- ประโยชน์ของกะหล่ำปลี ( Cabbage )
- ไข่ โปรตีนช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและการลดน้ำหนัก
- ผักเคล ราชินีแห่งผักใบเขียว
- ไก่ แหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย
- มันเทศหรือมันม่วง ทําเมนูอะไรได้บ้าง
- 14 สุดยอดอาหารที่คุณควรกิน เพื่อลดความเครียด
- อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คืออะไร
- อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด
- บุก สารสกัดกลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำหนักป้องกันท้องผูก
- พริกชี้ฟ้า ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
- แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล ประโยชน์ต่อสุขภาพ
- พริกหยวก ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
- ผักเชียงดา ( จินดา ) ต้านเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- มะกอกป่า ( Hog plum ) สรรพคุณและประโยชน์
- ผักติ้ว ผักพื้นบ้าน ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
- มะละกอผลไม้ดีท็อกซ์ เพื่อการลดน้ำหนักไม่ทำร้ายสุขภาพ
- หม่าล่า มีดีอย่างไร
- สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์ช่วยป้องกันโรคไต สร้างภูมิคุ้มกัน
- ควินัว ( Quinoa ) ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด ป้องกันมะเร็งและเบาหวาน
- ส้มโอ ( Pomelo ) แคลอรี่ต่ำ กินยังไงก็ไม่อ้วน
- ประโยชน์ของอินทผลัม ( Date Palm )
- ผลไม้ที่กินเพื่อลดน้ำหนักเหมาะสำหรับคนอ้วน
- ฟักข้าว ( Gac fruit ) กินยังไงให้ได้ประโยชน์
- คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้
- คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ 100 กรัม ส่วนที่กินได้
- วิตามินและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
- ประโยชน์ของ บร็อคโคลี ( Broccoli )
- พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
- ประโยชน์จากถั่วลูกไก่ ( Chick Pea )
- 4 สุดยอด ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง
- คุณประโยชน์ของ ถั่วแดงหลวง ( Kidney Bean )
- ประโยชน์ของพริกระฆังหรือพริกหวาน ( Bell Pepers )
- สรรพคุณของถั่วแขก ( String Bean )
- ทำลายอนุมูลอิสระด้วย ถั่วบราซิลช่วย ( Pinto Peanut )
- ถั่วขาว ( Navy Bean ) ตัวช่วยในการลดน้ำหนัก
- หอยเป๋าฮื้อ ( Abalone ) กินแล้วดีอย่างไร ?
- ประโยชน์และสรรพคุณของปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง ( Anchovy )
- อะโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? ( Avocado )
- อัลมอนด์มีแคลเซียมสูงขนาดไหนกันนะ? ( Almonds )
- ผลไม้อบแห้ง อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?
- ประโยชน์ดี ๆ จากอาร์ติโชค ( Artichoke )
- คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ล ( Apple Benefits )
- การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่?
- ประโยชน์ของแอปริคอต ( Apricot )
- ผักเซเลอรี่ ( Celery ) คืออะไร
- กะหล่ำดอก ( Cauliflower )
- ประโยชน์ของกล้วยหอม ( Banana )
- เกรฟฟรุต ( Grapefruit )
- เคล็ดลับการรับประทานอาหารก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาในผู้ป่วยมะเร็ง
- สรรพคุณและประโยชน์ของ มะเขือเทศ ( Tomato )
- มะม่วง ( Mango ) อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร
- สารอาหารมหัศจรรย์ในมัลเบอร์รี่ ( Mulberry )
- ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีประโยชน์อย่างไร
- ฝรั่ง ( Guava ) มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเรียกว่าฝรั่ง
- แก้วมังกร ผลไม้เสริมสุขภาพและความงาม ( Dragon Fruit )
- ประโยชน์และคุณค่าสารอาหารจาก เสาวรส ( Passion Fruit )
- ประโยชน์ของส้มและสรรพคุณของส้ม ( Orange )
- ประโยชน์ของสตรอว์เบอร์รี ( Strawberry )
- สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามมีอะไรบ้าง ( Tamarind )
- ฟักทอง ( Pumpkin ) สรรพคุณและประโยชน์ของฟักทอง
- ใบโอบะหรือใบชิโสะ ( Green Shiso ) กับคุณค่าทางโภชนาการ
- ขี้เหล็กและประโยชน์ของขี้เหล็ก ( Thai Copper Pod )
- ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต ( Oats )
กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี ( Cabbage ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักกาด ( Brassicaceae หรือ Cruciferae ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassicaca Oleracea Var. Capitata L. มีต้นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน กะหล่ำปลี คือ พืชล้มลุกที่มีใบเลี้ยงเดียวกว้าง ใบจะเรียงตัวรอบต้นเป็นวงกลมและจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ จึงทำให้กะหล่ำปลีมีลักษณะของต้นเป็นทรงกลม กะหล่ำปลี่เป็นผักที่มีวิตามินซีสูงเมื่อรับประทานแบบดิบ การรับประทานกะหล่ำปลียังช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหารได้ โดยการรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อย่าง ส้มตำ ลาบ น้ำตก เป็นต้น
กะหล่ำปลี ยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย เช่น ผัดผักใส่กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีสดกินกับสลัด กะหล่ำปลีสดกินกับไส้กรอกอีสาน ต้มจับฉ่าย แกงส้มใส่กะหล่ำปลี ต้มจืด กะหล่ำปลียัดไส้หมู กะหล่ำปลีต้มจิ้ม น้ำพริก เป็นต้น แต่ว่าการรับประทานแบบดิบก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะว่ากะหล่ำปลีดิบมีสารพิษ กอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่สามารถขัดขวางการดูดซึมของไอโอดีน ทำให้ร่างกายขาดสารไอโอดีนเป็นที่มาของโรคคอหอยพอกได้ เมื่อรับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณที่มากและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
ดังนั้นถ้าเรากินกะหล่ำปลีดิบได้ในปริมาณที่พอเหมาะหรือนานครั้งก็จะไม่เป็นอันตราย และสารพิษตัวนี้ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นเมื่อนำกะหล่ำปลีไปปรุงให้สุกก่อนที่จะรับประทานสารตัวนี้ก็จะไม่มีผลต่อร่างกาย นอกจากนั้นกะหล่ำปลียังมีสารที่เป็นพิษต่อคนที่เป็นไทรอยด์ด้วย สารที่อยู่ในกะหล่ำปลีจะเข้าไปกระตุ้นให้อาหารของโรคไทรอยด์แสดงอาการ คนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีทั้งดิบและสุก
ชนิดของ กะหล่ำปลี
1.กะหล่ำปลีธรรมดา ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือสายพันธ์โกลเด้นเอเคอร์แอละสายพันธุ์โคเปนเฮเกมาร์เก็ต มีใบเป็นสีเขียว เรียบ ลักษณะของต้นเกิดจากการรวมตัวของใบเป็นวงกลม ใบด้านนอกมีสีเขียวอ่อนถึงกลางส่วนใบด้านในมีสีเหลืองอ่อน
2.กะหล่ำปลีแดง สายพันธุ์นี้ลักษณะหัวกลมแต่จะมีใบเป็นสีแดงต่างจากสายพันธุ์ธรรมดาที่มีใบเป็นสีเขียว ใบของกะหล่ำปลีแดงจะหนา กะหล่ำปลีแดงเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
3.กะหล่ำปลีใบย่น สายพันธุ์นี้จะใบจะมีสีเขียวเข้มและมีลักษณะพิเศษคือใบย่นเป็นคลื่นหรือหยิกทั้งใบ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก
กะหล่ำปลีเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เกษตรกรผู้ปลูกจึงต้องทำการพ่นสารเคมีในการปลูก เป็นเหตุให้กะหล่ำปลีนั้นอยู่ใน 5 อันดับของผักที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุด ยาฆ่าแมลงที่ใช้และเกิดการตกค้างในผัก เมื่อเราบริโภคเข้าไปจะเกิดอันตรายต่อร่างกาย ได้รับในปริมาณที่น้อยทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เวียนหัว ปวดศีรษะ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากอาจจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดชักและหมดสติในที่สุด ดังนั้นก่อนที่จะนำกะหล่ำปลีมารับประทานเราควรที่จะทำความสะอาดให้ดีเสียก่อน ด้วยการลอกใบชั้นนอกออกอย่างน้อยสองชั้นและนำไปแช่น้ำสะอาดอย่างน้อย 10 นาที การล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนที่จะนำไปประกอบอาหาร เราสามารถล้างสารพิษตกค้างที่ตกค้างอยู่ออกไปได้ถึง 25-75 แต่ถ้าต้องการให้ลดสารเคมีตกค้างให้น้อยลงอีกควรล้างด้วย น้ำปูนใส การแข่ด่างทับทิม การแช่น้ำซาวข้าว แช่ด้วยน้ำส้มสายชู แช่ด้วยน้ำผสมเกลือป่น หรือจะใช้น้ำยาล้างผักที่มีออกมาจำหน่ายก็ช่วยลดสารเคมีตกค้างในกะหล่ำปลีได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาการปลูกผักปลอดสารหรือผักอินทรีย์ กะหล่ำปลีก็เป็นผักที่นำมาปลุกด้วยวิธีการนี้ เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างเราควรเลือกผักอินทรีย์มาปรุงอาหารแทนผักที่ใช้สารเคมี
กะหล่ำปลี ( Cabbage ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักกาด มีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหาร
สรรพคุณและประโยชน์ของกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีนอกจากจะมีรสชาติที่หวานกรอบอร่อยแล้ว ยังนำมาปรุงอาหารให้รสชาติที่ดีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ต้ม ผัด หรือกินสดในสลัดก็ได้รับควานิยมไม่แพ้กันแล้ว กะหล่ำปลียังมีสารอาหารที่มีประโยชน์อีก คือ
