น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า เป็นไม้เถาล้มลุกที่มีหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ ส่วนของใบมีรสเย็นจึงใช้แก้ร้อนได้ มีสรรพคุณเป็นยาเย็นและชื้น ชาวจีนและอินเดียนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน ส่วนต่าง ๆ ของต้นเป็นยารักษาโรคยอดนิยมได้ แถมส่วนของยอดอ่อนนำมาประกอบในแกงส้มกับปลาเนื้ออ่อนหรือกุ้งสด จะมีรสชาติอร่อยมาก ถือเป็นต้นที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากอีกชนิดหนึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของน้ำเต้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria (Molina) Standl.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bottle gourd” “Calabash gourd” “Flowered gourd” “White flowered gourd”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะน้ำเต้า” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “คิลูส่า คูลูส่า” ชาวลัวะเรียกว่า “ลุ้นออก แผละลุนอ้อก” คนอินเดียเรียกว่า “Dudhi Lauki” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “หมากน้ำ น้ำโต่น”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ชื่อพ้อง : Lagenaria leucantha Rusby, Lagenaria vulgaris Ser.

ลักษณะของต้นน้ำเต้า

น้ำเต้า เป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวที่มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ลำต้น : เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่กับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ ตามเถามีขนยาวสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน รูปห้าเหลี่ยม ขอบใบหยักเว้า 5 – 7 แฉก โคนใบเว้า ใบมีขนตลอดทั้งใบและก้าน มีต่อมเทียม 2 ต่อม อยู่ตรงรอยต่อระหว่างก้านใบกับแผ่นใบ
ดอก : ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ
ผล : รูปร่างและขนาดแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ทั่วไปจะมีลักษณะกลมโต คอดกิ่วบริเวณยอด โคนขั้วคอดคดงอหรือขดเป็นวง ผิวผลเกลี้ยง เปลือกผลแข็งและทนทาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ตามแนวรัศมี เป็นรูปทรงแบนป้านคล้ายเล็บมือ ตรงปลายมีติ่งยื่น 2 ข้าง เป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวของเมล็ด

สรรพคุณของน้ำเต้า

  • สรรพคุณจากผล สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและผู้ชราภาพ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันโรคมะเร็งปอด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แก้แผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รักษาท่อปัสสาวะอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะและอาการปัสสาวะยาก ช่วยทำให้เกิดน้ำนม
    – ควบคุมเบาหวาน โดยชาวอินเดียนำผลมาให้ผู้ป่วยเบาหวานและผู้เป็นโรคความดันโลหิตทาน
    – แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากไข้ ช่วยรักษาโรคลูกอัณฑะบวม ด้วยการนำผลมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – รักษาโรคทางลำคอ ด้วยการนำลูกน้ำเต้าแก่มาตัดจุก ใส่น้ำทานเป็นประจำ
    – ช่วยแก้อาการปวดฝีในเด็ก ด้วยการนำผลหั่นเป็นชิ้น ผสมกับของต้มเป็นน้ำซุปทาน
  • สรรพคุณจากราก ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้
    – แก้อาการบวมน้ำตามร่างกาย ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
    – ช่วยเจริญอาหาร โดยชาวจีนนำเมล็ดมาต้มกับเกลือทาน
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยดับพิษ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเริม แก้โรคดีซ่าน รักษางูสวัด แก้ไฟลามทุ่ง
    – เป็นยาทาถอนพิษร้อน ดับพิษ แก้อาการฟกช้ำบวม แก้พุพอง แก้โรคผิวหนัง แก้ผื่นคัน รักษาอาการพองตามผิวหนังตามตัว แก้เริม แก้งูสวัด ด้วยการนำใบสดมาโขลกผสมกับเหล้าขาวหรือคั้นเอาแต่น้ำ หรือนำใบสดผสมกับขี้วัวแห้งหรือขี้วัวสด โขลกให้เข้ากันแล้วผสมเหล้าขาว 40 ดีกรี
  • สรรพคุณจากเนื้อในผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้อาการไอ เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณน้ำมันจากเมล็ด ช่วยแก้อาการทางประสาทบางชนิด ช่วยทำให้อาเจียน
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยบำรุงน้ำดี
  • สรรพคุณจากเปลือกผล
    – ลดอาการไข้ ด้วยการนำผลใช้ผสมหัวทารก
    – ช่วยรักษาโรคปวดอักเสบ ด้วยการนำเปลือกสดมาทาน

