การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium
การตรวจวัดค่าแคลเซียมที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบวัน

Urine Calcium

การตรวจหาค่า Urine Calcium หรือ Urinary Calcium มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดค่าแคลเซียม ( Calcium ) ที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจนั้นจะ สามารถบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดี ทั้งยังบอกถึงภาวการณ์เป็นโรคบางอย่างในชั้นต้นได้อีกด้วย เช่น

  1. ต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Glands )

2. ไต

3. สุขภาพของกระดูก

การตรวจหาค่า Urine Calcium สามารถสรุปได้ ดังนี้ 

1. ในร่างกายของมนุษย์เราจะมี Urine Calcium แคลเซียมประกอบอยู่ประมาณ 1,200 กรัม ซึ่งอาจพบในรูปของกระดูกและฟันประมาณ 99% และที่เหลืออีก 1% ก็จะพบได้ในรูปของสารละลายในของเหลวนั่นเอง

2. สำหรับแคลเซียม 1% ที่พบในรูปสารละลายในของเหลว ก็อาจพบได้จากภายในเซลล์ทั่วร่างกายและบริเวณเซลล์นอกร่างกาย รวมถึงในน้ำเลือดด้วย

3. การเคลื่อนไหวของธาตุแคลเซียมภายในร่างกาย แบ่งออกเป็น

  • หากพบว่าค่า Urine Calcium แคลเซียมในน้ำเลือดมีความต่ำกว่าปกติ ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมน PTH ออกมาอย่างเร่งด่วน เพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาส่งให้กับน้ำเลือด เพื่อปรับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติและสมดุลที่สุด
  • และในขณะเดียวกันนี้เอง ต่อมพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ก็จะรีบส่งสัญญาณให้ไตปล่อยวิตามินดีออกมา เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมเร็วขึ้น เพื่อนำส่งไปยังน้ำเลือดอย่างเร่งด่วนเช่นกัน ดังนั้นจึงมองเห็นถึงความสำคัญได้ว่า วิตามินดีและอาหารที่มีแคลเซียมสูงนั้นถือเป็นองค์ประกอบหลักที่จะขาดไม่ได้เลยทีเดียว
  • ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือการปล่อยฮอร์โมนออกไปเพื่อยับยั้งไม่ให้ไตปล่อยแคลเซียมทิ้งออกทางปัสสาวะมากเกินไป เพื่อดูดซึมแคลเซียมกลับมาใช้ดังเดิมนั่นเอง

4. สืบเนื่องจากข้อ 3 จะเห็นได้ว่าการรักษาดุลยภาพของแคลเซียมในร่างกายนั้น จะมีกลไกการทำงานของร่างกายที่สัมพันธ์ ดังนั้นหากตรวจพบว่าค่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของไตและต่อมพาราไทรอยด์ รวมถึงอาจมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องนี้เช่นกัน

5. สำหรับสภาวะที่ตรวจพบว่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยเกินไป จะมีศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกโดยเฉพาะดังนี้

Hypercalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะสูง
Hypocalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะต่ำ
Hyper = มาก, สูง
Hypo = น้อย, ต่ำ
Calci = Calcium = แคลเซียม
Uria = Urine = ปัสสาวะ

ค่าปกติของ Urine Calcium

1. ค่าความปกติของ Urine Calcium ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2. สำหรับค่าปกติโดยทั่วไปจะอยู่ที่

Urine Calcium : 100 – 300 mg/24 hr

 

ค่าปกติของ Urine Calcium

1. เมื่อตรวจพบว่า Urine Calcium น้อยกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ต่อมพาราไทรอยด์มีการปล่อยฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไป จึงมีการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ในเลือดได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงและมีการเหลือทิ้งออกทางปัสสาวะน้อยมากเช่นกัน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้อาจเกิดจากมีเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดสภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ก็ได้
  • ร่างกายขาดวิตามินดี หรือมีวิตามินดีในปริมาณน้อยมาก จึงไม่สามารถเร่งให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมในปริมาณมากขึ้นเพื่อเอามาใช้ในกระแสเลือดได้ และทำให้แคลเซียมถูกปล่อยทิ้งไปกับกากอาหารเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย และด้วยเหตุนี้จึงพบแคลเซียมในเลือดค่อนข้างต่ำมาก และแทบไม่มีแคลเซียมเหลือให้ไตขับทิ้งออกทางปัสสาวะเลยทีเดียว
  • กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อยเกินไป จนทำให้ Urine Calcium ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุนี้ แม้ว่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำงานปกติและมีวิตามินดีอย่างสมบูรณ์ ก็ไม่สามารถหาแคลเซียมมาใช้ได้อย่างเพียงพออยู่ดี และไม่เหลือแคลเซียมให้ถูกขับทิ้งทางปัสสาวะอีกด้วย จึงทำให้ตรวจพบแคลเซียมในปัสสาวะต่ำมากหรือไม่มีเลย
  • การกินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องที่มีผลทำให้แคลเซียมลดน้อยลง เช่น ยาขับปัสสาวะ ( Thiazide diuretics ) และยาคุมกำเนิดแบบกิน เป็นต้น

