หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย

0
1633
หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย
หนามโค้ง หรือผักงวม เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นสีเหลือง ฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดมีลักษณะแบน
หนามโค้ง ผักพื้นเมืองของชาวเหนือ ช่วยแก้ไข้และเป็นยาระบาย
หนามโค้ง หรือผักงวม เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ดอกเป็นสีเหลือง ฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดมีลักษณะแบน

หนามโค้ง

หนามโค้ง (Caesalpinia furfuracea) หรือเรียกกันว่า “ผักงวม” มีฝักที่สามารถนำมาประกอบอาหารและรับประทานได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย ฝักมีรสเปรี้ยวอมฝาดแต่เมื่อนำมาปรุงจะมีรสชาติที่อร่อย นอกจากฝักแล้วยังมีดอกสีเหลืองอร่ามบนต้นชวนให้น่ามองและดูสวยงาม หนามโค้งเป็นผักพื้นเมืองของทางภาคเหนือที่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหนามโค้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia furfuracea (Prain) Hattink
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “พาย่วม หนามโค้ง” จังหวัดลำปางเรียกว่า “นวม” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “งวม ผักงวม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Mezoneuron furfuraceum Prain, Mezoneuron glabrum sensu Baker, Mezoneurum furfuraceum Prain

ลักษณะของหนามโค้ง

หนามโค้ง เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย
ลำต้น : มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เนื้อไม้แข็ง
เปลือกเถา : เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยมีขนาดเล็ก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักและโคนฝักแหลม
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4 – 6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

สรรพคุณของหนามโค้ง

สรรพคุณจากฝัก เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาช่วยกัดเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาสมานท้อง

ประโยชน์ของหนามโค้ง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ฝักอ่อนใช้ทำเป็นยำผักงวมได้

หนามโค้ง เป็นผักพื้นเมืองของชาวเหนือที่มักจะหายากแต่สามารถซื้อต้นมาปลูกได้ ส่วนมากมักจะนำฝักมาประกอบอาหารและภายในฝักนั้นก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย นอกจากชื่อหนามโค้งแล้วคนทั่วไปยังเรียกกันว่า “ผักงวม” มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ซึ่งจะช่วยแก้อาการพื้นฐานได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “หนามโค้ง”. หน้า 187.
อาหารจากผักพื้นบ้าน, กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ยำผักงวม”. อ้างอิงใน : หนังสือคู่มือการปรุงอาหารจากผักพื้นบ้านไทย (ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [14 ก.ค. 2015].
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา. “งวม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : plant.opat.ac.th. [14 ก.ค. 2015].