ประโยชน์ของน้ำเต้า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลและใบอ่อนใช้ทานได้ ยอดอ่อนใช้ประกอบในแกงส้มกับปลาเนื้ออ่อนหรือกุ้งสด มีรสชาติดีมาก ตอนใต้ของทวีปแอฟริกานำใบทานเป็นผัก หรือใส่ในซุปข้าวโพด หรือดองสด และใช้น้ำมันจากเมล็ดน้ำเต้าในการปรุงอาหาร ชาวไทยนิยมน้ำเต้าพันธุ์ผลกลมแป้นมีคอยาวมาต้มหรือนึ่งทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว หรืออาจนำไปทำแกง ส่วนของผลยังนำมาเชื่อมเป็นของหวานได้ ชาวอินเดียนำผลมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน คนอเมริกานำเนื้อผลอ่อนมานึ่งผัด ชุบแป้งท้อง ต้มสตู
2. เป็นอุปกรณ์ ผลน้ำเต้าแห้งนำมาใช้ทำเป็นภาชนะได้ ผลน้ำเต้าแก่ใช้บรรจุน้ำดื่ม ใช้ทำเป็นที่ใส่เหล้าห้อยเอวได้น้ำเต้างาช้างที่มีจุกยาวนิยมทำเป็นเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ในอดีตนำผลน้ำเต้าแห้งหลายลูกมาผูกรวมกันเพื่อทำเป็นเสื้อชูชีพ ใช้ทำเป็นรังนกกระจอกบ้าน ใช้ทำเป็นทุ่นประกอบการจับปลา ใช้ทำเป็นเครื่องประดับหรือใช้ทำงานศิลปะ งานแกะสลักผิวเป็นรูปร่างต่าง ๆ ใช้ประดับหรือปกปิดร่างกาย
3. เป็นความเชื่อ ชาวจีนนิยมแขวนน้ำเต้าไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่าจะทำให้บ้านเกิดความร่มเย็น

คุณค่าทางโภชนาการของใบน้ำเต้าอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของใบ 100 กรัม ให้พลังงาน 27 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม
โปรตีน 5.1 กรัม
ไขมัน 0 กรัม 
ใยอาหาร 1.5 กรัม
น้ำ 90.1%
วิตามินเอ 15,400 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม 
วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินซี 95 มิลลิกรัม 
ธาตุแคลเซียม 56 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 11.5 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 140 มิลลิกรัม

 

คุณค่าทางโภชนาการของผลน้ำเต้าอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 10 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม
ไขมัน 0 กรัม
ใยอาหาร 1.7 กรัม 
น้ำ 96.8%
เถ้า 0.3 กรัม
วิตามินเอ 391 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 12 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 1 มิลลิกรัม

น้ำเต้า เป็นต้นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งชาวจีน ชาวอินเดียและแอฟริกา เป็นยาเย็นที่ช่วยดับพิษ ช่วยทำให้ร่างกายเย็นขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย นอกจากนั้นยังนำมาใช้ทำอุปกรณ์ครัวเรือนได้หลายอย่าง น้ำเต้ามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของผล มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้กระหาย คุมเบาหวาน ป้องกันมะเร็งและดีต่อระบบขับถ่ายในร่างกาย

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “น้ำเต้า (Nam Tao)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 157.
หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 5. “Bottle gourd”. (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์).
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “น้ำเต้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [27 มี.ค. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 339 คอลัมน์: บทความพิเศษ. “น้ำเต้า ควบคุมเบาหวาน”. (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [27 มี.ค. 2014].
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ. “น้ำเต้า ผักสารพัดประโยชน์ของชาวโลก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 202.143.140.85/plant/index.php. [27 มี.ค. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ในกลุ่ม triterpenoids จากน้ำเต้ากับความเป็นพิษต่อเซลล์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [27 มี.ค. 2014].
สมุนไพรไพรไทย, สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอ่างทอง. “น้ำเต้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: mueang.angthong.doae.go.th/data/น้ำเต้า.doc. [27 มี.ค. 2014].
โอเคเนชั่น. “ตำราพันธุ์ไม้และสมุนไพรในคัมภีรอัล-กุรอาน”. (อาลี เสือสมิง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oknation.net/. [27 มี.ค. 2014].
หนังสือผักพื้นบ้าน 1. “น้ำเต้า”. (อุไร จิรมงคลการ).
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “น้ำเต้า”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 113-114.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
https://krishijagran.com/agripedia/how-to-grow-bottle-gourd-lauki-at-home-a-complete-guide/