2. เมื่อตรวจพบว่าค่า Urine Calcium มากกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ฮอร์โมนพาราไทรอยด์มีการทำงานมากเกินไป จึงทำให้แคลเซียมในเลือดมีระดับที่สูงกว่าปกติ และยังไปกระตุ้นให้ไตปล่อยทิ้งแคลเซียมออกทางปัสสาวะในปริมาณมากอีกด้วย จึงเป็นผลให้ตรวจพบค่าแคลเซียมในปัสสาวะที่อยู่ในระดับสูงเกินนั่นเอง 
  • การกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จนเกิดสภาวะเป็นพิษจากวิตามินดี ซึ่งก็ไปเร่งให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมจากอาหารในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ทำให้ Urine Calcium ในไตต้องขับแคลเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะในปริมาณมาก จึงตรวจพบแคลเซียมในปัสสาวะที่สูงกว่าปกตินั่นเอง

ดร.เอิร์ท มินเดล ( Earl Mindell, R.P.H., Ph.D. ) ปรมาจารย์ในด้านเภสัชวิทยา ได้แสดงตัวเลขไว้ในหนังสือที่ดังมากที่สุดของท่านเล่มหนึ่งคือ “Vitamin Bible” ว่า ปริมาณวิตามิน ดี ซึ่งอาจจะก่อพิษให้ร่างกายนั้น คือ

ผู้ใหญ่ : มากกว่าวันละ 20,000 IU
เด็ก : มากกว่าวันละ 1,800 IU

 

  • เกิดจากสภาวะไตวาย เพราะเมื่อไตหย่อนสมรรภภาพหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะมีการปล่อยทิ้งแคลเซียมออกไปกับปัสสาวะในปริมาณมากอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นในผู้ป่วยไตวายจึงมักจะตรวจพบค่า Urine Calcium ที่สูงกว่าปกติเสมอ
  • เกิดสภาวะเป็นพิษจากกรดในร่างกาย เนื่องจากมีความบกพร่องของกรวยไต ทำให้เกิดการทิ้งกรดให้สะสมในน้ำเลือดเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากธรรมชาติของร่างกายแล้ว จะต้องพยายามรักษาดุลยภาพระหว่างกรดด่างให้ได้มากที่สุด จึงต้องมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้เพื่อสะเทินต่อความเป็นกรดในเลือด ทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง และต่อมาไตก็จะต้องทำการปล่อยทิ้งแคลเซียมออกมากับน้ำปัสสาวะในปริมาณมาก จึงตรวจพบค่า Urine Calcium สูงกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ในสภาวะดังกล่าวนี้ก็อาจก่อให้เกิดภาวะของโรค RTA ได้อีกด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ ก็จะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกผิดรูปหรือโรคกระดูกน่วมได้เลยทีเดียว
  • เป็นโรคมะเร็งกระดูกหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ลุกลามไปจนถึงกระดูก ซึ่งจะทำให้แคลเซียมในกระดูกหลุดลอยออกมาเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณที่สูงมาก ส่งผลให้ต้องขับทิ้งออกอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตรวจพบค่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะที่สูงเกินปกติได้เช่นกัน ซึ่งหากพบว่าอาจเกิดจากโรคมะเร็ง แพทย์ก็จะทำการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในทันที
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไปจนทำให้เกิดเป็นพิษ ซึ่งแพทย์จะเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ” ( Thyrotoxicosis, thyro = ไทรอยด์, toxic = พิษ, osis = สภาวะ, โรค ) โดยโรคนี้นับว่าเป็นโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด โดยมีสิ่งที่ควรรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไทรอยด์เป็นพิษดังนี้

อาการ ( Symptoms ) โดยเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถสังเกตถึงความผิดปกตินี้ได้ด้วยตนเอง เช่น อาการใจสั่น ทนความร้อนไม่ได้ นอนไม่หลับ หงุดหงิดบ่อย หายใจสั่น อ่อนเพลียตลอดเวลา ถ่ายบ่อยคล้ายกับท้องเสีย และหากเป็นสตรีก็อาจมีประจำเดือนที่ผิดปกติด้วยเช่นกัน

สัญญาณ ( Signs ) คือสิ่งผิดปกติของโรคที่แพทย์สังเกตเห็นและตรวจพบได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยสัญญาณที่พบได้ก็คือ ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ มีอาการมือสั่น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือลดลงอย่างรวดเร็วทั้งที่กินจุและหิวบ่อยมาก มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและผิวหนังดูอุ่นชื้นอยู่เสมอ นอกจากนี้บางคนก็อาจมีอาการเหม่อลอยและผมร่วงมากกว่าปกติอีกด้วย

โดยสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นจะมีการเผาผลาญอาหารมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกหิวบ่อยและกินจุมากขึ้น และถ่ายออกเร็วกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารจึงเป็นผลให้น้ำหนักไม่ขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งยังทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย และเนื่องจากการได้รับสารอาหารน้อยเกินไป จึงทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน เป็นผลให้ต้องมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้งาน ซึ่งหากมากเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูงอีกด้วย

สภาวะร่างกายขาดน้ำ ( Dehydration ) ซึ่งทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมและอาจตรวจพบปริมาณของแคลเซียมที่สูงกว่าปกติได้ โดยสามารถแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อลดสภาวะขาดน้ำและทำให้ความเข้มข้นของปัสสาวะลดต่ำลงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Verónica Jiménez; Joel B. Alderete (Nov 30, 2005). “Theoretical calculations on the tautomerism of uric acid in gas phase and aqueous solution”. Journal of Molecular Structure: THEOCHEM. 755: 209–214.