กรดทาร์ทาริก ( Tartaric Acid ) เป็นสารอาหารที่ช่วยยังยั้งไม่ให้ร่างกายทำการเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งที่ได้รับเข้าไปให้เป็นไขมันที่จะมาสะสมอยู่ในร่างกาย ผลโดยตรงคือช่วยลดคอเลสเตอรอลที่จะเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ของร่างกาย ผลทางอ้อมคือช่วยลดน้ำหนักเนื่องจากร่างกายไม่มีไขมันเพิ่มขึ้นน้ำหนักตัวจึงไม่เพิ่มขึ้น
แคลเซียมและฟอสฟอรัส กะหล่ำปลีมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสนี้ที่มีส่วนช่วยในการสร้างและบำรุงกระดูกกับฟันของเรา
วิตามินซี กะหล่ำปลีจัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงอีกชนิดหนึ่ง วิตามินซีที่ได้จากกะหล่ำปลีนอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายแล้ว ป้องกันการเกิดโรคจากการขาดวิตามินซี เช่น โรคเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการเกิดโรคหวัด อาการเจ็บคอ และวิตามินซีที่ได้จากกะหล่ำปลีนี้ยังช่วยเพิ่มน้ำใต้ผิวทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งดูเยาว์วัยกากใยอาหาร กะหล่ำปลีเป็นผักที่มีกากใยอาหารสูง กากใยนี้เป็นตัวที่ช่วยต่อต้านและลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ ช่วยล้างสารพิษตกค้างในลำไส้และยังช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียออกร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพจึงไม่มีของ เสียตกค้างอยู่ในลำไส้ สูง ลดอาการท้องผูกแน่นท้องเนื่องจากการขับถ่ายที่ผิดปกติ และยังช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งตับกับมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย Sulforaphane ที่ช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของ DNA ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายทุกส่วน
ซัลเฟอร์ จะมีอยู่ในกะหล่ำปลีดิบ สารตัวนี้มีส่วนช่วยเกี่ยวกับระบบประสาท ช่วยระงับประสาททำให้สมองรู้สึกผ่อนคลายลดความเครียดที่เกิดขึ้น และส่งผลให้หลับสนิทร่างกายผักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
กรดโฟลิก ที่มีความสำคัญในการสร้างเซลล์สมองของเด็กทารกในครรภ์
วิตามินบี 5 ช่วยในการกระตุ้นการสร้างโปรตีนเคราติน ( keratin ) ที่ช่วยบำรุงรากผม และชลอการเปลี่ยนสีผมจากดำเป็นสีขาว
ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายให้สมดุล ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่มาจากความผิดปกติของฮอร์โมนนี้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง เป็นต้น
ช่วยกระตุ้นการสร้างกลูตาไธโอนที่มีส่วนช่วยในการทำงานของตับ ให้ตับสามารถขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น ควันเสีย ไอเสีย ยาหรือสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของไต ให้ทำการขับปัสสาวะได้สะดวกขึ้น
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง กากใยช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ต่อต้านการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ และช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งเดิมไม่ให้กระจายตัว
ข้อควรระวังในการทานกะหล่ำปลี
- กะหล่ำปลีมีปริมาณของใยอาหารสูง หากรับประทานแต่เพียงน้อยจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แต่หากรับประทานมากจนเกินไปจะเข้าไปขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีน เนื่องจากมีสารกอยโตรเจน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคคอหอยพอก
- กะหล่ำปลีดิบก็มีสารเคมีตกค้างอยู่มาก เพราะใบที่ห่อซ้อนกันอย่างแน่นหนาทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ในใบสด ยากที่จะล้างออกได้หมด ส่งผลให้ร่างกายรับเอาสารเคมีเข้าไปสะสม และเกิดอาการเจ็บป่วย ทางที่ดีควรนำไปผ่านความร้อนก่อนรับประทาน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Delahaut, K. A.; Newenhouse, A. C (1997). “Growing broccoli, cauliflower, cabbage and other cole crops in Wisconsin” (PDF). University of Wisconsin. p. 1. Retrieved 2012-08-12.
“Brassica oleracea L. – Cabbage”. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.
Classification for species Brassica oleracea L.”. PLANTS database. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.
“Of Cabbages and Celts”. Aggie Horticulture. Texas A&M University. Retrieved 2013-10-19.