พริกขี้หนู
พริกขี้หนู ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ชื่อสามัญ Bird pepper, Chili pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum annuum L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum frutescens L., Capsicum frutescens var. frutescens, Capsicum minimum Mill.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง (ภาคเหนือ), หมักเพ็ด (ภาคอีสาน), พริก พริกชี้ฟ้า (ภาคกลาง), ดีปลีขี้นก พริกขี้นก (ภาคใต้), พริกมะต่อม (เชียงใหม่), ปะแกว (นครราชสีมา), มะระตี้ (สุรินทร์), ดีปลี (ปัตตานี), ครี (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), ลัวเจียะ (จีนแต้จิ๋ว), ล่าเจียว (จีนกลาง), มือซาซีซู, มือส่าโพ[1],[3]
ลักษณะของพริกขี้หนู[1],[3],[4],[5]
- ต้น
– เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก
– ต้นมีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร
– มีอายุได้ถึง 1-3 ปี
– แตกกิ่งก้านสาขามาก
– กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว
– กิ่งแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
– เติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี
– ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง - ใบ
– ใบเป็นใบเดี่ยว
– ออกใบเรียงสลับตรงข้ามกัน
– ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือรูปวงรี
– ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ และขอบใบจะเรียบ
– ใบมีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร
– แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวมันวาว
– ก้านใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ
– ในแต่ละช่อจะมีประมาณ 2-3 ดอก
– มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ
– กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน
– เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน จะขึ้นสลับกับกลีบดอก
– เกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน
– มีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง - ผล
– ผลมีรูปร่างยาวรี
– ปลายผลแหลม
– ผลมีความกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
– ผลสดจะเป็นสีเขียว
– ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล
– ผลมีผิวที่ค่อนข้างลื่น
– ภายในผลจะกลวงและมีแกนกลาง
– รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก
– เมล็ดมีรูปร่างแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด
– เมล็ดมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- สารสำคัญที่พบได้แก่[1]
– acetic acid
– alanine,phenyl
– ascorbic acid
– butyric acid
– butyric acid
– caffeic acid
– caproic acid
– capsaicin
– chlorogenic acid
– ferulic acid
– hexanoic acid
– lauric acid
– protein
– novivamide
– valeric acid
– vanillyl amine
– zucapsaicin - เมื่อปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศอินเดีย[1]
– ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากพริก
– ผลการทดลองพบว่าสารสกัดที่ได้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ - เมื่อปี ค.ศ.2001 และปี ค.ศ.2004 ที่ประเทศจาเมกา ได้ทำการทดลองในสุนัข[1]
– ช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร
– ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ - สารสกัดที่ต้มด้วยน้ำ[3],[4]
– สามารถใช้ในการฆ่าแมลงได้ - สาร Capsaicin[3],[4]
– ช่วยยับยั้งเชื้อ Bacillis cereus
– ช่วยฆ่าเชื้อ Bacillus subtilis - จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จากการกินพริก 10 กรัม[10]
– ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที - การนำสารสกัดจากพริกมาใช้ทาลงบนผิวหนัง[3],[4]
– ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการขยายตัว
– ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น
– หากใช้มากเกินไปจะทำให้ระคายเคืองต่อผิว ทำให้ผิวหนังเป็นแผลพุพองและแสบร้อนได้ - สาร Capsaicin[3]
– ช่วยทำให้เจริญอาหาร
– ช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้น - น้ำที่สกัดได้จากพริก[3]
– จะลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ilieum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีน - Capsaicin[3]
– จะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา - การรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยพริกแก่สีแดงเป็นเวลา 3 สัปดาห์[3]
– พบว่าสารในกลุ่มคอร์ติโซนในพลาสมาจะเพิ่มขึ้น และจะขับออกมาทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นด้วย - สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง[3]
– มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้หนูทดลองเดินเซเล็กน้อยและชักตายได้ - สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือด[3]
– มีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
– มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาวทดลอง - สาร Capsaicin[10]
– สามารถลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ - จากการศึกษาในคนที่ได้รับประทานพริกสด 5 กรัมที่สับละเอียดพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว[10]
– จากการวัดค่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดหลังกินทันทีจนถึงหนึ่งชั่วโมง พบว่าจะมีการยืดระยะเวลาของการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดออกไปภายใน 30 นาทีหลังกินพริก
– จากการศึกษาในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดมีการยืดระยะเวลาออกไปอีกเช่นกัน - จากการศึกษาโดยให้หนูกินพริกและ Capsaicin เข้าไป[10]
– ช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง - การศึกษาในคนที่มีไขมันในเลือดสูง โดยทำการแบ่งกลุ่มให้กิน5 กรัม ร่วมกับอาหารปกติ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์[10]
– ในกลุ่มที่ไม่กินพริกมีระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไขมันเลว และไขมันดีสูงขึ้น
– ในกลุ่มที่กินพริกมีระดับไขมันทั้งหมดและไขมันเลวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไขมันดีสูงขึ้น - จากการศึกษาผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดกับหญิงวัยหมดประจำเดือนจำนวน 10 ราย โดยทำการทดลองเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด[10]
– ในวันแรกให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เพียงอย่างเดียว แล้วเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
