนพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่จะต้องสลายกระดูกเพื่อดึงแคลเซียมออกมาใช้ ซึ่งก็ส่งผลให้ฟอสฟอรัสหลุดออกมาด้วยและตรวจพบว่ามีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
  • ร่างกายอาจได้รับวิตามินดีมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการเป็นพิษและมีการดึงเอาแคลเซียมจากอาหารมาสู่กระแสเลือดมากเกินจำเป็น และเมื่อแคลเซียมในเลือดมีระดับสูง ก็จะต้องขับฟอสฟอรัสออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากด้วย จึงเป็นผลให้พบค่าฟอสฟอรัสที่สูงมากในปัสสาวะ ซึ่งหากสังเกตก็จะพบว่า การตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในปัสสาวะสูงกว่าปกติ อาจเป็นได้ทั้งจากการได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไปเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินพิษ ก็จะทำให้กระบวนการขั้นต้นหยุดยั้งลงและส่งผลให้ฟอสฟอรัสหลุดออกสู่น้ำปัสสาวะน้อยลงเช่นกัน             
  • เกิดสภาวะโรคกระดูก เพราะจากการที่พบฟอสฟอรัสในปัสสาวะสูงเกินปกติ นั่นแสดงได้ว่าร่างกายได้มีการสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดออกมาเข้าสู่กระแสเลือดเยอะจนไตต้องเร่งกรองออกเช่นกัน และด้วยเหตุนี้ผลที่ตามมาจึงไม่พ้นปัญหาโรคกระดูกอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคกระดูกน่วมและกระดูกพรุน

สาเหตุอาจเกิดมาจากโรคไต โรคของต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะความเป็นกรด-ด่างของร่างกายที่ผิดปกติ

เพราะฉะนั้นหากตรวจพบว่าระดับฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะมีความสูงหรือต่ำกว่าปกติ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะปัญหาสุขภาพอาจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และทำการตรวจให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้ค่า Urine Phosphorus มีระดับที่ผิดปกติ พร้อมกับทำการรักษาอย่างเร่งด่วนก่อนที่อาการป่วยจะรุนแรงมากกว่าเดิมนั่นเอง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เพราะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของกระดูกมากที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Shemesh O, Golbetz H, Kriss JP, Myers BD (November 1985). “Limitations of creatinine as a filtration marker in glomerulopathic patients”. Kidney Int. 25.