– ในวันที่สองให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับวันแรก แต่กินร่วมกับพริกและทำการเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
– จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดื่มน้ำตาลพร้อมพริก 30 นาที จะต่ำกว่าน้ำตาลในเลือดในวันแรกที่ไม่ได้กินพริกประมาณร้อยละ 20
สรรพคุณของพริกขี้หนู
- ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก[9]
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการปวดบวม[1],[3],[8]
- ช่วยรักษาอาการตะคริวได้ ช่วยทำให้บริเวณผิวที่ทามีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และกระตุ้นทำให้บริเวณที่ทารู้สึกร้อน[8],[9]
- ช่วยลดอาการปวดบวมอันเนื่องจากลมชื้นหรือจากความเย็นจัด[3],[4]
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามตัว ขับลมชื้นตามร่างกาย[4]
- ช่วยรักษาอาการปวดตามเอวและน่อง[3]
- ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[3],[4]
- ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[3,[4]
- ช่วยแก้พิษตะขาบและแมงป่องกัด[6]
- ช่วยต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ[8]
- ช่วยรักษาโรคหิด กลากเกลื้อน[3]
- ช่วยป้องกันการเป็นผื่นแดงเนื่องจากแพ้อากาศเย็น[9]
- ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี[6]
- ช่วยรักษาโรคบิด[3]
- ช่วยแก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบ[6]
- ช่วยรักษาอาการอาเจียน[3]
- ช่วยสลายเมือกในปอด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง[8],[9],[10]
- ช่วยแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ[2],[10]
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้อารมณ์แจ่มใส[10]
- ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด[10]
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยสลายลิ่มเลือด[8]
- ช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี[9]
- ช่วยเร่งการสันดาปและเร่งเมตาบอลิซึม ช่วยใช้แคลอรีให้หมดไป จึงทำให้น้ำหนักลด[8],[10]
- ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลว[8],[10]
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
- ช่วยแก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในเด็ก[2]
- ช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย[1],[2],[4]
- ช่วยแก้เท้าแตก[6]
- ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดบวม[3],[6]
- ช่วยขับปัสสาวะ[6]
- ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[6]
- ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[6]
- ช่วยแก้มดคันไฟกัด[6]
- ช่วยรักษาแผลสดและแผลเปื่อย[6]
- ช่วยแก้อาการคัน[1]
- ช่วยแก้หวัด[11]
- ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลม[8]
ประโยชน์ของพริกขี้หนู
- พริก สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในสเปรย์ป้องกันตัวได้ เมื่อฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3 นาที[10]
- การรับประทานพริกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้[9]
- สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขี้ผึ้งทาถูนวดได้[2],[9],[10]
- สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดท้องได้[2],[9],[10]
- ยอดและใบอ่อน ช่วยในการบำรุงประสาทและบำรุงกระดูก[6]
- ยอดและใบอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงอ่อม ทอดกับไข่[5]
- เมล็ดอ่อนหรือเมล็ดแก่ สามารถนำไปปรุงรสเผ็ดในอาหาร เช่น ต้ม ลาบ น้ำพริกได้[5]
- มีความนิยมนำมาใช้ในการปรุงรสชาติอาหารสำหรับคนไทย[3]
คุณค่าทางโภชนาการ
ปริมาณพริก100 กรัมให้ พลังงาน 76 กิโลแคลอรี [5],[10]
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
น้ำ | 82 กรัม |
โปรตีน | 3.4 กรัม |
ไขมัน | 1.4 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 12.4 กรัม |
ใยอาหาร | 5.2 กรัม |
วิตามินเอ | 2,417 หน่วยสากล |
วิตามินบี1 | 0.29 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.11 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 1.5 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 44 มิลลิกรัม |
แคลเซียม | 4 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 1.2 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 14 มิลลิกรัม |
(ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย)
ข้อควรระวังในการรับประทาน
- สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประทานเผ็ด แล้วมารับประทานอาจจะทำให้ชักตาตั้งได้[9]
- การรับประทานพริกมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้หน้าเป็นสิวได้[9]
- หากผิวหนังถูกพริกอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนได้[9]
- หากรับประทานพริกที่เผ็ดมากเข้าไป การดื่มนมตามจะช่วยลดความเผ็ดลงได้ เนื่องจากน้ำนมจะมีสาร Casein ที่ช่วยละลายความเผ็ด[8]
- ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็นวัณโรคหรือริดสีดวงทวาร ไม่ควรรับประทานพริก[4]
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “พริกขี้หนู”. หน้า 113-114.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พริกขี้หนู Cayenne Pepper”. หน้า 72.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พริกขี้หนู”. หน้า 535-538.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “พริก”. หน้า 368.
5. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [26 ส.ค. 2014].
6. สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๘, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.oocities.org/thaimedicinecm/. [26 ส.ค. 2014].
7. ไทยเกษตรศาสตร์. “พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [26 ส.ค. 2014].
8. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ไผ่และพริก”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2546. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [26 ส.ค. 2014].
9. หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 452, วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2552. “เจาะตลาด”. (ประสิทธิ์ศิลป์ ชัยยะวัฒนะโยธิน).
10. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 305 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. (ดร.พัชราณี ภวัตกุล). “พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2014].
11. หนังสืออาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. (จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น, จิรนาฏ วีรชัยพิเชษฐ์กุล, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข). “พริกขี้หนู”.
รูปอ้างอิง
https://medthai.com/